การพยาบาลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีโรคร่วมและมีภาวะติดเตียงในชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ทำให้เกิดการตายและทุพพลภาพที่สำคัญ เป็นปัญหาที่มีความรุนแรงมากขึ้น ผู้ป่วยจำนวนมากเป็นโรคความดันโลหิตสูงโดยที่ไม่ทราบ เมื่อไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลว ไตวายเรื้อรัง หลอดเลือดสมองตีบหรือแตก อัมพฤกษ์ อัมพาต จากการศึกษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีโรคร่วมและมีภาวะติดเตียง พบว่าผู้ป่วยไม่มารับการรักษาตามนัด ติดตามเยี่ยมที่บ้าน พบผู้ป่วยรู้สึกตัวดี นอนบนเตียงไม้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ประสาน 1669 นำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล แพทย์รับไว้เป็นผู้ป่วยใน เนื่องจากมีการติดเชื้อที่แผลกดทับ รับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาล 8 วัน แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้
พยาบาลชุมชนได้รับการประสานร่วมวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วย เพื่อเตรียมตัวผู้ป่วย ญาติและผู้ดูแลก่อนกลับบ้าน โดยประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย การวางแผน และดำเนินการแก้ไข พยาบาลชุมชนจึงมีบทบาทการดูแลผู้ป่วยแบบผสมผสานเป็นองค์รวมและต่อเนื่อง เน้นการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพึ่งพาตนเอง สำหรับญาติและผู้ดูแลจะให้คำแนะนำปรึกษา สอนการทำแผล การดูแลผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวันช่วยเหลือในการออกกำลังกาย รวมถึงการติดตามและประเมินผล
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
จุฑาทิพย์ เทพสุวรรณ์, วีนัส ลีฬหกุล, และทิพา ต่อสกุลแก้ว. (2561). ผลของโปรแกรมป้องกันการเกิดซ้ำสำหรับโรคหลอดเลือดสมองผู้ป่วยในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จังหวัดนครปฐม. วารสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย, 17(1), 5-18.
ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, อลิสรา อยู่เลิศลบ, และอามีนะห์ เจะปอ. (2561). ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลกปี 2561. สืบค้นจาก https://www.thaincd.com/2016/news/announcement-detail. php?id=13251&gid=16.
ดารณี สุวพันธ์, และยิ่งสุมาลย์ อาจองค์. (2550). การฟื้นฟูสมรรถภาพหลังการเกิดอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมอง (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว. (2562). อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนและมารับการรักษาในเขตพื้นที่รับผิดชอบ. คลินิกหมอครอบครัวตำบลสระแก้ว โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว ปี 2560-2562. สืบค้นจาก https://skw.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php? source=pformated/format1.php&cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=6d0c58de6b948dd0eac3c736c7584b59
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2560). รายงานประจำปีสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2560. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. (2548). การประเมินผู้สูงอายุ. ใน วันดี โภคะกุล (บ.ก.), การดูแลรักษาโรคผู้สูงอายุแบบสหสาขาวิชา (น. 71-91). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
แสงหล้า พลนอก. (2552). การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อ. พิษณุโลก: โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.