การพยาบาลมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง เนื่องจากมีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรง และตั้งครรภ์แฝด ร่วมกับมีภาวะตกเลือดหลังคลอด

Main Article Content

สมพร เฮงประเสริฐ

บทคัดย่อ

ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรง เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญพบได้บ่อย มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะชัก ถ้าไม่ได้รับการรักษา การดำเนินของโรคจะรุนแรงมากขึ้น มีการทำลายของตับ ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของเอ็นไซม์ตับ รวมทั้งภาวะตกเลือดหลังคลอด ซึ่งจัดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากของหญิงตั้งครรภ์ เป็นสาเหตุการตายของมารดาและทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้คลอดที่มีภาวะเสี่ยงและมีอาการอื่นร่วมด้วย


จากการศึกษามารดาหลังคลอดครรภ์ที่ 3 ตั้งครรภ์แฝด อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรง ภายหลังผ่าตัดคลอดมีภาวะตกเลือดหลังคลอด ได้รับยาป้องกันการชักคือ แมกนีเซียมซัลเฟต ยาลดความดันโลหิต ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ได้รับเลือดและส่วนประกอบของเลือด พยาบาลผู้ดูแลมารดาระยะหลังคลอดต้องใช้ความรู้ความสามารถ ทักษะความชำนาญ ด้วยการประเมินที่รวดเร็วนำไปสู่การวินิจฉัยการวางแผน และปฏิบัติพยาบาลที่ครบถ้วน มีการประเมินซ้ำ ซึ่งทำให้สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ ไม่เกิดภาวะชัก ควบคุมเลือดให้หยุดไหล มดลูกหดรัดตัวดี ไม่มีภาวะช็อก ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลดังกล่าวอาจนำไปสู่การเกิดการตัดมดลูกหลังคลอดได้ และจากการให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลและดูแลตนเองเป็นอย่างดี จึงทำให้ผ่านภาวะวิกฤติได้อย่างปลอดภัย และสามารถจำหน่ายมารดากลับบ้านพร้อมบุตรได้ภายใน 5 วันของการคลอด

Article Details

บท
กรณีศึกษา

References

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2557. นนทบุรี:สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.

กนกวรรณ ฉันธนะมงคล. (2559). การพยาบาลสตรีที่มีโรคร่วมกับการตั้งครรภ์. กรุงเทพ: ส.เจริญ การพิมพ์.

ดวงกมล ปิ่นเฉลียว. (2552). การพยาบาลมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: เอส.พี.เอส.พริ้นติ้ง.

ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ. (2560). การตกเลือดหลังคลอด: บทบาทสำคัญของพยาบาลในการป้องกัน. วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 6(2), 146-157.

นิตยา สินสุกใส. (2560). ภาวะตกเลือดหลังคลอด:บทบาทพยาบาล. ใน เพิ่มศักดิ์ สุเมฆศรี, นาเรศ วงศ์ไพฑูรย์, พจนีย์ ผดุงเกียรติวัฒนา, และณัฐฐิณี ศรีสันติโรจน์ (บ.ก.), ก้าวหน้าไปด้วยกันเพื่อการบริบาลปริกำเนิด 4.0 (น. 91-96). กรุงเทพฯ: ยูเนี่ยน ครีเอชั่น.
พัชรียา นิวัฒน์ภูมินทร์. (2562). การใช้ยาเพิ่มการหดรัดตัวของมดลูกในการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง. วิสัญญีสาร, 45(3), 124 – 131.

เพิ่มศักดิ์ สุเมฆศรี. (2560). ตกเลือดหลังคลอด. ใน เพิ่มศักดิ์ สุเมฆศรี, นาเรศ วงศ์ไพฑูรย์, พจนีย์ ผดุงเกียรติวัฒนา, และณัฐฐิณี ศรีสันติโรจน์ (บ.ก.), ก้าวหน้าไปด้วยกันเพื่อการบริบาลปริกำเนิด 4.0 (น. 83-90). กรุงเทพฯ: ยูเนี่ยน ครีเอชั่น.

ภัทรวรรณ หลิ่มศิริ. (2562). โรคพิษแห่งครรภ์ระยะชัก. ใน วิทยา ถิฐาพันธ์, ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์, และกนกวรุณ วัฒนนิรันตร์ (บ.ก.), ภาวะวิกฤติทางสูติกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับแก้ไขปรับปรุง) (น. 161–171). กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.

ศูนย์สารสนเทศ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว. (2562). รายงานประจำปี 2561. สระแก้ว: โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว.

สายลม เกิดประเสริฐ. (2560). การพยาบาลสตรีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์. ใน เพิ่มศักดิ์ สุเมฆศรี, นาเรศ วงศ์ไพฑูรย์, พจนีย์ ผดุงเกียรติวัฒนา, และณัฐฐิณี ศรีสันติโรจน์ (บ.ก.), ก้าวหน้าไปด้วยกันเพื่อการบริบาลปริกำเนิด 4.0 (น. 129 -134). กรุงเทพฯ: ยูเนี่ยน ครีเอชั่น.

World Health Organization. (2014). Trends in maternal mortality 1990 to 2013: Estimates by WHO, UNICEF, UNFPA. The World Bank and the United Nations Population Division. Geneva: World Health Organization.