ประสิทธิผลของโครงการอบรมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว ของวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

วิไลวรรณ คมขำ
สุทธดา บัวจีน
กมลพรรณ วัฒนากร

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของการอบรมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวของวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี โดยใช้โมเดลซิปป์ เก็บข้อมูลจากอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่เข้าร่วมการอบรม จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามความรู้และทักษะการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น KR-20 เท่ากับ .68 และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินโครงการอบรมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และเปรียบเทียบความรู้และทักษะการดูแลผู้สูงอายุก่อนและหลังการอบรม ด้วยสถิติ Wilcoxon Sign Rank Test ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลดำเนินการโครงการอบรมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ในด้านบริบทมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (M = 4.45, SD = .65) รองลงมาคือ ด้านปัจจัยนำเข้า (M = 4.31, SD = .69) และด้านกระบวนการ (M = 4.29, SD = .67) ตามลำดับ

  2. ด้านผลผลิตพบว่า หลังการอบรมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุสูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = 4.635, 4.357; p< .01)

          จากผลการวิจัยนี้ สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการบริหารโครงการอบรม ที่ครอบคลุมทั้งด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิต เพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2562). HDCservice กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจาก https://hdcservice.moph. go.th/hdc/main/index_pk.php.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2559). หลักสูตรการฝึกอบรมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว (อสค.) หลักสูตร ๑๘ ชั่วโมง. นนทบุรี: เอสเอสพลัสมีเดีย.

ณัฐวรรณ แย้มละมัย, และสุณี หงษ์วิเศษ. (2561). การประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี.วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(3), 17-25.

นพพร จันทรเสนา,นครชัย ชาญอุไร, และประพรทิพย์ คุณากรพิทักษ์. (2558).แนวทางการจัดการความรู้ตามบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 10(1), 1-14.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปราโมทย์ ประสาทกุล (บ.ก.). (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561. นครปฐม: พริ้นเทอรี่.

ปราโมทย์ ประสาทกุล (บ.ก.). (2560). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2559. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สืบค้นจาก https://thaitgri.org/?p=38427.

รัถยานภิศ พละศึก, และเบญจวรรณ ถนอมชยธวัช. (2560). ตัวแบบของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(3), 135-150.

วิไลลักษณ์ รุ่งเมืองทอง. (2553). การประเมินโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน: กรณีศึกษาจังหวัด เพชรบุรี (วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพ.

อุไรรัชต์ บุญแท้, จุไรรัตน์ ดวงจันทร์, สถาพร แถวจันทึก, และสรัลรัตน์ พลอินทร์. (2560). สภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุภายใต้การดูแลของเครือข่ายชุมชนร่วมกับครอบครัวเสมือน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(3), 175-185.

World Health Organization. (2011). Global health and aging. Geneva: World Health Organization. Retrieved from https://www.who.int/ageing/publications/global health.pdf.

Stufflebeam, D. L. (2000). The CIPP model for evaluation. In D. L. Stufflebeam, G. F. Madaus, & T. Kellaghan (Eds.), Evaluation models: Viewpoints on educational and human services evaluation (2nd ed.) (p. 280-317). Boston, MA: Kluwer Academic.