บทความวิชาการ การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบครบวงจร

บทคัดย่อ ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายมีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคองควบคู่กับการรักษาหลักเนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย มีความทุกข์ทรมานจากการเจ็บปวด และอาการไม่สุขสบายต่างๆ เป็นการดูแลที่มีความซับซ้อน ซึ่งต้องตอบสนองทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อให้ผู้ป่วยเหล่านี้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถเผชิญกับอาการเจ็บป่วยและความทุกข์ทรมาน จวบจนวาระท้ายของชีวิต การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย และเพื่อศึกษาผลลัพธ์การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายในโรงพยาบาลขอนแก่น โดยใช้แนวคิดพัฒนาคุณภาพ PDCA 4 ขั้นตอนของเดมมิ่ง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ แพทย์ 7 คน พยาบาลปฏิบัติการ 26 คน ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย 60 คน ผู้ดูแลหลัก 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1.เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แนวทางการคัดกรองและแนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย คู่มือการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายสำหรับญาติ คู่มือการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายสำหรับพยาบาล แนวทางการบริหารยา Opioid และแนวทางการส่งต่อในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย 2.เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง และแบบประเมินความพึงพอใจในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายเข้าถึงบริการแบบประคับประคองเพิ่มขึ้น 24.25% 3.ผู้ป่วยระยะท้ายได้รับยา Strong Opioid บรรเทาอาการทุกข์ทรมานลดลง มากกว่า 50% ภายใน 48-72 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 73.44 ผู้ป่วยระยะท้ายและครอบครัวได้รับการวางแผนดูแลล่วงหน้า คิดเป็นร้อยละ 75 และได้รับการส่งต่อเครือข่าย คิดเป็นร้อยละ 95 ความพึงพอใจของครอบครัวต่อการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายอยู่ในระดับมาก ( x ̅ = 4.61, SD ± 0.58) ความพึงพอใจของผู้ให้บริการต่อการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายอยู่ในระดับมาก ( x ̅ = 4.50, SD ± 0.48) สรุปได้ว่าการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบครบวงจร ทำให้ผู้ป่วยระยะท้ายได้รับการดูแลแบบประคับประคองตามมาตาฐานจนถึงวาระสุดท้าย และผู้ป่วยระยะท้ายเข้าถึงการดูแลรักษาแบบประคับประคองจากทีมสุขภาพ ครอบครัว ชุมชน ผู้ป่วยระยะท้ายและครอบครัวได้รับข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ และมีส่วนร่วมในการวางแผนดูแลล่วงหน้า

ผู้แต่ง

  • srisuda srimongkol -

คำสำคัญ:

The development system, Palliative Care, The End of Life Cancer Patients

บทคัดย่อ

ABSTRACT

The development of Palliative Care in End of Life Can

 

cer Patients :

A comprehensive of caring

Srisuda   Srimongkon*,  Petcharaporn   Prasarncham*,

Supakorn  Siritemkul**

 

The end stage cancer patients are needed for Palliative care along with main treatment because they have suffering from pain and discomfort due to several symptoms. The patients encounter physical, mental and spiritual sufferings which needed for complex caring to achieve good life quality and be confronted with illness and sufferings in the end of their life.This research aimed to develop and study the effect of Palliative care for end-of-life cancer patients at Khon Kaen Hospital by using 4 steps of Deming cycle: PDCA palliative care concept. The sample group was doctors 7, 26 registered nurse practitioner level, 60 end stage cancer patients and 60 primary care givers of patients. Tools used in this study were the end stage cancer patients screening and caring guideline ,the end stage cancer patients caring handbooks for neighborhoods and nurses, Opioid medical administration handbooks and Guidelines for referring end patients . tools for evaluating the outcome were semi-structured interview, palliative care form and the end stage cancer patient care providers’ satisfaction survey form.  The results found that the end stage cancer patients can reach out palliative care more than 24.25 percent, the end stage cancer patients got Opioid for decreased pain as 73.44 percent, end stage cancer patients and family got advance care plan as 75, palliative care connection referral system as 95 percent, family's satisfaction for the end stage cancer patients care was at a high level (=4.61, SD±0.58) and the end stage cancer patient care providers’ satisfaction was at a high level (=4.50, SD±0.48). The research was concluded that the development of comprehensive caring for the end stage cancer patients enhanced patient were treated with palliative care until the end of life, the end stage cancer patients can reach out palliative care from health care team, family and community, the end stage cancer patients and their families got the effective information and participated in advance planning.

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. ค้นเมื่อ 11 มกราคม 2561

จาก https://www.skko.moph.go.th/dward/document_file/perdev/common_form_upload_

file /20150316154846_2129601774.pdf

ชุติกาญจน์ หฤทัย และคณะ.(2559).ระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคอง. พิมพ์ครั้งที่ 2

สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข: สื่อตะวัน.

ชัลวาลย์ เรืองประพันธ์. (2558). สถิติพื้นฐาน. ขอนแก่น : ภาควิชาสถิติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทัศนีย์ เทศประสิทธิ์ และคณะ. (2556). การพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะท้าย

ของโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 23(1), 80-88

ธิดารักษ์ รัตนมณี. (2556). คู่มือการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานประกันคุณภาพการศึกษา. ค้นเมื่อ 14

ตุลาคม 2560 จาก doc.arch.mju.ac.th/wp-Content/Up loads/2012/11/e-mange.pdf

พิมพ์พนิต ภาศรี, แสงอรุณ อิสระมาลัย และอุไร หัถกิจ. (2559). ความต้องการการช่วยเหลือของ

ครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย. วารพยาบาลสงขลานครินทร์, 35(2), 79-91

รัชนีวรรณ คูตระกูล และคณะ. (2561). การพัฒนาระบบการจัดการความปวดในผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม.

วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(1),189-196

ฝ่ายแผนงานและสารสนเทศโรงพยาบาลขอนแก่น. (2559). รายงานสถิติข้อมูลผู้ป่วยประจำปี.

โรงพยาบาลขอนแก่น: ขอนแก่น

วราภรณ์ อ่อนอนงค์. (2562). ผลของโปรแกรมการดูแลระยะท้ายของชีวิตที่สงบต่อการรับรู้การตายสงบ

ในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่ได้รับยาเคมีบำบัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิเชียร ศรีมุนินทร์นิมิต. (2552). ทำความรู้จักกับโรคมะเร็งกันเถอะ. พิมพ์ครั้งที่ 1 : มะเร็งวิทยา

สมาคมแห่งประเทศไทย.

วัชรพงษ์ รินทระ. (2561). Palliative care cloud : การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการดูแลแบบ

ประคับประคอง โรงพยาบาลขอนแก่น. ค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2560 จาก www.healtharea.net/wp-

Content/Up loads/2016/05.

สมจิตร ประภากร และคณะ. (2558). การพัฒนาระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคองในผู้ป่วย

มะเร็งที่เข้ารับการรักษาในสถาบันมะเร็งแห่งชาติ. วารสารกองการพยาบาล, 42(3), 50-68

สุนีย์ ณีศะนันท์. (2562). การรักษาที่ไม่เกิดประโยชน์ในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลามที่อยู่ในโรงพยาบาล.

สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร, 16(1),1-10

ศรีรัตน์ มากมาย, พรรณี สิทธิโน และสีดา พรมรินทร์. (2561). ผลของแผนการดูแลแบบประคับประคอง

ที่บ้านในผู้ป่วยมะเร็งตับระยะลุกลาม. วารสารโรคมะเร็ง, 28(2),45-5

WHO. Palliative care : Global Health Observatory ; 2018 [2018 Jul 4]. Available from :

https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/palliative-care

เผยแพร่แล้ว

2023-02-01 — Updated on 2023-02-01

Versions