ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานยาและความร่วมมือในการรับประทานยาอะม็อกซีซิลลินของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

Main Article Content

ณัฐธิดา พวงพันธ์
ชนากานต์ คำภากุล
ชุดาพร กุระพอง
ยศพล เหลืองโสมนภา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานยาและความร่วมมือในการรับประทานยาอะม็อกซีซิลลินของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลของวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ปีการศึกษา 2559 ที่มีประวัติเคยรับยาอะม็อกซีซิลลิน จากห้องสุขภาพของวิทยาลัยพยาบาล จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานยาและความร่วมมือในการรับประทานยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานยาและความร่วมมือในการรับประทานยา โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยซ์ไบซีเรียล


          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความร่วมมือในการรับประทานยาอะม็อกซีซิลลินทั้งดีและไม่ดีในสัดส่วนที่เท่ากัน ความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานยาด้านการรับรู้ความจำเป็นของการรับประทานยามีคะแนนเฉลี่ย 16.94 ด้านความกังวลจากการรับประทานยามีคะแนนเฉลี่ย 14.18 (คะแนนเต็มด้านละ 25 คะแนน) ความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานยาด้านการรับรู้ความจำเป็นมีความสัมพันธ์ทางบวก ระดับปานกลาง กับความร่วมมือในการรับประทานยา (rpb = .326, p < .05) ส่วนด้านความกังวลจากการรับประทานยาไม่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรับประทานยา กลุ่มตัวอย่างที่มีความร่วมมือในรับประทานยาอะม็อกซีซิลลินดี มีค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้เกี่ยวกับความจำเป็นของการรับประทานยาสูงกว่ากลุ่มที่มีความร่วมมือในการรับประทานยาอะม็อกซีซิลลินไม่ดี


          จากผลการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่าอาจารย์ของวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ควรมีกิจกรรมทบทวนให้นักศึกษารู้ความจำเป็นที่ต้องรับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบตามเวลา เพื่อป้องกันผลเสียเรื่อง การดื้อยาต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรชัย มงคลชัยภักดิ์, จิรวัฒน์ รวมสุข, และเอมอร ชัยประทีป. (2555). การศึกษาความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการ ในร้านยาชุมชนจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 6(2), 91-100.

พิณทิรา ตันเถียร. (2552). อุปนิสัยการใช้ยาเองในคนไทย. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต, 19(4), 319-315.

ยศพล เหลืองโสมนภา, สาคร พร้อมเพราะ, สมบัติ เหลืองโสมนภา, และยุพาธร เสือเฒ่า. (2556). อิทธิพลของความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานยาต่อความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในระดับสูง. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า, 30(2), 146-157.

วิลาวัณย์ อุ่นเรือน, และดลวิวัฒน์ แสนโสม. (2558). พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นในอาการเจ็บคอ บาดแผลสะอาด ท้องร่วง. วารสารวิจัยสถาบัน มข., 3(3), 221-232.

ศูนย์วิทยบริการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2558). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะ. สืบค้นจาก https://elib.fda.moph.go.th/library/default.asp?page2=subdetail&id_L1 =27&id_L2=15517&id_L3=321

สุวัฒน์ ปริสุทธิวุฒิพร, และมัณฑนา เหมชะญาติ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการในโรงพยาบาลขลุง จังหวัดจันทบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 31(2), 114-127.
Donmez, S., Gungor, K., & Gov, P. (2018). Knowledge, attitude and practice of self-medication with antibiotics among nursing students. International Journal of Pharmacology, 14(1),136-143. doi: 10.3923/ijp.2018.138.143.

Horne, R. (1997). Representations of medication and treatnent: Advances in theory and measurement. In K. J. Petrie & J. A. Weinman (Eds.), Perceptions of health and illness: Current research and applications (pp. 155-188). London, UK: Harwood AcadeMic Publishers.

Horne, R., Weinman, J., & Hankins, M. (1999). The Beliefs about Medicines questionnaire: The development and evaluation of a new method for assessing the cognitive representation of medication. Psychology & Health, 14(1), 1-24.

Khamis, H. (2008). Measures of association How to choose?. Journal of Diagnostic Medical Sonography, 24(3), 155-162.

Schüz, B., Marx, C., Wurm, S., Warner, L. M., Ziegelmann, J. P., Schwarzer, R., & Tesch-Römer, C. (2011). Medication beliefs predict medication adherence in older adults with multiple illnesses. Journal of psychosomatic research, 70(2), 179-187. doi: 10.1016/j.jpsychores.2010.07.014.

Ventola, C.L. (2015).The antibiotic resistance crisis: Part 1 causes and threats .P&T, 40(4), 277–283.