ผลของโปรแกรมการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน โดยประยุกต์ทฤษฏีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและแรงสนับสนุนทางสังคม ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลอ่างทอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในคลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง จำนวน 30 คน คัดเลือกแบบเจาะจง โดยกลุ่มตัวอย่างได้เข้าร่วมโปรแกรมการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน ประกอบด้วยกิจกรรมการสอนสุขศึกษารายบุคคล สาธิตวิธีการวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง การให้ยืมเครื่องวัดความดันโลหิตไปวัดที่บ้าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกค่าความดันโลหิตและแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองและค่าเฉลี่ยความดันโลหิตก่อนและหลังการทดลอง โดยการทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงหลังจากได้รับโปรแกรมการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและแรงสนับสนุนทางสังคม มีค่าเฉลี่ยความดันโลหิตตัวบนและตัวล่างลดลง และมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
ผลการวิจัยนี้ สามารถใช้เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยในการจัดการตนเองตามลำดับขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพื่อการควบคุมความดันโลหิตสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในสถานบริการสุขภาพอื่นๆ ได้
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
กุลธิดา พานิชกุล, และอติพร สําราญบัว. (2556). การประยุกต์ใช้โมเดลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม(Transtheoretical model) เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกาย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา, 19(1), 66-76.
คลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center- HDC). (2560). กลุ่มรายงานมาตรฐาน Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM, HT,VCD) เขตสุขภาพที่ 4 จังหวัดอ่างทอง ปี 2560 (เอกสารอัดสำเนา). อ่างทอง: โรงพยาบาลอ่างทอง.
ณกมน มีธรรม. (2559). ผลของการควบคุมความดันโลหิตโดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอำเภอเมืองยโสธร. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 27(3), 452-459.
ปฐมธิดา บัวสม, ยินดี พรหมศิริไพบูลย์, และอติญาณ์ ศรเกษตริน.(2560). ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(4), 549–567.
ประเสริฐ ธนกิจจารุ.(2558). การรักษาความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. วารสารกรมการแพทย์, 40(5), 36-48.
ประหยัด ช่อไม้, และอารยา ปรานประวิตร. (2558). การศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์, 10(1), 15-24.
ยุภาพร นาคกลิ้ง, ทัศนีย์ รวิวรกุล, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์, และวราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2554). ผลของการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหารการออกกำลังกายและระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 28(1), 60–70.
วิชัย เอกพลากร (บ.ก.). (2557). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงพยาบาลอ่างทอง. (2560). สถิติการมารับบริการผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลอ่างทองจากโปรแกรม Home C ประจำปีงบประมาณ 2560 (เอกสารอัดสำเนา). อ่างทอง: โรงพยาบาลอ่างทอง.
สกลวัชร มนต์ไตรเวศย์. (2560). ความชุกของภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทและภาวะความดันโลหิตสูงหลบซ่อนในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในประเทศไทย: การศึกษาการวัดความดันโลหิตที่บ้านของคนไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. (2560).รูปแบบการบริการป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง สำหรับสนับสนุนการดำเนินงาน NCD Clinic Plus. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
เสรี ลาชโรจน์. (2537). หลักเกณฑ์และวิธีการวัดและการประเมินผลการศึกษาในโรงเรียน เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารและการจัดการวัดและประเมินผลการศึกษา หน่วยที่ 3. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Faul, E., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G* Power version 3.1.3: Tests for correlation and regression analysis. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160.
House, J. S. (1981). Work stress and social support. MA: Addison-Wesley Publication.
Prochaska, J. O., & DiClemente, C. C. (1983). Stages and processes of self-change of smoking: Toward an integrative model of change. Journal of Counseling and Clinical Psychology, 51(1), 390-395.
World Health Organization (WHO). (2013). A global brief on hypertension silent killer, global public health crisis. Retrieved July 30, 2018 from http://www.who.int/cardiovascular _diseases/publications/global_brief_hypertension/en/.