ผลการใช้การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานต่อทักษะการเรียนรู้ และนวัตกรรมตามความคิดเห็นของนักศึกษา

Main Article Content

นงนุช วงศ์สว่าง
วรพจน์ ศตเดชากุล
ดนุลดา จีนขาวขำ
กมลพร แพทย์ชีพ
ชลธิชา บุญศิริ
ปณิธาน จอกลอย

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมตามความคิดเห็นของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีราชบุรี ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต จำนวน 153 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน แบบสอบถามทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษาพยาบาล ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบทีแบบไม่อิสระต่อกัน


ผลการวิจัยพบว่า คะแนนความคิดเห็นของนักศึกษาต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมหลังการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 3.28, p = .00) สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษาพยาบาล ตลอดจนการทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการสร้างสรรค์นวัตกรรมต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ เทอร์เนอร์, ลัดดา เหลืองรัตนมาศ, ทุติยรัตน์ รื่นเริง, และสมพร รักความสุข. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะ แห่งศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 28(1), 127-138.

กมลรัตน์ เทอร์เนอร์, นวพร มามาก, ณัฐนิชา ศรีละมัย, ละเอียด แจ่มจันทร์. (2561). ผลการใช้การเรียนรู้แบบโครงงานสะเต็มเพื่อส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 ในนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์, 26(2), 11-19.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 14).กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คเชนทร์ กองพิลา, วชิระ อินทร์อุดม, และสังคม ภูมิพันธุ์. (2559). แบบจำลองการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นฐานเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(4), 19-25.

จริยา ทองหอม, สิริวรรณ ศรีพหล, มารุต พัฒผล, และปณิตา วรรณพิรุณ. (2560). การพัฒนาหลักสูตรออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม. Veridian E- Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(2), 138-156.

จุลมณี สุระโยธิน, เจษฎา กิตติสุนทร, และกิติพงษ์ ลือนาม. (2562). การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารราชพฤกษ์, 17(3), 43-51.

ดุษฎี โยเหลา. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุด ความรู้ เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธิ์.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิวัฒน์ บุญสม, และมาเรียม นิลพันธุ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดของกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมด้านสุขภาพของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 7(1), 123-133.

นุจรี กิจวรรณ. (2561). กระบวนการคิดเชิงออกแบบ: มุมมองใหม่ของระบบสุขภาพไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 33(1), 6-14.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, วุฒิชัย เนียมเทศ, และณัฐวิทย์ พจนตันติ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 208-222.

พรรณี ปานเทวัญ. (2559). การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษ ที่21 กับการเรียนรู้เชิงรุกในวิชาชีพพยาบาล.วารสารพยาบาลทหารบก, 17(3), 17-24.

วรรณรัตน์ ลาวัง, และสุวรรณา จันทร์ประเสริฐ. (2560). การใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบโครงการเป็นฐานเพื่อการเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนิสิตพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 10(2), 33-45.

วิจารณ์ พานิช. (2558).วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 1(2), 3-14.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี. (2559). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี (พ.ศ. 2559-2563) ฉบับทบทวน เดือนเมษายน 2559. ราชบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี.

วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ, และปิยะนันท์ พรึ่งน้อย. (2559). นวัตกรรมการศึกษาในการพัฒนาทักษะ เพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 34(3), 55-79.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). บทวิเคราะห์การศึกษาไทยในโลกศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ศศิโสภิต แพงศรี. (2561). การสอนแบบโครงงานเป็นฐาน: การประยุกต์สู่การปฏิบัติในการจัดการศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 29(1), 215-222.

อัศนี วันชัย, ชนานันท์ แสงปาก, และยศพล เหลืองโสมนภา. (2560). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการสะท้อนคิดในการศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 11(2), 105-115.

Beaird, G., Geist, M., & Lewis, E. J. (2018). Design thinking: Opportunities for application in nursing education. Nurse Education Today, 64, 115-118. doi: 10.1016/j.nedt.2018.02.007.

Cusson, R. M., Meehan, C., Bourgault, A., & Kelley, T. (2019). Educating the next generation of nurses to be innovators and change agents. Journal of Professional Nursing, 36(2), 13-19. doi: 10.1016/j.profnurs.2019.07.004.

Du, X., Su, L., & Liu, J. (2013). Developing sustainability curricula using the PBL method in a Chinese context. Journal of Cleaner Production, 61, 80-88. doi: 10.1016/j.jclepro.2013.01.012.

Hämäläinen, R., & Vähäsantanen, K. (2011). Theoretical and pedagogical perspectives on orchestrating creativity and collaborative learning. Educational Research Review, 6(3), 169-184.

Martin, R. (2010). Can Verbally aggressive messages in the instructor- student relationship be constructive. College Student Journal, 46(3), 726-737.

Martin, J. (2012). The meaning of the 21st century: A vital blueprint for ensuring our future. London: Transworld.

Trilling, B., & Fadel, C. (2009). 21st century skills: Learning for life in our times. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Wartiovaara, M., Lahti, T., & Wincent, J. (2019). The role of inspiration in entrepreneurship: Theory and the future research agenda. Journal of Business Research, 101, 548-554. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.jbusres.2018.11.035.