การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

บุษยรัตน์ วงศ์วิริยะเวช
ณัฏฐพร จันทร์แสนโรจน์
ชุติมา เทียนชัยทัศน์

บทคัดย่อ

การศึกษาข้อมูลย้อนหลังครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี และเปรียบเทียบปริมาณเลือดที่ออกใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดและการเปลี่ยนแปลงระดับความเข้มข้นของเลือดในหญิงหลังคลอดที่มีสาเหตุการตกเลือดแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงหลังคลอด โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรีที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก เก็บข้อมูลระหว่าง เดือนตุลาคม 2557 – เดือนกันยายน2559 จำนวน 62 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที (Idependent t-test) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรีมากที่สุดคือ มดลูกหดรัดตัวไม่ดี คิดเป็นร้อยละ 75.8 และหญิงหลังคลอดที่ตกเลือดจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดีมีการเปลี่ยนแปลงระดับความเข้มข้นของเลือดหลังคลอดน้อยกว่าหญิงหลังคลอดที่ตกเลือดจากสาเหตุอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p< .01


โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรีควรพัฒนาแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก โดยเฉพาะการประเมินความเสี่ยงของการตกเลือดหลังคลอดจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี    ควรมีการวางแผนประเมิน ติดตาม และดูแลให้ผู้คลอดมีระดับความเข้มข้นของเลือดที่เหมาะสม 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บานเย็น แสนเรียม. (2554). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดจากภาวะมดลูกหดรัดตัวไม่ดี (Uterine atony) สําหรับบุคลากรในแผนกห้องคลอด โรงพยาบาลขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รสสุคนธ์ จันทร์ดาประดิษฐ์ และสร้อย อนุสรณ์ธีรกุล (2558).ประสิทธิภาพของการใช้ถุงพลาสติกแผ่นฟิล์มวัดปริมาณการสูญเสียเลือดหลังคลอด. ศรีนครินทร์เวชสาร,30(3), 270-275.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2558). แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การดูแลและรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอดจากมดลูกไม่หดรัดตัว. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2560 จาก https://inspection.anamai.moph.go.th/uploads/docs/g1/
JP04_OB019_ManagementOfAtonicPostpartumHemorrhage.pdf

โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี.เวชระเบียนผู้คลอด กลุ่มงานห้องคลอด โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี (2557- 2559). ม.ป.พ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. (2559). เอกสารประกอบการนำเสนอ service plan ส่วนราชการเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดเพชรบุรี พ.ศ.2559. ม.ป.พ.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2556). สถิติสาธารณสุข2556. กระทรวงสาธารณสุข : นนทบุรี.

Cunningham, F. G., Gant, N. F., Leveno, K. J., Gilstrap, L. C., Hauth, J. C. & Wenstrom, K. D. (2014). Williams Obstetrics. 24nd Edition. New York : McGraw - Hill.

Tort, J. , Rozenberg, P. , Traoré, M. , Fournier, P. & Dumont, A. (2015). Factors associated with postpartum hemorrhage maternal death in referral hospitals in Senegal and Mali: a crosssectional epidemiological survey. BMC Pregnancy and Childbirth. 15 (235): 1-9.

World Health Organization (WHO). (2012). WHO recommendations for the prevention and treatment of postpartum haemorrhage. Geneva: WHO. Retrieved January 20, 2016, from: https:// www. who.int/iris/bitstream/10665/75411/1/9789241548502_eng.pdf.