การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนหลักการและเทคนิคการวัดสัญญาณชีพ ผ่านระบบบริหารการจัดการเรียนรู้

Main Article Content

วิยะดา เปาวนา

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนหลักการและเทคนิคการวัดสัญญาณชีพผ่านระบบบริหารการจัดการเรียนรู้ 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนหลักการและเทคนิคการวัดสัญญาณชีพ มีวิธีดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพการณ์และแสวงหาองค์ความรู้ ผู้ให้ข้อมูลเป็นอาจารย์พยาบาล 3 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามโมเดล ADDIE 3) การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนโดยการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล 32 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบวัดความรู้ก่อนและหลังเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนต่อรูปแบบการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และ 4) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน เป็นการนำผลการทดลองรูปแบบการเรียนการสอนมาปรับปรุง แก้ไขให้เหมาะสมและนำไปใช้ ผลการวิจัย พบว่า


1. รูปแบบการเรียนการสอนหลักการและเทคนิคการวัดสัญญาณชีพผ่านระบบบริหารการจัดการเรียนรู้ มีกระบวนการเรียนการสอน 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมผู้เรียน ปฐมนิเทศขั้นตอนการเรียนและการทดสอบก่อนเรียน 2) ขั้นเรียนรู้ เป็นการเรียนเนื้อหาและศึกษาสื่อวีดิทัศน์ และ 3) ขั้นประเมินผล โดยการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน


2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนภายหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนหลักการและเทคนิคการวัดสัญญาณชีพผ่านระบบบริหารการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 13.45, p < .05) และความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.24, SD = .53)


ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนผ่านระบบบริหารการจัดการเรียนรู้ ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างเป็นรูปธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กร ศรเลิศล้ำวาณิช (บ.ก.). (2560). การออกแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่ง: รายการตรวจสอบ. สงขลา: นีโอพ้อยท์ (1995).

แกมกาญจน์ แสงหล่อ. (2560). การพัฒนาบทเรียน e-Learning วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ตามสภาพแวดล้อม การเรียนส่วนบุคคลบนอินเทอร์เน็ตผ่านทางเครือข่ายสังคมสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 12(1), 286-299.

จินตนา กสินันท์. (2559). ผลการใช้บทเรียน e-Learning แบบปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศดิจิทัลสำหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 22(2), 12-24.

จุไรรัตน์ ดวงจันทร์, บุญทิพย์ สิริธรังศรี, ทรงศรี สรณสถาพร, และวันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. (2562). การพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารเพื่อส่งต่อข้อมูลทางการพยาบาล โดยใช้บทเรียนออนไลน์สำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 39(2), 98-112.

ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2557). อีเลิร์นนิง: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

ทองปาน บุญกุศล, ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, และจิตร์พร หล่อสุวรรณกุล. (2555). ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนต่อความสามารถในการถ่ายโยงความรู้ และความสามารถในการปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 13(2), 28-37.

ธัญญลักษณ์ วจนะวิศิษฐ. (2557). การพัฒนาบทเรียน e-Learning รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์. วารสารเกื้อการุณย์, 21(1), 100-113.

นงคาร รางแดง, และดวงดาว อุบลแย้ม. (2561). การพัฒนาบทเรียน e-learning แบบปฏิสัมพันธ์เพื่อใช้ในการเรียนเรื่องการตรวจสภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลศาตร์ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 19(1), 169-178.

พิมพ์พัฒน์ จันทร์เทียน, โสภาพันธ์ สอาด, ศุภาพิชญ์ โฟน โบร์แมนน์, และวรรณพร บุญเปล่ง. (2559). การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกในยุคประชาคมอาเซียนผ่านระบบ e-Learning. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26(2), 154-165.

วิภาดา คุณาวิกติกุล. (2558). การเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ในยุคศตวรรษที่ 21. วารสารพยาบาลสาร, 42(2), 152-156.

สายใจ ทองเนียม. (2560). การพัฒนาสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) วิชาภาษาวรรณคดี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 13(1), 25-40.

อัจฉรา มีนาสันติรักษ์, พัชรี แวงวรรณ, ชาลี ศิริพิทักษ์ชัย, อัญญา ปลดเปลื้อง, และทรงสุดา หมื่นไธสง. (2561). การพัฒนาบทเรียน E-Learning เรื่องหลักการและเทคนิคการทำแผลสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 28(3), 145 -155.

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160.

Knowles, M.S. (1975). Self-directed Learning: A guide for learners and teachers. New York: Association Press.

Rouhollah, S., Maryam, B., Sayed, A. H., Elaheh, A., & Nasrin, E. (2018). Improving nursing students' learning outcomes in fundamentals of nursing course through combination of traditional and e-learning methods. Iranian Journal of Nursing and Midwifery Research, 23(3), 217–222.

Samaneh, A., Samad, S. V., Alehe, S. R., Mohammad, A. J., Saba, A. F., & Shahrad, T. (2015). Comparing two methods of electronic and teacher-based education on nursing students’ level of knowledge in taking care of trauma patients. Journal of Emergency Practice and Trauma, 1(2), 40-43.

Trust, T., & Pektas, E. (2018). Using the ADDIE model and universal design for learning principles to develop an open online course for teacher professional development. Journal of Digital Learning in Teacher Education, 34(4), 219-233.

Valentina, A., & Nelly, A. (2014). The role of e-learning, the advantages and disadvantages of its adoption in higher education. International Journal of Education and Research, 2(12), 397-410.