การพยาบาลทารกปอดอักเสบร่วมกับภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
Main Article Content
บทคัดย่อ
ทารกปอดอักเสบ เป็นภาวะที่มีการอักเสบและติดเชื้อในเนื้อปอด เกิดกับทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จนถึงแรกเกิดอายุไม่เกิน 48 ชั่วโมง และเกิดหลังคลอดมากกว่า 48 ชั่วโมง เมื่อปอดอักเสบมีการดำเนินโรคต่อไปโดยไม่ได้รับการรักษา ทำให้เชื้อกระจายไปทั่วร่างกาย ระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายล้มเหลวจากการติดเชื้อ ภาวะปอดอักเสบแรกเกิดร่วมกับการติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นภาวะวิกฤตของทารก สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น การสำลัก การนอนนานๆ เป็นการติดเชื้อที่อันตราย และเป็นสาเหตุการตายในทารกตายคลอดและหลังคลอดที่พบบ่อยที่สุด จากกรณีศึกษาทารกอายุ 15 วัน รับส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชน ด้วยอาการ 3 วันก่อนมาโรงพยาบาล ไอ มีเสมหะ อาเจียน มีไข้ ซึมลง ดูดนมได้น้อย แพทย์วินิจฉัยภาวะปอดอักเสบและติดเชื้อในกระแสเลือด รวมระยะเวลาในการดูแลรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล 8 วัน
จากภาวะวิกฤตและปัญหาซับซ้อนที่เกิดขึ้นกับทารกกลุ่มดังกล่าว การดูแลรักษาพยาบาลจึงมีความสำคัญทั้งในระยะวิกฤตและระยะฟื้นฟูสภาพเตรียมจำหน่ายก่อนกลับบ้าน พยาบาลที่เป็นผู้ดูแลทารก ต้องมีความรู้ความสามารถในการนำกระบวนการการพยาบาลมาใช้ เพื่อเป็นแนวทางประเมินปัญหาให้ครอบคลุมทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อวางแผนในการดูแลรักษาพยาบาลที่ถูกต้อง รวดเร็วทั้งในภาวะวิกฤต และระยะฟื้นฟูสภาพก่อนจำหน่าย ป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ รวมทั้งการให้มารดาและญาติมีส่วนร่วมในการดูแลทารกโดยพยาบาลทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ เพื่อให้มีความรู้ สามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆ ทารกได้รับการกระตุ้นพัฒนาการทั้งด้านร่างกายและสติปัญญาที่สมวัยต่อไป
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
กัลยพัทธ์ นิยมวิทย์, และสุภา คำมะฤทธิ์. (2562). การพยาบาลเพื่อลดการคั่งค้างของเสมหะในผู้ป่วยเด็ก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 30(1), 216-225.
กำธร มาลาธรรม, และยงค์ รงค์รุ่งเรือง. (2556). คู่มือปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 2). สถาบันบำราศนราดูร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
คณะอนุกรรมการกุมารเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. (2561). แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย และรักษาผู้ป่วยเด็กติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงและแบบที่มีภาวะช็อก พ.ศ. 2561. สืบค้นจาก https://www.thaipediatrics.org/Media/media-20190417145929.pdf.
ประชา นันท์นฤมิต, และพฤหัส พงษ์มี. ( 2556). Respiratory care and neonatal ventilator in critical ill neonates. ใน อนันต์ โฆษิตเศรษฐ, อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์, อัญชลี ลิ้มรังสิกุล, ชัยยศ คงคติธรรม, อุเทน ปานดี, และโรจนี เลิศบุญเหรียญ (บ.ก.), เวชบำบัดวิกฤตในเด็ก (ฉบับเรียบเรียง ครั้งที่ 4) (น. 199-215). กรุงเทพฯ: ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
ณัฐชัย อนันตสิทธิ์, และเธียรชัย บรรณาลัย.(2556). Sepsis, Septic shock and multiple organs dysfunction Syndrome. ใน อนันต์ โฆษิตเศรษฐ, อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์, อัญชลี ลิ้มรังสิกุล, ชัยยศ คงคติธรรม, อุเทน ปานดี, และโรจนี เลิศบุญเหรียญ (บ.ก.), เวชบำบัดวิกฤตในเด็ก (ฉบับเรียบเรียง ครั้งที่ 4) (น. 327-342). กรุงเทพฯ: ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
พรทิภา พุทธินันทโอภาส, เรณู พุกบุญมี, และทิพวัลย์ ดารามาศ. (2560). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดท่านอนเพื่อเพิ่มระดับความอิ่มตัวของ ออกซิเจนในเลือดของทารกเกิดก่อนกำหนดที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 19(1), 1-15.
พรศิริ พันธสี. (2556). กระบวนการพยาบาลและแบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก (พิมพ์ครั้งที่13). กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร.
ศูนย์สารสนเทศ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว. (2562). รายงานประจำปี 2561. สระแก้ว: โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว.
สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็ก ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการดูแลรักษาโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก พ.ศ. 2562. กรุงเทพ: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2559). รายงานการเฝาระวังทางระบาดวิทยาประจําสัปดาห์ ปที่ 47 ฉบับที่ 28. สืบค้นจาก https://wesr.boe.moph.go.th/wesr _new/file/y59/ F59282_1533.pdf.
หฤทัย กมลากรณ์. (2556). Essential respiratory care in critically ill children. ใน อนันต์ โฆษิตเศรษฐ, อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์, อัญชลี ลิ้มรังสิกุล, ชัยยศ คงคติธรรม, อุเทน ปานดี, และโรจนี เลิศบุญเหรียญ (บ.ก.), เวชบำบัดวิกฤตในเด็ก (ฉบับเรียบเรียง ครั้งที่ 4) (น. 157-173). กรุงเทพฯ: ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
Wiersinga, W J., Leopold, S. J., Cranendonk, D.R., & van der Poll, T. (2014). Host innate immune responses to sepsis. Virulence, 5(1), 36-44.