กรณีศึกษาผู้คลอดเฉพาะรายเรื่อง การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์แฝดที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรงและผ่าตัดคลอด

Main Article Content

รัตนา ด่านปรีดา

บทคัดย่อ

ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรง เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญพบได้บ่อย มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะชัก ถ้าไม่ได้รับการรักษาการดำเนินของโรคจะรุนแรงมากขึ้น ทำลายตับ ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของเอ็นไซม์ตับ ซึ่งจัดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากของหญิงตั้งครรภ์ เป็นสาเหตุการตายของมารดาและทารกโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้คลอดที่ภาวะเสี่ยง ด้วยอาการอื่นร่วมด้วยจากการศึกษา  ผู้คลอดครรภ์ที่ 2 ตั้งครรภ์แฝด อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรง แรกรับปากมดลูกเปิด 1 เซนติเมตร ได้รับยาป้องกันการชัก คือแมกนีเซียมซัลเฟต และยาลดความดันโลหิต
        พยาบาลผู้ดูแลเฝ้าคลอดจะต้องใช้ความรู้ ทักษะความชำนาญ ด้วยการประเมินที่รวดเร็วนำไปสู่การวินิจฉัยการวางแผน และปฏิบัติพยาบาลที่ครบถ้วน มีการประเมินซ้ำ ซึ่งทำให้พบว่าไม่มีความก้าวหน้าของการคลอด และเมื่อสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ จึงรายงานสูติแพทย์พิจารณาวางแผนการคลอดให้สิ้นสุดโดยเร็ว สูติแพทย์จึงพิจารณายุติการตั้งครรภ์โดยผ่าตัดคลอด พยาบาลต้องสร้างสัมพันธภาพที่ดี ให้ข้อมูลในเรื่องโรค ความก้าวหน้าของการคลอด แก่ผู้คลอดและญาติเป็นระยะ ทำให้ผู้คลอดและญาติเข้าใจ ให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลและดูแลตัวเองเป็นอย่างดี จึงทำให้ผ่านภาวะวิกฤติมาได้อย่างปลอดภัย จำหน่ายกลับบ้านพร้อมบุตรภายใน 5 วันของการคลอด  

Article Details

บท
กรณีศึกษา

References

กนกวรรณ ฉันธนะมงคล. (2556). การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรม นรีเวช และศัลยกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : จามจุรีโปรดักท์ จำกัด.

ฉวี เบาทรวง. (2555). การพยาบาลสตรีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์. ใน นันทพร แสนศิริพันธ์ และฉวี เบาทรวง (บรรณาธิการ), การพยาบาลผดุงครรภ์ เล่ม 3 สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน. เชียงใหม่ : ครองช่าง พริ้นท์ติ้ง จำกัด.

ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์. (2560). ครรภ์แฝด. ใน ประภัทร วานิชพงษ์พันธุ์, กุศล รัศมีเจริญ และตรีภพ เลิศบรรณพงษ์ (บรรณาธิการ), ตำราสูติศาสตร์. (หน้า 201-210). กรุงเทพฯ : ภาควิชาสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.

ตวงสิทธิ์ วัฒกนารา. (2560). ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์. ใน ประภัทร วานิชพงษ์พันธุ์, กุศล รัศมีเจริญ และตรีภพ เลิศบรรณพงษ์ (บรรณาธิการ), ตำราสูติศาสตร์. (หน้า 166-174). กรุงเทพฯ : ภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.

ปวิตร สุจริตพงศ์. (2560). สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอด. ใน ประภัทร วานิชพงษ์พันธุ์, กุศล รัศมีเจริญและตรีภพ เลิศบรรณพงษ์ (บรรณาธิการ), ตำราสูติศาสตร์. (หน้า 390-396). กรุงเทพฯ : ภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.

ปราณี ทู้ไพเราะ. (2556). คู่มือยา. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : NP Press Limited Partnership.

ปัญญา สนั่นพานิชกุล. (2558). ความเข้าใจและแนวคิดเกี่ยวกับภาวะครรภ์เป็นพิษในปัจจุบัน. ศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า ปีที่ 32 : 370-371.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2554). การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อน ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยเซนต์หลุยส์.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2558). การดูแลภาวะครรภ์เป็นพิษ. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน, 2560, จาก https://inspection.anamai.moph.go.th/storage/web/uploads/docs/ g1/ JP03_OB018_ManagementOfPreeclampsiaAndEclampsia.pdf

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์, สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2558). สถิติสาธารณสุขพ.ศ.2557. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

Cunningham, F.G., Leveno, K.L., Bloom, S.T., Spong, C.Y., Dashe, J.S., Hoffman, B.L., Casey, B.M., & Sheffield, J.S. (2014). Hypertensive disorders in pregnancy. In Williams Obstetrics (24th ed.). Boston: McGraw-Hi