ความตระหนักในการดูแลสุขภาพและผลการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

สายพิรุณ เจริญจิตต์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการคัดกรองและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ความพึงพอใจต่อการคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง และเปรียบเทียบความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงจำแนกตามระดับการศึกษา รายได้และอาชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่เข้าร่วมโครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 172 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง แบบสอบถามความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้


  1. ผลการคัดกรองปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงของกลุ่มตัวอย่าง พบผิดปกติ ร้อยละ 21.51 ซึ่งเป็นติ่งเนื้องอก ร้อยละ 19.19 และพบก้อนเนื้อ ร้อยละ 2.32 ตามลำดับ และมีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ร้อยละ 12.79 มีการสูบบุหรี่ ร้อยละ 10.46 ดื่มสุรา ร้อยละ 13.37 รับประทานผักผลไม้น้อยกว่าเนื้อสัตว์ ร้อยละ 44.19 และมีประวัติการขับถ่ายที่ผิดปกติ ร้อยละ 29.49 และมีความพึงพอใจต่อการคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงโดยรวมในระดับสูง (M = 2.64, SD = .38)

  2. มีความความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงโดยรวมในระดับสูง (M = 2.17, SD = .29)

  3. ความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงแตกต่างตามระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ในการส่งเสริมความตระหนักในการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงนั้น ควรคำนึงถึงความแตกต่างทางลักษณะประชากรทั้งระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชาลินี พรตเจริญ. (2556). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองจันทบุรี (ปัญหาพิเศษ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ปิยะชัย ออคูณสวัสดิ์. (2557). การศึกษาอัตราการตรวจไม่พบเนื้องอกลำไส้ใหญ่ในการส่องกล้องครั้งแรก โดยวิธีส่องกล้องลำไส้ใหญ่ 2 ครั้ง ในผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติและมาตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ (วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

พูลศักดิ์ พุ่มวิเศษ. (2558). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 38(2), 25-34.

ภรณี ตังสุรัตน์, และ วิมลฤดี พงษ์หิรัญญ์. (2556). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบางเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัย, 20(1), 57-69.

โรงพยาบาลเกาะสมุย. (2562). รายงานผลการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ปี พ.ศ. 2560-2561. สุราษฏร์ธานี: โรงพยาบาลเกาะสมุย.

วิษณุ ปานจันทร์, เสาวคนธ์ ศุกรโยธิน, อาคม ชัยวีระวัฒนะ, และวีรวุฒิ อิ่มสำราญ (บ.ก.). (2558). แนวทางการตรวจคัดกรอง วินิจฉัย และรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง. กรุงเทพฯ: โฆสิตการพิมพ์.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางการดำเนินงานและการบันทึกข้อมูล: โครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ด้วยวิธี FIT test. กรุงเทพฯ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

สารภี แซ่ฮั่น, และสายพิรุณ เจริญจิตต์. (2562). การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ (รายงานวิจัยการวิจัย). สุราษฎร์ธานี: โรงพยาบาลเกาะสมุย.

Best, J. W., & James, V. K. (1986). Research in education (5th ed.) New Jersey: Prentice Hall Inc.

Brenner, H., Chang-Claude, J., Jansen, L., Knebel, P., Stock, C., & Hoffmeister, M. (2014). Reduced risk of colorectal cancer up to 10 years after screening, surveillance, or diagnostic colonoscopy. Gastroenterology, 146(3), 709-717.

Gay, L. J., Mitrou, P. N., Keen, J., Bowman, R., Naguib, A., Cooke, J.,… Arends, M. J. (2012). Dietary, lifestyle and clinicopathological factors associated with APC mutations and promoter methylation in colorectal cancers from the EPIC-Norfolk study. Journal of Pathology, 228, 405-415.

Khalid-de Bakker, C. A. J., Jonkers, D. M. A. E., Sanduleanu, S., de Bruïne, A. P., Meijer, G. A., Janssen, J. B. M. J.,…Masclee, A. A. M. (2011). Test performance of immunologic fecal occult blood testing and sigmoidoscopy compared with primary colonoscopy screening for colorectal advanced adenomas. Cancer Prevention Research, 4(10), 1563-1571.

Khuhaprema, T., Sangrajrang, S., Lalitwongsa, S., Chokvanitphong, V., Raunroadroong, T., Ratanachu-ek, T.,… Sankaranarayananet, R. (2014). Organised colorectal cancer screening in Lampang Province, Thailand: Preliminary results from a pilot implementation programme. BMJ Open, 4(1), e003671.

O’Connell, J. B., Maggard, M. A., & Ko, C. Y. (2004). Colon cancer survival rates with the New American Joint Committee on cancer sixth edition staging. Journal of the National Cancer Institute, 96(19), 1420–1425.

Oba, S., Shimizu, N., Nagata, C., Shimizu, H., Kametani, M., Takeyama, N.,…Matsushita, S. (2006). The relationship between the consumption of meat, fat, and coffee and the risk of colon cancer: a prospective study in Japan. Cancer Letter, 244(2), 260-267.

Rosenstock, I. M. (1974). The health belief model and preventive health behavior. Health Education Monographs, 2(4), 354-386.

Sung, J. J. Y., Chan, F. K.L., Leung, W. K., Wu, J. C. Y., Lau, J. Y. W., Ching, J., …Chung, S. C. S. (2003). Screening for colorectal cancer in Chinese: Comparison of fecal occult blood test, flexible sigmoidoscopy, and colonoscopy. Gastroenterology, 124(3), 608–614.

Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis. London: John Weather Hill.