การพยาบาลผู้ป่วยโรคเนื้อเน่าที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด:กรณีศึกษา 2 ราย
บทคัดย่อ
การพยาบาลผู้ป่วยโรคเนื้อเน่าที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด: กรณีศึกษา 2 ราย
วิภา หาทอน พย.ม.*
บทคัดย่อ
บทนำ โรคเนื้อเน่า เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียของเนื้อเยื่ออ่อนที่รุนแรง รวดเร็ว อัตราการเสียชีวิตสูง การวินิจฉัยแม่นยำ ให้ยาปฏิชีวนะและผ่าตัดรวดเร็วช่วยลดความพิการและอัตราการเสียชีวิต
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคเนื้อเน่าที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด
วิธีวิจัย : กรณีศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยโรคเนื้อเน่าที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด 2 ราย โดยใช้ กระบวนการพยาบาลตามแนวคิด FANCAS
ผลการศึกษา ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่เหมือนกัน คือ 1) ช็อกจากการติดเชื้อ 2)เนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน 3)การติดเชื้อซ้ำ 4)น้ำเกินและของเสียคั่ง 5)น้ำตาลในเลือดต่ำ 6)ภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ 7)ซีด 8)ปวดแผล 9)ได้รับสารอาหารน้อยกว่าความต้องการ 10)การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันบกพร่อง 11)วิตกกังวล ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ต่างกัน 3 ข้อ คือ 1)พร่องความรู้การดูแลตนเอง 2)เสี่ยงต่อภาวะเลือดออกง่าย 3)สูญเสียภาพลักษณ์ ผลลัพธ์การพยาบาล กรณีศึกษาที่ 1 ทุกปัญหาได้รับการแก้ไขและกลับบ้านได้ กรณีศึกษาที่ 2 เสียชีวิต
การนำไปใช้ประโยชน์ นำไปพัฒนาเป็นมาตรฐานและแนวปฏิบัติการพยาบาล คู่มือการนิเทศทางคลินิก และศึกษาผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคเนื้อเน่าที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ
คำสำคัญ โรคเนื้อเน่า ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด กระบวนการพยาบาล FANCAS
*พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ กลุ่มภารกิจด้านพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลขอนแก่น หรือบุคลากรในโรงพยาบาลแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว