การพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดระยะลุกลามแบบประคับประคองที่บ้าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
มะเร็งปอดระยะลุกลาม เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ การรักษามะเร็งปอดระยะลุกลาม จนถึงเข้าสู่ระยะท้ายของโรคนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประคับประคอง ลดการลุกลามของโรค และบรรเทาความทุกข์ทรมาน
ในการดูแลผู้ป่วยนั้น ทีมสุขภาพต้องมีความรู้และความเข้าใจ มีสัมพันธภาพที่ดี สามารถประเมินความต้องการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณของผู้ป่วยและครอบครัวได้อย่างครอบคลุม จัดการตอบสนองความต้องการอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรมด้วยความเมตตาและเอื้ออาทร พยาบาลมีบทบาทในการเตรียมผู้ป่วยในการเข้าสู่ระยะท้ายของชีวิตและที่สำคัญคือ การเตรียมผู้ดูแลและครอบครัว ให้สามารถปรับตัวกับสภาพการเจ็บป่วยของผู้ป่วย 4 ด้าน คือ ด้านบทบาทหน้าที่ ด้านร่างกาย อัตมโนทัศน์ และการพึ่งพาอาศัยผู้อื่น เพื่อให้ผู้ดูแลมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
พยาบาลต้องประเมินและวางแผนการดูแลเป็นระยะกับทีมสุขภาพ โดยใช้ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะด้านการจัดการอาการ และทักษะด้านการวางแผนล่วงหน้า เพื่อให้การสนับสนุนการดูแลที่ต่อเนื่องและครบองค์รวม ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของการรักษาจนถึงระยะท้ายของโรค ทั้งนี้มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
ศรัณยา แสงมณี, มณี อาภานันทิกุล, และยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม. (2555). กรณีศึกษา: การปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ทำงานนอกบ้าน. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 18(1), 119-133.
ศุลีพร แสงกระจ่าง, ปิยวัฒน์ เลาวหุตานนท์, เอกภพ แสงอริยวนิช, และวทินันท์ เพชรฤทธิ์ (บ.ก.). (2561). ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: พรทรัพย์การพิมพ์. สืบค้นจาก https://www.nci.go.th/th/File_download/Nci%20Cancer%20Registry/HOSPITAL-BASED%202016%20Revise%204%20Final.pdf.
สุชาวดี รุ่งแจ้ง, และรัชนี นามจันทรา. (2559). การจัดการอาการในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 27(2), 43-57.
อรพรรณ ฟูมณีโชติ. (2560). เยี่ยมบ้านกับการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง. สงขลานครินทร์เวชสาร, 35(4), 399-406.
อรวิธู กาญจนจารี, ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม, และสุปรีดา มั่นคง. (2560). บทบาทและความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในสถานบริการที่มีการดูแลแบบประคับประคองโดยเฉพาะ. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 23(3), 328-343.
อาคม ชัยวีระวัฒนะ, เสาวคนธ์ ศุกรโยธิน, อนันต์ กรลักษณ์, และธีรวุฒิ คูหะเปรมะ. (2552). แนวทางการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคมะเร็งปอด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
Hudson, P., Thomas, T., Quinn, K., & Aranda, S. (2009). Family meetings in palliative care: Are they effective?. Palliative Medicine, 23(2), 150-157. doi: 10.1177/0269216308099960.
Huhmann, M., & Camporeale, J. (2012). Supportive care in lung cancer: Clinical update. Seminars in Oncology Nursing, 28(2), e1-10. doi: 10.1016/j.soncn.2012.03.009.
Mullen, C., & Thomas, J. (2009). End-of-life care: Common core competencies. British Journal of Healthcare Assistants, 3(10), 490-492.
Roy, C., & Andrews, H. A. (1999). The Roy adaptation model (2nd ed.). London: Appleton & Lange.
Temel, J., Greer, J., Muzikansky, A., Gallagher, E. R., Admane, S., Jackson, V. A., … Lynth, C. A. (2011). Early palliative care for patients with metastatic non-small-cell lung cancer. New England Journal of Medicine, 363(8), 733-742. doi: 10.1056/NEJMoa1000678.
World health organization. (2018). WHO definition of palliative care. Retrieve from http//www.who.int/cancer/palliative/definition/en.