การระบาดของเชื้อ Carbapenam – Resistant Enterobacteriaceae (CRE) ในหน่วยงานวิกฤตทารกแรกเกิด โรงพยาบาลปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการเฝ้าระวังการติดเชื้อในหน่วยวิกฤตทารกแรกเกิด โรงพยาบาลปทุมธานี ช่วงเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2561 พบว่า มีผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา Carbapenam–Resistant Enterobacteriaceae (CRE) จำนวน 3 ราย จึงได้มีการส่งตรวจเพาะเชื้อเสมหะและอุจจาระของผู้ป่วยทุกราย พบมีการติดเชื้อ CRE 8 ราย จากผู้ป่วยทั้งหมด 12 ราย เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการระบาดของเชื้อในหน่วยงาน จึงดำเนินการยืนยันการระบาด สอบสวนระบาด ทบทวนมาตรฐานการปฏิบัติงาน พบว่า การควบคุมและป้องกันการติดเชื้อไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และมีการรับผู้ป่วยเกินจำนวนเตียงและภาระงาน รวมทั้งศึกษาค้นคว้าเอกสารทางวิชาการ ขอคำปรึกษาจากคณะกรรมการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อของโรงพยาบาล จัดประชุมบุคลากรในหน่วยวิกฤตทารกแรกเกิดทุกระดับ เพื่อปรับเปลี่ยนแนวปฏิบัติการทำงานร่วมกัน เน้นมาตรฐานการล้างมือ จัดแบ่งเขตพื้นที่ผู้ป่วยติดเชื้อ จัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ให้เพียงพอ และเพิ่มอัตรากำลังพยาบาลเพื่อปฏิบัติงานในเขตพื้นที่แยกโรค ติดตามกำกับการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานอย่างเคร่งครัด ตลอดจนการเพิ่มช่องทางการสื่อสารของคณะทำงานติดตามเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อผ่านกลุ่มไลน์และกระดานสื่อสาร และ มีการติดตามในระบบเวชระเบียน
การติดตามผลลัพธ์ของการดำเนินงาน พบว่า สามารถควบคุมการระบาดในหน่วยวิกฤตทารกแรกเกิดได้ภายใน 5 เดือน ซึ่งมีผู้ป่วยที่ติดเชื้อและสัมผัสเชื้อก่อโรค รวม 59 ราย เสียชีวิต 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.17 ส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น 33 ราย และมีค่าใช้จ่ายการรักษาที่โรงพยาบาลรับผิดชอบ รวมเป็นเงิน 463,880 บาท ค่ารักษาเฉลี่ย 173,236.53 บาทต่อราย ค่ายาต้านจุลชีพเฉลี่ย 17,658.41 บาทต่อราย และมีจำนวนวันนอนเฉลี่ย 42 วันต่อราย
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
โรงพยาบาลปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. (2560). รายงานสถิติการติดเชื้อในโรงพยาบาล ประจำปี 2560โรงพยาบาลปทุมธานี (เอกสารอัดสำเนา). ปทุมธานี: โรงพยาบาลปทุมธานี.
สมหวัง ด่านชัยวิจิตร, ศิริวรรณ สิริกวิน, ปรีชา ตันธนาธิป, และคัคนางค์ นาคสวัสดิ์. (2550). คู่มือปฏิบัติเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบำราศนราดูร.
สถาบันบำราศนราดูร. (2557). แนวทางปฏิบัติการป้องกันและควบคุมเชื้อก่อโรคดื้อยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนา.
อะเคื้อ อุณหะเลขกะ. (2558). แนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง.
Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (2015). Carbapenem-resistant Enterobacteriaceae (CRE) Infection: Patient FAQs. Retrieved December 10, 2018, from https://www.cdc.gov/hai/organisms/cre/cre-clinicianfaq.html.
The CEC’s Healthcare Associated infections (HAI) Program. (2015). Prevention and management of carbapenem-resistant enterobacteriaceae in NSW hospital: Information for clinical. Clinical Excellence Commission. Retrieved December 8, 2018, from https://www.cec.health.nsw.gov.au/__data/assets/pdf_file/0009/258642/CRE-Fact-Sheet-2015-21-Sep-2015.pdf.