ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

Main Article Content

ไพรัช ทับสี

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของความวิตกกังวลของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย และ 3) ปัจจัยทำนายความวิตกกังวลของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ญาติผู้ดูแลหลักที่ให้การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ในตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 44 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแล แบบสอบถามสัมพันธภาพของผู้ดูแลต่อผู้ป่วย การรับรู้ต่ออาการรุนแรงของผู้ป่วย ทัศนคติต่อวาระสุดท้ายของผู้ป่วย การปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนา ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย และความวิตกกังวลของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความวิตกกังวลโดยรวมของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง อยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.03, SD = .33)

  2. การรับรู้ต่ออาการรุนแรงของผู้ป่วย สัมพันธภาพของผู้ดูแลกับผู้ป่วย และทัศนคติต่อวาระสุดท้ายของผู้ป่วย มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง กับความวิตกกังวลของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .484, .338, .363; p < .05) การปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนา และความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ไม่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

  3. ตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของความวิตกกังวลของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ได้ร้อยละ 37.50 ได้แก่ การรับรู้ต่ออาการรุนแรงของผู้ป่วย และทัศนคติต่อวาระสุดท้ายของผู้ป่วย (Beta = .493, .375; p < .05)

ผลการวิจัยนี้ สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ในการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยเน้นการจัดการทุกข์ทรมาน อาการรุนแรงในระยะสุดท้ายและเสริมสร้างทัศนคติของผู้ดูแล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

กลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. (2562). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2561. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข.

กาญจนา มยุระสุวรรณ. (2552). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ร่วมกับการผ่อนคลาย กล้ามเนื้อแบบโปรเกรสซีพต่อความวิตกกังวลในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม (วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

จิรานุวัฒน์ ชาญสูงเนิน, เพ็ญจันทร์ มณีโชติ, และดวงใจ สวัสดี. (2560). ความวิตกกังวลของผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมอง. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 10(1), 71-78.

ณชนก เอียดสุย, ศุภร วงศ์วทัญญู, และสุชิรา ชัยวิบูลย์ธรรม. (2555). ความเครียดและการเผชิญความเครียดของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีเนื้องอกสมอง ในระยะรอเข้ารับการผ่าตัดสมอง. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 19(3), 349-364.

ทศพร แสงศรีจันทร์. (2558). การให้โปรแกรมความรู้และฝึกทักษะแก่ผู้ดูแลเพื่อลดความวิตกกังวลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน). Veridian E- Journal, Slipakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(3), 572-595.

ทัตชญา สมประดิษฐ, และรัชนีกร เกิดโชค. (2558). ปัจจัยทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 29(2), 89-102.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุษยามาส ชีวสกุลยง, และลดารัตน์ สาภินันท์. (2557). แบบประเมินระดับผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบ ประคับประคองวัยผู้ใหญ่ ฉบับสวนดอก. ใน บุษยามาส ชีวสกุลยง, อารีวรรณ สมหวังประเสริฐ, สุรินทร์ จิรนิรามัย, เบญจลักษณ์ มณีทอน, ธนินนิตย์ ลีรพันธ์, ชนัญญา มหาพรหม, และปัทมา โกมุทบุตร (บ.ก.), การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (น. 35-46). เชียงใหม่: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปองพล คงสมาน. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลของญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม (วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

พิมพ์พนิต ภาศรี, แสงอรุณ อิสระมาลัย, และอุไร หัถกิจ. (2558). ความต้องการการช่วยเหลือของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 35(2), 79-91.

เพ็ญศิริ มรกต, กิตติกร นิลมานัต, และเยาวรัตน์ มัชฌิม. (2558). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการปรับตัวของ ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยโรคเรื้อรัง. วารสารสภาการพยาบาล, 30(2), 33-45.

มัฏฐวรรณ ลี้ยุทธานนท์, ผกาสรณ์ อุไรวรรณ, และจริญญา แก้วสกุลทอง. (2560). ความรู้และการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายทางจิตวิญญาณของพระภิกษุสงฆ์ในเขตภาคใต้ตอนบน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(3), 266-277.

เยาวลักษณ์ คุมขวัญ, และปรียสลิล ไชยวุฒิ. (2559). การเตรียมความพร้อมของญาติเพื่อส่งเสริมการตายอย่างสมศักดิ์ศรีในผู้ป่วยระยะสุดท้าย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(2), 125-138.

รัชนีกร ใจคำสืบ, และศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. (2562). สุขภาวะทางใจของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 11(1), 213-223.

วาสินี วิเศษฤทธิ์, และจิตรศิริ ขันเงิน. (2549). การสังเคราะห์สถานการณ์การดูแลแบบประคับประคองในบริบทของประเทศไทย. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 7(3), 12-21.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2556). รายงานประจำปี พ.ศ.2556: รายงานสานพลัง 6. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Hair, J. F., Anderson, R. E., Tatham, R. L., & Black, W. C. (1998). Multivariate data analysis (5th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Kejkornkaew, S., Sirapo-ngam, Y., Monkong, S., Junda, T., & Wallhagen, M. I. (2016). A grounded theory study of the quality relationships between family caregivers and persons with head and neck cancer. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 20(2), 161-173.

World Health Organization. (2011). WHO definition of palliative care. Geneva: World Health Organization.

World Health Organization. (2019). World health statistics overview 2019: Monitoring health for the SDGs, sustainable development goals. Geneva: World Health Organization.

Worldwide Palliative Care Alliance. (2014). Global atlas of palliative care at the end of life. London: Worldwide Palliative Care Alliance.