การรับรู้เพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินก่อนวันฟอกเลือด ของผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้เพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มารับบริการที่หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 60 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดการรับรู้เพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิมีค่า CVI = .80 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.75 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดภาวะน้ำเกินอยู่ในระดับสูง ( = 2.59, S.D. = .30) การรับรู้ความรุนแรงของภาวะน้ำเกินอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.08, S.D. = .44) การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินอยู่ในระดับสูง ( = 2.67, S.D. = .30)
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
พิกุล สารารักษ์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรัง
ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยคริสเตียน, นครปฐม.
เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2535). วิจัยทางการพยาบาล: หลักการและกระบวนการ. สงขลา: อัลลายด์เพลส.
ภทรพรรณ อุณาภาค. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังของโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 10(2),44-54.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2558). ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service plan สาขาไต. สืบค้น 14 มีนาคม 2559 จาก https://bps.ops.moph.go.th.
หน่วยไตเทียมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา โรงพยาบาลนราธวาสราชนครินทร์. (2558). ทะเบียนผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. นราธิวาส: โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์.
อนุตตร จิตตินันทน์. (2547). Overview of pre-end stage kidney disease management in chronic kidney disease patients. ใน สมชาย เอี่ยมอ่อง, เกรียง ตั้งสง่า, และเกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์ (บรรณาธิการ), Practical Dialysis (หน้า 1341-1356). กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น.
Maiman, L.A., & Becker, M.H. (1974). The health belief model: Origin and correlates in psychological theory. Health Education Monographs, 2(4), 336-353. Retrieved from https://journals. sagepub.com/doi/abs/10.1177/109019817400200404.
Ong-ajyooth, L., Vareesangthip, K., Khonputsa, P., & Aekplakorn, W. (2009). Prevalence of chronic kidney disease in Thai adults: A national health survey. BioMedCentra, 10(35), 1-6.