ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการป้องกันอาการหอบหืดกำเริบซ้ำในผู้ป่วย ที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวจากโรคหอบหืดในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤต โรงพยาบาลสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันอาการหอบหืดกำเริบซ้ำ ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวจากโรคหอบหืดในหอผู้ป่วยวิกฤติเด็ก โรงพยาบาลสงขลา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลที่ให้การดูแลผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวจากโรคหอบหืด ในหอผู้ป่วยวิกฤติเด็ก โรงพยาบาลสงขลา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แนวปฏิบัติทางคลินิก เพื่อป้องกันอาการหอบหืดกำเริบซ้ำในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวจากโรคหอบหืด แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคหอบหืด แบบสอบถามความสามารถในการจัดการตนเอง และแบบบันทึกจำนวนครั้งของอาการหอบหืดกำเริบซ้ำ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น KR-20 เท่ากับ .818 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .989 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired sample t-test และ Wilcoxon Sign Rang Test ผลการวิจัยพบว่า
1. หลังการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันอาการหอบหืดกำเริบซ้ำในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวจากโรคหอบหืดในหอผู้ป่วยวิกฤติเด็ก โรงพยาบาลสงขลา ผู้ดูแลเด็กมีความรู้เกี่ยวกับโรคหอบหืด และความสามารถในการจัดการตนเองสูงกว่าก่อนใช้แนวปฏิบัติฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t =903, p < .001; t = 13.743, p < .001 ตามลำดับ)
2. หลังการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันอาการหอบหืดกำเริบซ้ำในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวจากโรคหอบหืดในหอผู้ป่วยวิกฤติเด็ก โรงพยาบาลสงขลา จำนวนครั้งของอาการหอบหืดกำเริบซ้ำต่ำกว่าก่อนใช้แนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -4.837, p < .001)
จากผลการวิจัยนี้ โรงพยาบาลและสถานบริการสุขภาพในเครือข่าย ควรนำแนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันอาการหอบหืดกำเริบซ้ำในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวจากโรคหอบหืด ไปปรับใช้ให้เข้ากับบริบทเพื่อลดภาระการดูแลของผู้แลและอาการกำเริบซ้ำจากโรคหอบหืด
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
พิกุล นันทชัยพันธ์. (2547). แนวคิดและกระบวนการปรับปรุงคุณภาพไปสู่ความเป็นเลิศด้วยการปฏิบัติตามหลักฐานอ้างอิง. ใน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, การประชุมวิชาการ การปรับปรุงคุณภาพด้วยการปฏิบัติตามหลักฐานอ้างอิง (น.12-18). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
โรงพยาบาลสงขลา. (2558). สรุปข้อมูลประจำปีของหอผู้ป่วยเด็กวิกฤติ (รายงานประจำปี). สงขลา: โรงพยาบาลสงขลา.
สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย. (2559). ร่างแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดในประเทศไทยสำหรับผู้ใหญ่ พ.ศ. 2559. ใน สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย, การประชุมวิชาการ ประจำปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย: Controversial Issues in Asthma 2016. (น.3). กรุงเทพฯ: สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย.
สัมฤทธิ์ ขวัญโพน. (2555). การพยาบาลครอบครัว. มหาสารคาม: วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม.
สินีนาฏ เนาว์สุวรรณ, และกิตติพร เนาว์สุวรรณ. (2560). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคหืด.วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 18(1), 28-38.
สิริรัตน์ ลีลาจรัส, และสุนารี เจียรวิทยากิจ. (2558). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีมโนภาพการรับรู้ความเจ็บป่วย Common Sense กับการดูแลและการให้คำแนะนำผู้ป่วยโรคหืด. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 29(3), 137-152.
สุนันท์ ขาวประพันธ์, ปรีย์กมล รัชนกุล, และสุวรรณา จันทร์ประเสริฐ. (2555). ผลของการดูแลสุขภาพที่บ้านต่อพฤติกรรมของครอบครัวในการดูแลเด็กโรคหืด. วารสารสภาการพยาบาล, 27(2), 108-121.
สุริยา ฟองเกิด, สรวงทิพย์ ภู่กฤษณา, และสืบตระกูล ตันตลานุกูล. (2559). บทบาทพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพครอบครัว บนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการครอบครัว. วารสาร มฉก.วิชาการ, 20(39): 133-142.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2556). ชุดความรู้สถิติ. นนทบุรี: สำนักวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข.
Cohen, J. (1977). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (Revised ed.). New York: Academic Press.
Forno, E., Fuhlbrigge, A., Soto-Quirós, M. E., Avila, L., Raby, B. A., Brehm, J., . . . Celedón, J. C. (2010). Risk factors and predictive clinical scores for asthma exacerbations in childhood. Chest, 138(5): 1156–1165. doi: 10.1378/chest.09-2426.
Global Initiative for Asthma. (2009). Global strategy for asthma management and prevention. Retrieved from https://www.ginasthma.org.
National Health and Medical Research Council. (1994). A guide to the development, implementation, and evaluation clinical practice guidelines. Retrieved from https://www.nhmrc.gov.au/publications/synopses/cp30syn.htm.
National Heart, Lung, and Blood Institute. (2007). National asthma education and prevention program. Retrieved from https://www.nhlbi.nih.gov/sites/ default/files/ media/docs/asthgdln_1.pdf.
Orem, D. E., Taylor, S. G., & Renpenning, K. M. (2001). Nursing: Concepts of practice (6th ed.). St.Louis: Mosby.
World Health Organization Regional Office South-East Asia. (2013). Regional Action Plan for the Prevention and Control of Noncommunicable Diseases (2013–2020). Retrieved from https://www.searo.who.int/entity/noncommunicable_diseases/ documents/sea-ncd-89(reduced).pdf?ua=1.