การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบการศึกษาย้อนหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์การใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินที่มารับบริการที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินของโรงพยาบาลของรัฐ ในเขตจังหวัดราชบุรี ด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉิน จำนวน 398 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสถานการณ์การใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน การรับรู้ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน และความคาดหวังต่อบริการการแพทย์ฉุกเฉิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินโดยการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
- สถานการณ์การใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน พบว่า การไม่เลือกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากความสะดวกในการใช้รถยนต์ส่วนตัว ร้อยละ 57.54 และอยู่ภาวะตกใจจึงไม่ได้นึกถึงรถพยาบาลฉุกเฉิน ร้อยละ 26.88 การรับรู้บริการการแพทย์ฉุกเฉินอยู่ในระดับมาก (M = 4.34, SD = .71) และความคาดหวังต่อบริการการแพทย์ฉุกเฉินอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.52, SD = .71)
- ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ การมีโรคประจำตัว การมีรถยนต์ส่วนตัวและการรับรู้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ส่วนความคาดหวังต่อบริการการแพทย์ฉุกเฉินไม่มีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน (p = .325)
จากผลการวิจัยข้างต้น หน่วยปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินทุกระดับ ควรให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลด้านการรับรู้บริการการแพทย์ฉุกเฉินกับประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะฉุกเฉิน รวมทั้งความพร้อมของการให้บริการฉุกเฉินทั้งทางด้านอุปกรณ์ช่วยเหลือและเจ้าหน้าที่บริการ
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
จิตรประไพ สุรชิต. (2560) การรับรู้และความคาดหวังต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลปากน้ำหลังสวน จังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 31(2), 271-278.
ณิชชาภัทร ขันสาคร, ทัศนีย์ ศิลาวรรณ, ทัศนีย์ รวิวรกุล, วิริณธิ์ กิตติพิชัย, และอุมาวดี เหลาทอง. (2559) การศึกษาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุ (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.
ณัชชา หาญสุทธิเวชกุล, บริบูรณ์ เชนธนากิจ, และบวร วิทยชำนาญกุล. (2556). เหตุใดคนเชียงใหม่เมื่อเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุจึงไม่เรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 8(2), 268-269.
ณัฐกฤษฎ์ ธรรมกวินวงศ์, สุเทพ สินกิตติยานนท์, นฤมล ปาเฉย, อรพรรณ มันตะรักษ์, และชนิดา เลิศพิทักษ์พงศ์. (2558). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลรัฐ เขตสุขภาพที่ 3 (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
ธงชัย อามาตยบัณฑิต. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการระบบการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉิน เร่งด่วนและวิกฤต ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 26(5), 883-895.
ธงชัย อามาตยบัณฑิต, นิพนธ์ มานะสถิตพงศ์, อินทนิล เชื้อบุญชัย, เสาวนีย์ โสบุญ, บดินทร์ บุญขันธ์ (2560). การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการในระบบการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 11(1), 37-46.
ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่อง ข้อกำหนดว่าด้วยสถานพยาบาล พ.ศ.2554. (2554, 4พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 128 ตอนพิเศษ 131 ง หน้า 36 สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2562 จาก https://ww.niems.go.th/th/Upload/file/25550110013831.pdf.
ประคอง กรรณสูต. (2535). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทยา ชาติบัญชาชัย, และไพศาล โชติกล่อม (2556). สถิติผู้ป่วยที่มาด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS Service) และผู้ป่วยที่มารับการรักษา ณ ห้องฉุกเฉิน (ER Visit) ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2554 (เอกสารอัดสำเนา). ขอนแก่น: ศูนย์อุบัติเหตุและวิกฤตบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น.
สงครามชัย ลีทองดี. (2556). การประเมินแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี 2553 – 2555 (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2558). คู่มือแนวทางการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่ กพฉ. กำหนด (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2559). แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ: ยูเนียน ครีเอชั่น จำกัด.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). แผนการพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3.1 พ.ศ.2562-2564 (ปรับปรุงจากแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2561 จาก https://www.niems.go.th/th/Upload/File/ 256112221455115037 _GWJdMn5ejp3gVAdc.pdf.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี. (2561). รายงานสถานการณ์การบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 3 ปีย้อนหลัง (เอกสารอัดสำเนา). ราชบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (1994). Consumer behavior (5th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Vroom, V. H. (1984). Work and motivation. Florida: Krieger Publishing.
World Health Organization: WHO. (2005). Prehospital trauma care systems. Geneva: World Health Organization.