ปัญหาและความต้องการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ในบริบทอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

Main Article Content

แววใจ พ้นภัย

บทคัดย่อ

         การศึกษาปัญหาและความต้องการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในบริบทอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ดำเนินการวิจัย 2 ระยะ ดังนี้ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยในอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ปัญหาสุขภาพด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและการดำเนินงานตามบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแบบสอบถามความต้องการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ที่ทำงานด้านผู้สูงอายุ จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และประธานชมรมผู้สูงอายุ รวมทั้งสิ้น 9 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


1. ปัญหาผู้สูงอายุด้านร่างกาย มีภาวะพึ่งพา ร้อยละ 7.01 เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ร้อยละ 67.01 โดยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 39.48 เบาหวาน ร้อยละ 14.54 ปัญหาด้านจิตใจ มีปัญหาในระดับมาก ร้อยละ 1.04 ด้านสังคมส่วนใหญ่มีปัญหาในระดับปานกลาง ร้อยละ 54.03 และด้านการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 74.55


2. ความต้องการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ต้องการระดับมาก (M = 2.44, SD = .74) โดยให้ส่งเสริมการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุ เพิ่มเบี้ยยังชีพ สร้างศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างงาน เพิ่มรายได้ มีอาสาสมัครดูแล มีศูนย์ดูแลตอนกลางวัน จัดรถบริการผู้สูงอายุและพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, และมาริสา สุวรรณราช. (2560). สภาพปัญหาและความต้องการการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในบริบทภาคใต้ตอนล่าง (รายงานการวิจัย). สงขลา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา.

จิณณ์ณิชา พงษ์ดี, และปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2558). ปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านเหมืองแบ่ง ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(4), 561-576.

จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์): ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ. วารสารกึ่งวิชาการรูสมิแล, 38(1), 6-27.

นริสา วงศพนารักษ์, และสายสมร เฉลยกิตติ. (2557). ภาวะซึมเศร้า: ปัญหาสุขภาพจิตสำคัญในผู้สูงอายุ.วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 24-31.

เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2549). หลักการและการใช้สถิติการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวสำหรับการวิจัยทางการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 3). สงขลา: ชานเมือง.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

ยศ วัชระคุปต์, วรรณภา คุณากรวงศ์, พสิษฐ์ พัจนา, และสาวิณี สุริยันรัตกร. (2560). ประสิทธิผลของบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง: กรณีศึกษาจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(4), 609-624.

รุจิวรรณ สอนสมภาร. (2560). แนวทางส่งเสริมเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 4(1), 77-89

ประสพโชค ตันสาโรจน์.(2559). บทบาทของเทศบาลเมืองกาญจนบุรีในการดูแลผู้สูงอายุ (วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ปราโมทย์ ประสาทกุล. (บ.ก.). (2559). รายงานสถานการณ์ผู้สูงวัยไทย พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พลับบิชชิ่ง.

วิรดา อรรถเมธากุล, และวรรณี ศรีวิลัย. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 7(2), 18-28.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2549). การสำรวจและศึกษาภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ 4 ภาค ของไทย. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์. (บ.ก.). (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561. นครปฐม: พริ้นเทอรี่.

สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์. (2557). สวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 7(1), 73-82.

สุรีย์พันธุ์ วรพงศธร. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิชาการและวิจัย สังคมศาสตร์, 10(30), 31-48.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. (2561). คลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) จังหวัดสงขลา.สืบค้นจาก https://ska.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php.

อัมราภรณ์ ภู่ระย้า, และขนิษฐา นันทบุตร. (2562). ศักยภาพของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(1), 22-31.

Mauk, L. K. (2014). Gerontological nursing competencies for care. Massachusetts: Courier Companies.

World Health Organization. (2011). Global health and aging. Retrieved from https://www.who.int/ ageing/publications/global_health/en/.

Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.