ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้การคิดเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้การคิดเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาล และความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนและการรับรู้ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่มีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้การคิดเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล จำนวน 196 คน ในปีการศึกษา 2558 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป การรับรู้การคิดเชิงวิเคราะห์ การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน และการรับรู้การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นโดยการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .78, .79, .79 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้การคิดเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาล อยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.89, SD = .38) การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน และการรับรู้การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้การคิดเชิงวิเคราะห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .29, .35, .51, p < .01 ตามลำดับ) ผลการวิจัย ชี้ให้เห็นว่า ผู้สอนควรพัฒนาโปรแกรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถตนเองด้านการเรียนของนักศึกษาพยาบาล
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
ชุติมา วัฒนะคีรี. (2561). ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(1), 101-110.
ธัญธิดา เหิมหัก, รณิดา เชยชุ่ม, และวัญญา วิศาลาภรณ์. (2555). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลกระทบกับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 6(12), 25-30.
เบ็ญจพร ภิรมย์, และสมศักดิ์ ลิลา. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 1(1), 63 -70.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพ: เทคนิค พริ้นติ้ง.
ประคอง กรรณสูต. (2535). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เรณูมาศ มาอุ่น. (2559). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(2), 169-176.
วิภาดา พินลา. (2559). กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูสังคมศึกษาในการพัฒนาการคิดวิเคราะห์สำหรับผู้เรียนในยุคศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 349-360.
สถาบันพระบรมราชชนก. (2554). แบบสอบถามการรับรู้การคิดวิเคราะห์. นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก.
สิทธิพล อาจอินทร์. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. วารสารวิจัยมข., 16(1), 72-82.
Best, J. W. (1997). Research in education (2nd ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.
Marzano, R. J. (2001). Designing a new taxonomy of educational objectives. California: Corwin Press.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publication.