ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

ณัฐพร อุทัยธรรม
ชวัลนุช พิทูรทรัพย์
บุษยา ฉิมพาลี
ซัลมา จารีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาล ปีการศึกษา 2562 จำนวน 220 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายตามสัดส่วนของประชากรในแต่ละชั้นปี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกาย การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความพร้อมของอุปกรณ์และสถานที่ การสนับสนุนทางสังคม และการได้รับข้อมูลข่าวสาร ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค .87, .71, .71, .71 และ .79 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อีต้า


ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความพร้อมของอุปกรณ์และสถานที่ การสนับสนุนทางสังคม และการได้รับข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีขนาดสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อีต้า เท่ากับ .57, .35, .45, และ .42 ตามลำดับ ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำรูปแบบกิจกรรม เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาพยาบาลที่เหมาะสมต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

จตุรงค์ ยังถาวร. (2558). พฤติกรรมการออกกำลังกายของนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา (สารนิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ธนพร แย้มศรี, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, และยุวดี ลีลัคนาวีระ. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เครือข่ายตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(2), 158-168.

ธาริน สุขอนันต์, จารุณี ทรัพย์ประเสริฐ, สุภาวัลย์ จาริยะศิลป์, และอาภิสรา วงศ์สละ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 9(2), 66-72.

พรเทพ ลี่ทองอิน, ศักดิ์ชัย ไชยรักษ์, และอลงกรณ์ เกิดเนตร. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

พัชรินทร์ บุญรินทร์, สุภลักษณ์ เชยชม, และวลัยพร นันท์ศุภวัฒน์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 33(2),176-186.

สมนึก แก้ววิไล. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ, ปิยวรรณ สืบวิเศษ, อรพรรณ กันนัง, กนกพรรณ ศรีสร้อย, รอฮายา หมาดตา, วิไลพรรณ บุญรอด, และมณีรัตน์ แซ่ซื้อ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.วารสารมฉก.วิชาการ, 21(42), 55-64.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman.

Best, J. W., & Kahn, J. V. (1998). Research in education. (8th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). New York: Lawrence Erlbaum Associates.

House, J. S. (1981). Work stress and social support. Boston: Addison-Wesley.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.) New York: Harper.