ความพึงพอใจต่อการออกกำลังกายโดยการใช้ท่ารำเท่งตุ๊กของผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลวังใหม่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ดาราวรรณ รองเมือง
ณัฐริกา บุญประเสริฐ
ดวงกมล พิศวงค์
ดารินทร์ สังระมาตร์
ธนิดา กันภัย
ธัญญรัตน์ ยมภักดี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาท่ารำเท่งตุ๊กที่เหมาะสมเพื่อการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการออกกำลังกายโดยใช้ท่ารำเท่งตุ๊ก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลวังใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยผ่านการตรวจสอบ    โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความพึงพอใจต่อท่ารำเท่งตุ๊กเพื่อการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ (CVI=0.98, Cronbach’s alpha=0.90) และ 2) วิดิทัศน์การออกกำลังกายโดยใช้ท่ารำเท่งตุ๊กสำหรับผู้สูงอายุ (CVI=0.83) และคู่มือการออกกำลังกายโดยใช้ท่ารำเท่งตุ๊กสำหรับผู้สูงอายุ (CVI=0.67 ) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า


1. ท่ารำเท่งตุ๊กที่เหมาะสมในการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุประกอบด้วย 12 ท่า ดังนี้ ท่าแม่ลาย ท่ากินรี ท่าแผลงศร ท่าสอดสร้อยมาลา ท่าช้างประสานงา ท่าชักแป้งผัดหน้า ท่าบัวบาน ท่าเเมงมุมชักใย ท่าผาลา ท่าโปรยดอกไม้ ท่าชักสายทอง (ขวา) และท่าชักสายทอง (ซ้าย) ท่าทั้งหมด จะส่งเสริมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและข้อ ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น


2. ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการออกกำลังกายโดยใช้ท่ารำเท่งตุ๊กในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.60, SD = 0.51)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัตติกา ธนะขว้าง, ผ่องใส กันทเสน, และรัตนากร ยศอินทร์. (2555). การพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกาย ด้วยการรำไม้พลองประยุกต์กับการฟ้อนมองเซิงเมืองน่านต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ. วารสารสภาการพยาบาล, 27(2), 81-93.

ธนยศ สุมาลย์โรจน์, และฮานานมูฮิบบะตุดดีน นอจิ สุขไสว. (2558). ผู้สูงอายุในโลกแห่งการทำงาน:มุมมองเชิงทฤษฎีทางกายจิตสังคม. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(1), 242-254.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บำเหน็จ แสงรัตน์, โรจนี จินตนาวัฒน์, และกนกพร สุคำวัง. (2552). ผลของการออกกำลังกายแบบฟ้อนเจิง มช. ต่อระดับไกลโคไซเลทฮีโมโกลบินในผู้สูงอายุ โรคเบาหวานชนิดที่ 2. พยาบาลสาร, 36(4), 59-72.

ประภาศรี ศรีประดิษฐ์. (2545). ละครเท่งตุ๊กในจังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพฯ: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.

พรศิริ พฤกษะศรี. (2551) . ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยลีลาศต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม. สงขลานครินทร์เวชสาร, 26(4), 323-337.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2560). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

เยี่ยม คงเรืองราช, ทวีลักษณ์ วรรณฤทธิ์, และนาดา ลัคนหทัย. (2555). ผลของการออกกำลังกายแบบฟ้อนหมอลำกลอนต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. พยาบาลสาร, 39(3), 105-116.

วิชนี จั่นมุกดา, และปิยะภัทร เดชพระธรรม. (2551). ผลการออกกำลังกายด้วยการรำไม้พลองป้าบุญมีแบบประยุกต์ต่อการทรงตัว ความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของผู้สูงอายุ. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร, 18(2), 59-64.

วิชัย เอกพลากร. (บรรณาธิการ). (2557). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

อัจฉรา แสนไชย, ลินจง โปธิบาล, และภารดี นานาศิลป์. (2554). ผลของการปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทย ชี่กงต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. พยาบาลสาร, 38(4), 65-80.

อัญชนา จุลศิริ, และเสรี ชัดแช้ม. (2557). การเพิ่มความจำขณะคิดในผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 7(1), 16-25.

อรทัย ชูเมือง, ศิริรัตน์ ปานอุทัย, และทศพร คำผลศิริ. (2556). ผลของการออกกำลังกายแบบโนราแขกต่อความดันโลหิตในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร, 40(1), 11-22.

อานันท์ รุ่งเรือง, และถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์. (2557). ผลของการฝึกออกกำลังกายด้วยการรำมวยไทยที่มีต่อสุขสมรรถนะและการทรงตัวของผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 15(3), 61-74.

Austrian, S. G. (2008). Developmental theories through the life cycle. New York: Columbia University Press.

Haskell, W. L., Lee, I-M., Pate, R. R., Powell, K. E., Blair, S. N., Franklin, B. A., ... Bauman, A. (2007). Physical activity and public health: Updated recommendation for adults from the American College of Sports Medicine and the American Heart Association. Circulation, 116(9), 1081-1093. doi: 10.1249/mss.0b013e3180616b27

Kim, S.H., Kim, M., Ahn, Y.B., Lim, H.K., Kang, S.G., Cho, J.H., Song, S.W. (2011). Effect of dance exercise on cognitive function in elderly patients with metabolic syndrome: A pilot study. Journal of Sports Science and Medicine, 10, 671–678.

The American College of Sports Medicine. (2006). ACSM’s guidelines for exercise testing and prescription. (7th ed.). Philadephia: Lippincott Williams & Wilkins.