การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์ปัญหาของการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 2) พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และ 3) ศึกษาผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ดำเนินการวิจัย 4 ระยะ คือ 1) ศึกษาสถานการณ์ปัญหา 2) การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 3) การนำรูปแบบไปทดลองใช้ และ 4) ประเมินผลการบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัด กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 28 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และทักษะการให้ยาละลายลิ่มเลือด Streptokinase มีค่าความเชื่อมั่น KR-20 เท่ากับ .715 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .841 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า
- สถานการณ์ปัญหาที่สำคัญของการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันของโรงพยาบาลบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี คือ มีการคัดกรองผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันผิดพลาด การส่งผู้ป่วยผิดแผนก ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงและเสียชีวิต พยาบาลวิชาชีพไม่มีความมั่นใจในการให้ยาละลายลิ่มเลือดและมีความรู้ในการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันไม่เพียงพอ
- ระดับความรู้และทักษะของพยาบาลวิชาชีพหลังการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
- การบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดหลังการทดลองใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับการใช้รูปแบบเดิม
จากผลการวิจัยนี้ ชี้ให้เห็นว่าควรมีการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ไปใช้ในการจัดการการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันต่อไป ตลอดจนการติดตามและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
ดรุณี วินัยพานิช, น้อมจิต จันทร์น้อย, และดารารัตน์ อินทสุวรรณ์. (2558). การศึกษาผลลัพธ์ทางการพยาบาลในผู้ป่วยศัลยกรรมโรงพยาบาลอุทัยธานี. วารสารกองการพยาบาล, 42(1), 58-75.
ดรุณี วินัยพานิช, พาณี วิรัชชกุล, จินดา ผุดผ่อง, และปริญดา ศรีธราพิพัฒน์. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. วารสารกองการพยาบาล, 43(2), 101-126.
โรงพยาบาลบ้านแหลม. (2561). รายงานประจำปี งบประมาณ 2561. เพชรบุรี: โรงพยาบาลบ้านแหลม.
วันเพ็ญ แสงเพ็ชรส่อง, ทัชวรรณ ผาสุข, และธนิตา ฉิมวงษ์. (2555). การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันระยะวิกฤติในโรงพยาบาลระยอง. วารสารกองการพยาบาล, 39(1), 32-45.
ศศิธร ช่างสุวรรณ์, จินต์จุฑา รอดพาล, ศรีสุรีย์ สูนยานนท์, และสมทรง บุตรชีวัน. (2561). การพัฒนาระบบการพยาบาลระยะฉุกเฉินในผู้ป่วย STEMI งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 8(3), 372-384.
ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลพระจอมเกล้า. (2562). สรุปผลการดำเนินงาน Service Plan สาขาโรคหัวใจประจำปีงบประมาณ 2562. เพชรบุรี: โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี.
สุเพียร โภคทิพย์, นวลน้อย โหตระไวศยะ, นาฎอนงค์ เสนาพรหม, แจ่มจันทร์ พวงจันทร์, หนึ่งฤทัย อินมณี, และอัญชลี สุธรรมวงษ์. (2560). การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลในการบริหารยาละลายลิ่มเลือดชนิด Streptokinase ในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI: โรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง เขตสุขภาพที่10. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์, 1(2), 1-19.
สุรพันธ์ สิทธิสุข, และฆนัท ครุธกูล. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี 2557 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่ง ประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.
สุรีย์ กรองทอง, ศศิธร กระจายกลาง, นงลักษณ์ สุขศร, และสุนันญา พรมดวง. (2561). พัฒนารูปแบบบริการทางด่วนผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 33(1), 45-60.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
Deming, W. E. (2013). The essential Deming: Leadership principles from the father of quality. New York: McGraw-Hill.
World Heart Federation. (2013). Annual report 2013. Geneva: World Heart Federation.