กรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่มีการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีและได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนอัตราการไหลสูง: กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
เด็กโรคปอดอักเสบ, การรักษาด้วยออกซิเจนอัตราการไหลสูง, การพยาบาลบทคัดย่อ
ความเป็นมา โรคปอดอักเสบเป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนล่างที่เกิดจากเชื้อจุลชีพ ส่งผลให้มีการอักเสบของเนื้อปอด ทำให้ผู้ป่วยเด็กขาดออกซิเจน มีภาวะหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตตามมาได้
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่ได้รับการรักษาด้วยออกซิเจนอัตราการไหลสูง (Heated Humidified High Flow Nasal Cannula: HHHFNC)
วิธีดำเนินการศึกษา เป็นกรณีศึกษาผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แผนปัจจุบันว่าเป็นโรคปอดอักเสบ ซึ่งได้รับการรักษาด้วยออกซิเจนอัตราการไหลสูงจำนวน 2 ราย ประเมินภาวะสุขภาพตามกรอบแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน กำหนด ข้อวินิจฉัยการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาล และประเมินผล
ผลการศึกษา กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย มีข้อวินิจฉัยการพยาบาลขณะอยู่รักษาในหอผู้ป่วยเด็กเล็ก ทั้งหมด 6 ข้อ เรียงลำดับความสำคัญ ได้แก่ 1) การแลกเปลี่ยนก๊าซบกพร่องเนื่องจากพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง 2) แบบแผนการหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีเสมหะอุดกั้นทางเดินหายใจ 3) มีการติดเชื้อที่ปอด เนื่องจากเสมหะคั่งค้าง และการอักเสบของ เนื้อปอด 4) ไม่สุขสบายเนื่องจากมีไข้ 5) มีโอกาสเกิดภาวะไม่สมดุลของสารน้ำในร่างกาย เนื่องจากมีไข้สูง รับประทานได้น้อย และหายใจหอบเหนื่อย และ6) บิดามารดา มีความวิตกกังวลเนื่องจากการเจ็บป่วยของบุตร กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย ได้รับ การดูแลผ่านพ้นระยะวิกฤต อาการดีขึ้น และจำหน่ายจากโรงพยาบาลได้ จำนวนวันนอนในโรงพยาบาล รายที่ 1 และ 2 เท่ากับ 7 วัน และ 8 วัน ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะ การรักษาด้วยออกซิเจนอัตราการไหลสูงในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวแบบเฉียบพลัน สามารถป้องกันการใส่ท่อช่วยหายใจรายใหม่และป้องกันการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ ดังนั้นพยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้ ทักษะความชำนาญ และติดตามอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
References
Cantais, Aymeric et al. Epidemiology and Microbiological Investigations of Community-Acquired Pneumonia in Children Admitted at the Emergency Department of a University Hospital. Journal of Clinical Virology 2014; 60(4): 402–407.
สำนักระบาดวิทยา. Pneumonia [ออนไลน์] 2558 [อ้างเมื่อ 2 กันยายน 2566] จาก
http://doe.moph.go.th/surdata/disease.php?dcontent=situation&ds=31
สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็ก ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางการดูแลรักษา โรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจเด็ก พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด.; 2562.
วนิดา แสนพุก, สุดใจ ศรีสงค์, เพ็ญจุรี แสนสุริวงศ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ.
วารสารกองการพยาบาล 2563; 47(1): 153-172.
Leung, A. K.C, Wong, A, H.C. & Hon, K. L. Community-Acquired Pneumonia in Children. Recent Patents on Inflammation & Allergy Drug Discovery 2018; 12(2): 136-144.
อัมพาภรณ์ เตชธนางกูร. คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวที่ได้รับการรักษาด้วยการใช้เครื่องให้ออกซิเจนผสมอากาศอัตราการไหลสูงทางจมูก. กรุงเทพฯ: งานการพยาบาลอายุรศาสตร์และจิตเวชศาสตร์ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช. 2563.
Kwon, J. W. High-Flow Nasal Cannula Oxygen Therapy in Children: A Clinical Review. Clinical and Experimental Pediatrics 2020; 63(1): 3–7.
Mayfield, S. A. Evidence for the use of high flow nasal cannula therapy for respiratory management in pediatric units. Dissertation. [serial online] 2015 [cited 2023 Sep 3] Available from https://doi.org/10.14264/uql.2015.781
Frat, J., P., Coudroy, R., Marjanovic, N., & Thille, A. W. High-flow nasal oxygen therapy and noninvasive ventilation in the management of acute hypoxemic respiratory failure. Annual of Translational Medicine 2017; 5(14): 289-297.
อำพันธุ์ พรมีศรี, ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล, พรพรรณ เมตไตรพันธ์, กรรณิการ์ ศรีพระราม. ประสิทธิผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก สำหรับผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนที่มีอัตราการไหลสูง ในโรงพยาบาลสมุทรปราการ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2562; 29(3): 118-130.
ฟาริดา อิบราฮิม. ปฏิบัติการพยาบาลตามกรอบทฤษฎีการพยาบาล. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.
อัชฌาณัฐ วังโสม, ฐิตินันท์ วัฒนชัย. การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวแบบเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยออกซิเจนอัตราการไหลสูง: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2564; 18(2): 123-132.
ฉัตรกมล ชูดวง, อัจจิมาวดี พงศ์ดารา. ผลการใช้ High Flow Nasal Cannula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบาก. ในงานวิจัย R2R. นครศรีธรรมราช: กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช; 2562.
เพชร วัชรสินธุ์. High-flow nasal cannula O2 therapy. THAI JOURNAL OF CRITICAL CARE MEDICINE 2560; 25(2): 32-36.
เยาวภา จันทร์มา, สุพรรณ วงค์ตัน, วรรณา สุธรรมา, อำพร กอรี. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยทารกและ เด็กวิกฤตที่ได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนที่มีอัตราการไหลสูง โรงพยาบาลนครพิงค์. พยาบาลสาร 2564; 48(3): 290-304.
กชกร เพียซ้าย. การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น I. นครราชสีมา: สาขาแพทย์พยาบาลเด็กและเยาวชน สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2555. หน้า 38.
สุทธินี สุปรียาพร, พัชราภรณ์ อารีย์, สุธิศา ล่ามช้าง. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเด็กโรคปอดอักเสบซ้ำ. พยาบาลสาร 2560; 48(4): 146-159.
กรมอนามัย. สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก [ออนไลน์] 2565 [อ้างเมื่อ 12 กันยายน 2566]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ กลุ่มภารกิจด้านพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลขอนแก่น หรือบุคลากรในโรงพยาบาลแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว