ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ของผู้เลี้ยงดูเด็ก จังหวัดสงขลา

Main Article Content

ภควดี นนทพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์การรับรู้อุปสรรคของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยและอิทธิพลระหว่างบุคคล กับพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างคือผู้เลี้ยงดูเด็กในจังหวัดสงขลา จำนวน 96 คน คำนวณขนาดตัวอย่าง โดยใช้ G*Power สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้เลี้ยงดูเด็ก 2) การรับรู้ประโยชน์ของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 3) การรับรู้อุปสรรคของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 4) อิทธิพลระหว่างบุคคล และ 5) พฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดูเด็ก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .926, .885, .773 และ .825 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยการรับรู้ประโยชน์ของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.20, S.D.= .47) อิทธิพลระหว่างบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x}=2.70, S.D.= .39) การรับรู้อุปสรรคของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับน้อย ( gif.latex?\bar{x}=1.55, S.D.= .57) และพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดูเด็กอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x}= 3.97, S.D.= .47) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดูเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยและปัจจัยด้านอิทธิพลระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ในระดับต่ำ (r = .357, .298 ตามลำดับ) โดยที่ปัจจัยด้านการรับรู้อุปสรรคของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของ ผู้เลี้ยงดูเด็ก ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง (r = -.437) ดังนั้น จึงควรให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้าใจและร่วมกันหาแนวทางจัดการกับอุปสรรคของการส่งเสริมพัฒนาการของผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชบัญชา (2551). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2560). เชื่อมั่นเด็กไทยไอคิวดี อีคิวเด่น สืบค้น 10 ตุลาคม 2561 จาก https://www.rajanukul.go.th/new/index.php?mode=academic&group=357&id= 5748&date_start=&date_end=

กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: บริษัททีเอสอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). สถิติชวนใช้. กรุงเทพฯ: ไอคอนพริ้นติ้ง.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. (2560). ระบบสารสนเทศด้านข้อมูลสุขภาพจังหวัดสงขลา SIS. สืบค้น10 ตุลาคม 2561 จาก center2.skho.moph.go.th /sis/index.php?p=wecando62

รายงานมาตรฐานอนามัยแม่และเด็ก. (2560). สืบค้น 10 ตุลาคม 2561 จาก https://ska.hdc.moph.go.th /hdc/main/ index pk.php

ลาวัลย์ ทาวิทะ, พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น, และมาลี เอื้ออำนวย. (2559). พฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนดของผู้ดูแลหลักและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. พยาบาลสาร, 43(4), 12-22.

วันเพ็ญ มโนวงศ์. (2550). การรับรู้ประโยชน์ สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยหัดเดินของมารดา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2538) ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย: เรื่องง่าย ๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้. วารสารข่าวสารการวิจัยการศึกษา, 18(3), 8-10.

สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์. คู่มือการส่งเสริมพัฒนาการสำหรับผู้ปกครอง. สืบค้น 10 ตุลาคม 2561 จาก https://www.thaichilddevelopment.com/images/doc/Ebook1.pdf

องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย (2016). การเสริมสร้างสมองที่ดีกว่าขยายขอบเขตของความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย. สืบค้น 10 ตุลาคม 2561 จาก https://www.unicef.org/thailand/ sites/unicef.org.thailand/files/2018-06/Building-better-brains-TH.PDF

Hair, F. J., Black, C.W., Babin, J.B., & Anderson, E.R. (2010). Multivariate data analysis. 7thed. New Jersey: Pearson Education.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2011). Health promotion in nursing practice. 6th ed.. New Jersey: Prentice-Hall.

Wiersma, W., & Jurs, S.G. (2009). Research method in education: An introduction. 9th ed. Massachusettd: Pearson Education.