การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอด ในงานบริการผู้ป่วยนอก

Main Article Content

ประเทือง ธราธรรุ่งเรือง

บทคัดย่อ

การแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในงานบริการผู้ป่วยนอกอาจมีผลทำให้บุคลากรสุขภาพและผู้รับบริการอื่น ๆ มีโอกาสติดเชื้อวัณโรคปอด ความล่าช้าในการวินิจฉัยและการรักษาจะเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคปอด บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอดในงานบริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลบางพลีประกอบด้วย การคัดกรอง การรักษา การพยาบาลและการป้องกันเพื่อไม่ให้มีการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคปอดโดยทบทวนวรรณกรรมและบทความงานวิจัยเกี่ยวกับวัณโรคปอด ทบทวนรายงานผลิตภาพทางการพยาบาลของงานบริการผู้ป่วยนอก   รายงานข้อมูลสถิติผู้รับบริการในคลินิกวัณโรคและอุบัติการณ์พนักงานเปลป่วยเป็นวัณโรคปอด ปี 2558-2560 รวมถึงทบทวนระบบบริการพยาบาลก่อนและหลังการปรับปรุงระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลบางพลี ตั้งแต่เริ่มเข้ารับบริการ คัดกรองวินิจฉัยและรักษาพยาบาล เช่นการใช้แบบประเมินสำหรับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจที่สงสัยว่าเป็นวัณโรคปอดการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและการฝึกอบรมบุคลากรเป็นต้น ผลการศึกษาพบว่าหลังปรับปรุงระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยนอก สามารถเพิ่มอัตราการค้นพบผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ลดความล่าช้าในการวินิจฉัยและคัดกรองวัณโรคปอด ลดความรุนแรงของโรค ได้รับจัดสรรงบประมาณทำห้องแยกโรค สำหรับผู้ป่วยนอกที่ได้มาตรฐานการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ  ลดการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคแก่บุคลากรสุขภาพและผู้รับบริการ รวมถึงเพิ่มความพึงพอใจของผู้รับบริการต่องานบริการพยาบาลผู้ป่วยนอก

Article Details

บท
กรณีศึกษา

References

นวลนิตย์ แก้วนวล และ เยาวลักษณ์ อำรำไพ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคในบุคลากรผู้ส่งมอบยาวัณโรค. (วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทางเภสัชกรรม), มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โรงพยาบาลบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. (2560). สถิติโรงพยาบาลบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. รายงานสถิติประจำปี 2560. อัดสำเนา.

วีระเดช สุวรรณลักษณ์. (2560, 30 สิงหาคม). วัณโรค. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก http://www. haamor.com.

ศศิประภา ตันสุวัฒน์. (2557). การพัฒนาแผนการดูแลทางคลินิกสำหรับการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลทั่วไป. วารสารพยาบาลสาร, 41(4), 1-8.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2556). แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ พ.ศ. 2556. กรุงเทพ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนปฏิบัติการระดับชาติ ด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560-2564.กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางการควบคุมวัณโรคในไทย พ.ศ.2561. กรุงเทพ: สํานักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

Kilinc, O., Ucan E.S., Cakan, M.D., Ellidokuz, M.D., Ozol, M.D, Sayiner, A & Ozsoz, M.D. (2002). Risk of tuberculosis among healthcare workers: can tuberculosis be considered as an occupational disease. Respiratory Medicine. 96(1), 506-510.

Orem, D. E., Taylor, S. G., & Renpenning, K. M. (2001). Nursing: Concepts of practice (6th ed.). St.Louis: Mosby, 47-49.