ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลสุโขทัย

Main Article Content

กนกพร อริยภูวงศ์
ศุภพร ไพรอุดม
ทานตะวัน สลีวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดต้อกระจกในหอผู้ป่วยจักษุ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นกลุ่มทดลอง 78 คน โดยได้รับการพยาบาลโดยใช้การพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ และกลุ่มควบคุม 73 คน ซึ่งได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกโดยใช้การพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ ตามกรอบแนวคิดทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง .90 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบทีแบบ Paired t-test และ Independent t-test


     ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกในกลุ่มทดลองหลังได้รับการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 21.20, p < .01) และค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกหลังให้การพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมซึ่งได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 10.90, p < .01)


     ผลการวิจัยนี้ ชี้ให้เห็นว่าควรสนับสนุนให้มีการนำการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้มาใช้ส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกและการผ่าตัดอื่นๆ ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา ดวงแก้ว, จริยาวัตร คมพยัคฆ์, และนภาพร แก้วนิมิตชัย. (2559). ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนทางจอประสาทตาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารจักษุธรรมศาสตร์, 11(2), 34-53.

กลุ่มพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ โรงพยาบาลสุโขทัย. (2561). รายงานประจำปี 2561. สุโขทัย: โรงพยาบาลสุโขทัย.

ขวัญใจ ลือเมือง, ขนิษฐา นาคะ, และหทัยรัตน์ แสงจันทร์. ผลของโปรแกรมสนับสนุนและให้ความรู้ต่อการรับรู้ความสามารถของผู้ดูแลในการเฝ้าระวังภาวะเลือดออกในสมองของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะเล็กน้อย. ใน มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4: การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย (น. 170-184). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

คนึงนิจ เพชรรัตน์, สัญญา ปงลังกา, และจุฑามาศ กิติศรี. (2561). ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร, 45(1), 37-49.

จันทร์เพ็ญ สันตวาจา. (2556). แนวคิดพื้นฐาน ทฤษฎีและกระบวนการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 8). นนทบุรี:โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก.

ปริศนา จิระชีวี. (2551). ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ ต่อความวิตกกังวลก่อนผ่าตัด และพฤติกรรมความร่วมมือในการปฏิบัติตัวขณะผ่าตัดของผู้ป่วยสูงอายุที่ผ่าตัดต้อกระจกในผู้ป่วยนอก (วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพ.

ปาลิดา นราวุฒิพร, ศากุล ช่างไม้, และสมพันธ์ หิญชีระนันทน์. (2558). ผลลัพธ์ของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุน และให้ความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ล้างไตทางช่องท้องในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 8(4), 41-60.

ผุสดี บรมธนรัตน์. (2559). ผลของการให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อการลดความวิตกกังวลและการลดภาวะแทรกซ้อน ขณะผ่าตัดสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี.วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 30(3), 129-131.

พัชราภรณ์ วิริยะประสพโชค, และศิลปะ ไชยขันธ์. (2555). ประสิทธิภาพของการสอนญาติผู้ป่วยหลังผ่าตัดตาต้อกระจกโดยใช้สื่อวีดีทัศน์ หอผู้ป่วยโสตศอนาสิกและจักษุ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายเวชสาร, 4(2), 43-54.

เพ็ญพร ทวีบุตร, พัชราพร เกิดมงคล, และขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. (2560). ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. วารสารพยาบาลสาธารณสุขไทย, 31(1), 129-145.

เพ็ญศรี จะนู. (2561). ผลการใช้สื่อวีดีทัศน์เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดต่อระดับความรู้และความพึงพอใจในผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอก ห้องผ่าตัดหู คอ จมูก โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, 3(3), 47-65.

ยุวดี ชาติไทย, นภาพร วาณิชย์กุล, และสุชาดา ภัทรมงคลฤทธิ์. (2559). ผลของการให้คำแนะนำผ่านสื่อวีดิทัศน์และหุ่นสาธิตต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังผ่าตัดต้อกระจกของผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดจากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 36(2), 159-169.

สุธัญญา นวลประสิทธิ์, พวงเพชร วุฒิพงศ์, และกษิรา จันทรมณี. (2553). ผลการใช้สื่อวีดิทัศน์โปรแกรมการดูแลตนเองต่อความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกและญาติผู้ดูแล. วารสารการพยาบาล, 25(2), 78-86.

อมรรัตน์ สมมิตร, ชมนาด วรรณพรศิริ, และสุธาสินี ธรรมอารี. (2554). ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 5(2), 55-66.

อรุณรัตน์ รอดเชื้อ. (2555). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลราชวิถี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 28(2), 25-37.

อาภัทรสา เล็กสกุล (บ.ก.). (2561). จักษุวิทยา รามาธิบดี. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.