กรณีศึกษา การพยาบาลมารดาตั้งครรภ์ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและมีภาวะอ้วน : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
์Nursing care for pregnancys, Caesarean section,Obesity
บทคัดย่อ
การพยาบาลมารดาตั้งครรภ์ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและมีภาวะอ้วน
: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
อัจฉรา พรลักษณพิมล1
บทคัดย่อ
บทความวิชาการกรณีศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล มารดาตั้งครรภ์ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและมีภาวะอ้วน (Nursing care for pregnancys after caesarean section with obesity) จำนวน 2 ราย โดยรายที่ 1 มารดาตั้งครรภ์ที่ 2 เคยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องมาก่อน ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและทำหมัน มีโรคร่วมคือภาวะอ้วน มีภาวะแทรกซ้อนมดลูกไม่หดรัดตัว และรายที่ 2 มารดาตั้งครรภ์ที่ 2 เคยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องมาก่อน ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้า มีโรคร่วมคือภาวะอ้วน ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ใช้แบบประเมินภาวะสุขภาพตามกรอบแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอนเป็นเครื่องมือในการศึกษาผลการศึกษาพบว่า ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่เหมือนกัน ได้แก่ 1) มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัด 2) รายที่ 1 มีภาวะอ้วนระดับ 2 รายที่ 2 มีภาวะอ้วนระดับ 3 เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง 3) เสี่ยงต่อภาวะมดลูกแตก 4) เสี่ยงต่อการขาดน้ำและอาหาร 5) เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดหน้าท้อง 6) ไม่สุขสบายจากการปวดแผลผ่าตัดหน้าท้อง 7) เสี่ยงต่อการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ 8) มีความวิตกกังวลเนื่องจากน้ำนมมาน้อย 9) ทำกิจวัตรประจำวันได้น้อยหลังผ่าตัดจากอาการเพลียและปวดแผลผ่าตัด 10) พักผ่อนได้น้อยเนื่องจากต้องดูแลบุตร ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่แตกต่างกัน คือรายที่ 1 พบว่า 1) เสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอด ส่วนในรายที่ 2 พบว่า 1) มีอาการท้องผูก การพยาบาลที่สำคัญสำหรับกรณีศึกษาทั้ง 2 ราย ได้แก่ ให้คลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัด ไม่ให้แผลผ่าตัดติดเชื้อ ลดอาการปวดแผล ไม่ให้ติดเชื้อจากการใส่การใส่ Foley’s catheter ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัดจากภาวะอ้วน ได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอ ทำกิจวัตรประจำวันหลังผ่าตัดได้ มีน้ำนมเพียงพอสำหรับเลี้ยงบุตร ส่วนการพยาบาลที่แตกต่างนั้น ในรายที่ 1 ไม่ให้มีภาวะตกเลือดหลังคลอด ส่วนรายที่ 2 มีการขับถ่ายปกติ ข้อเสนอแนะในการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ คือใช้เป็นแนวทางปฎิบัติการพยาบาล และมาตรฐานการพยาบาลมารดาตั้งครรภ์ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและมีภาวะอ้วน
คำสำคัญ : การพยาบาลมารดาตั้งครรภ์, ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง,ภาวะอ้วน
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น
Coresponding Author Achara Pornluxanapimol, Email: acharapornsun@gmail.com
References
บรรณานุกรม
คาล่าร์, ลักเนอร์. (2552). การวางแผนการพยาบาลมารดาและทารก. (คณาจารย์สถาบันบรมราช .
ชนก ผู้แปล)(งามนิตย์ รัตนานุกูล บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จันทร์เพ็ญ สัตนวาจา, อภิญญา เพียรพิจารณ์, รัตนาภรณ์ ศิริวัฒน์ชัยพร. (2553). แนวคิดพื้นฐาน
ทฤษฎีและกระบวนการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการ วิชาการสถาบันพระ
บรมราชชนก.
ชวนพิศ วงศ์สามัญ. (2560).การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการพยาบาล. ขอนแก่น : ขอนแก่นการ
พิมพ์
พรศิริ พันธสี.2561.กระบวนการพยาบาล & แบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก พิมพ์ครั้งที
กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พิมพ์อักษร.
ฟาริดา อิบราฮิม. ปฏิบัติการพยาบาลตามกรอบทฤษฎีการพยาบาล.2554.กรุงเทพมหานคร:
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ฟมาณี ปิยะอนันต์ และคณะ. (2543). สูติศาสตร์. กรุงเทพฯ :พีเอลีฟวิ่ง.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศิลปชัย ฟั่นพะยอม,กรรณิการ์ กันธะรักษา และฉวี เบาทรวง. (2557). การทบทวนวรรณกรรมอย่าง
เป็นระบบเกี่ยวกับการจัดการอาการเหนื่อยล้าในสตรีหลังคลอด.วารสารพยาบาลสาร, 41(3),60- 69.
สตรีรัตน์ ธาดากานต์, ทัศนีย์ พฤกษาชีวะ และอดิเทพ เชาว์วิศิษฐ์. (2555). การรับรู้ภาวะสุขภาพของ
ตนเองและของทารกในสตรีที่มีภาวะอ้วนร่วมกับเบาหวานและหรือความดันโลหิตสูง.วารสาร
พยาบาลบาลรามาธิบดี, 16, 185-199.
Aekplakorn, W., & Mo-suwan, L. (2009). Prevalence of obesity in Thailand. Obesity
Reviews, 10, 589-592.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ กลุ่มภารกิจด้านพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลขอนแก่น หรือบุคลากรในโรงพยาบาลแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว