ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

สุขประเสริฐ ทับสี

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ 2)ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัวกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุในอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 365 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ และการสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมอยู่ในระดับสูง (M = 3.99, SD = .53) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านจิตใจ (M = 4.27, SD = .76) รองลงมาคือ ด้านสังคม (M = 4.00, SD = .82) ด้านร่างกาย (M = 3.97, SD = .47) และด้านเศรษฐกิจ (M = 3.71, SD = .67) ตามลำดับ

  2. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ สถานภาพทางเศรษฐกิจ การพักอาศัย การมีโรคประจำตัวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  3. แรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัวด้านอารมณ์ การให้การประเมิน ข้อมูลข่าวสาร และด้านเครื่องมือ/สิ่งของ/แรงงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .641, .609, .613, .639, p < .01)

ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์และสังคมนั้น ต้องคำนึงถึงแรงสนับสนุนทางสังคม โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมจากสมาชิกในครอบครัวเป็นสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2556). การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ (พิมพ์ครั้งที่ 8). นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือการคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์สงเคราะห์องค์การทหารผ่านศึก.

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 28(3), 68-83.

ชินตา เตชะวิจิตรจารุ. (2561). ความรอบรู้ทางสุขภาพ: กุญแจสำคัญสู่พฤติกรรมสุขภาพและผลลัพธ์สุขภาพที่ดี. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(ฉบับพิเศษ), 1-15.

ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์. (2561) .แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์และการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 38(2), 132-141.

ตวงพร กตัญญุตานนท์, วัชนีย์ จันทร์ปัญญา, สุธีธิดา ปาเบ้า, เสาวณี เบ้าจังหาร, ธรพร น้อยเปรม, สาวิกา พาลี, และจันทร์เพ็ญ แสงขันธ์. (2560). พฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สถานีอนามัยแห่งหนึ่ง ในตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 6(2), 53-62.

ธีระชัย พรหมคุณ, พจนีย์ เสงี่ยมจิตต์, และเสนอ ภิรมจิตรผ่อง. (2557). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 7(1), 133-145.

นิสภรณ์ ธํารงค์วัฒนกุล, ภัทราพร ฤทธิ์เทพ, ขวัญเรียม นิมสุวรรณ์, และธวัชชัย ศรีพรงาม. (2562). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพ การไดรับการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ตำบลบางม่วง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรีรับใช้สังคม, 5(2), 56-67.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เบญจพร สว่างศรี, และเสริมศรี แต่งงาม. (2556). การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ, 1(2), 128-137.

ประภาพร มโนรัตน์, กฤษณะ คำฟอง, วรพล แวงนอก, และพรฤดี นิธิรัตน์. (2559). การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุไทยพุทธในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท: กรณีศึกษาบ้านนาโปร่ง ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ, 8(2), 96-111.

ปราโมทย์ ประสาทกุล (บ.ก.). (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: พริ้นเทอรี่.

ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์, อมรรัตน์ รัตนสิริ, บังอรศรี จินดาวงค์, ไพรินทร์ เนธิบุตร, ลำดวน วัชนะปาน, ชนกานต์ จันทะคุณ, และชลทิพย์ สุภาพินิจ. (2561). พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุอาศัยในชุมชนชานเมือง จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 33(2),153-60.

พิมพิสุทธิ์ บัวแก้ว, และรติพร ถึงฝั่ง. (2559). การดูแลสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(2), 94-109.

พูลศักดิ์ พุ่มวิเศษ. (2558). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 38(2), 25-34.

มาริสา ประทุมมา. (2550). การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น บนพื้นฐานของปัจจัยส่วนบุคคลและการสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัว (การค้นคว้าอิสระ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

รุจิรางค์ วรรณ์ธนาทัศน์. (2560). การศึกษาประสิทธิผล ของโปรแกรมการส่งเสริม การมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุและการรับรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. 2 ส. ของผู้สูงอายุ จังหวัดนครปฐม. วารสารสุขภาพภาคประชาชน, 12(1), 17-29.

ลาวัลย์ รัตนา. (2552). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลสุราษฎรธานี (สารนิพนธ์ ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

วัชพลประสิทธิ์ ก้อนแก้ว. (2557). พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ที่อาศัยในเขตเทศบาลตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมืองชลบุรี (วิทยานิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

วัลภา บูรณกลัศ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัวกับความสุขของผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่ง เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9(2), 25-33.

สมิทธ์ กล้าณรงค์. (2557). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุตำบลผางาม อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร, 6(2), 125-131.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2560). ผลสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. (2561). Health Data Center (HDC) กลุ่มรายงานมาตรฐานข้อมูลส่วนบุคคล หมวดประชากร. สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php.

สำเนาว์ ศรีงาม. (2559). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 6(3), 217-224.

สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน. (2559). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 17(2), 77-84.

เสาวนิจ นิจอนันต์ชัย, และมาลี สันติถิรศักดิ์. (2553). การสนับสนุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารกองการพยาบาล, 37(2), 64-76.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). New York: Lawrence Erlbaum Associates.

Cohen, S., & Syme, S. L. (1985). Social support and health. Orlando, FL: Academic Press.

Kadirvelu, A., Sadasivan, S., & Hui Ng, S. (2012). Social support in type II diabetes care: A case of too little, too late. Diabetes, Metabolic Syndrome and Obesity: Targets and Therapy, 5, 407–417.

Pender, N. J., Murdaugh, C.L., & Parsons, M. A. (2011). Health promotion in nursing practice (6th ed.). Boston: Pearson.

Shumaker, S. A., & Brownell, A. (1984). Towards a theory of social support: Closing conceptual gaps. Journal of Social Issues, 40(4), 11–36.

Taylor, S. G., & Renpenning, K. M. (2011). Self-care science, nursing theory, and evidence-based practice. New York: Springer Publishing Company.

Webber, D., Guo, Z., & Mann, S. (2013). Self-care in health: We can define it, but should we also measure it?. SelfCare, 4(5), 101-106.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.) New York: Harper and Row.