กรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุโรคต้อกระจกที่ได้รับการผ่าตัดและมีโรคร่วม : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • Ratchaneekorn Manusilp -

บทคัดย่อ

ต้อกระจก เกิดจากการขุ่นของเลนส์แก้วตา ทำให้การมองเห็นไม่ชัด ตามัว หรือตาบอดได้หากไม่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดใส่เลนส์ตาเทียม การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การพยาบาลครอบคลุมแบบองค์รวม เพื่อวางแผนการพยาบาลและการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน และเพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุโรคต้อกระจกที่ได้รับการผ่าตัดและมีโรคร่วม มีข้อจำกัดในชีวิต และมีปัญหาอุปสรรคในการดูแลตนเอง จำนวน 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยพิเศษสงฆ์ 2 โรงพยาบาลขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตอาการ การสอบถาม และการศึกษาจากการประเมินสภาพ ตรวจร่างกาย ประวัติการเจ็บป่วย ประวัติการรักษา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการรักษาพยาบาล ผลการศึกษา พบว่า กรณีศึกษาที่ 1 ได้รับการวินิจฉัยเป็นต้อกระจกตาข้างขวา มีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโขมันในเลือดสูง ได้รับการผ่าตัดใส่เลนส์ตาเทียม ผู้ป่วยอาศัยอยู่เขตชุมชนเมือง ต้องดูแลสามีป่วยเป็นอัลไซเมอร์ มีเวลาดูแลตัวเองน้อย ส่วนกรณีศึกษาที่ 2 ได้รับการวินิจฉัยเป็นต้อกระจกตาข้างขวา มีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน ได้รับการผ่าตัดใส่เลนส์ตาเทียม ผู้ป่วยอาศัยอยู่เขตชนบท ต้องดูแลหลานที่พิการทางสมอง มีเวลาดูแลตัวเองน้อย สำหรับการพยาบาลก่อนและหลังผ่าตัดใส่เลนส์ตาเทียมที่มีโรคร่วม และรักษาพยาบาลครอบคลุมองค์รวม ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น กรณีศึกษาที่ 1 ต้องเพิ่มการพยาบาลผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อภาวะความดันภายในลูกตาสูง เนื่องจากมีกระจกตาบวมเล็กน้อยภายหลังการผ่าตัด และภายหลังจากให้การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกขณะรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยให้การพยาบาลตามกระบวนการพยาบาลและประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการพยาบาลครอบคลุมแบบองค์รวม การวางแผนจำหน่ายโดยใช้หลัก DMETHOD ผู้ป่วยและญาติคลายความวิตกกังวล พร้อมผ่าตัด ให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน สามารถกลับไปใช้ชีวิตในชุมชนได้ พร้อมกับได้รับการดูแลช่วยเหลือจากชุมชนทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท โดยมีภาคีเครือข่ายสุขภาพร่วมดูแลเป็นอย่างดี สามารถดูแลตนเองและบุคคลที่อยู่ภายใต้การดูแลของตนได้อย่างเหมาะสม

References

ขวัญตา เกิดชูชื่น และสุจินตา ริมศรีทอง. (2540). การพยาบาลจักษุวิทยา เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี.

งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ. (2556). โรคของแก้วตา ตำราจักษุวิทยา สำหรับนิสิตแพทย์และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป.กรุงเทพฯ: ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จันทร์เพ็ญ สันตวาจา. (2554). แนวคิดพื้นฐาน ทฤษฎี และกระบวนการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

เปรมจิต เศาณานนท์ (บ.ก.). (2559). จักษุจุฬา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี จำกัด.

พรศิร พันธสี. (2555). กระบวนการพยาบาล & แบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์อักษร จำกัด.

ภาควิชาจักษุวิทยาคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาลมหาวิยาลัยมหิดล. (2552). จักษุจุฬา. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นต์ จำกัด.

ภาควิชาจักษุวิทยาคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย. (2556). ตำราจักษุวิทยาสำหรับนิสิตแพทย์ และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป. กรุงเทพมหานคร : บริษัทพิมพ์ดี จำกัด.

วันดี โภคะกุล. (2554). โรคตาในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

วัฒนีย์ เย็นจิตร และคณะ. (2550). รายงานผลการสำรวจสภาวะตาบอดสายตาเลือนรางโรคตาที่เป็นปัญหาสาธารณสุข ครั้งที่ 4 ในประเทศไทย, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ และโกศล คำพิทักษ์. (2551). ตำราจักษุวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.

ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ และกิตติชัย อัครพิพัฒน์กุล. (2551). ตำราพยาบาลเวชปฏิบัติทางตา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 Clinical Practice Guideline for Diabetes 2017.ปทุมธานี: บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด.

เอื้องพร พิทักษ์สังข์. (2554). การพยาบาลและหัตการทางตา กรุงเทพมหานคร โครงการตำราศิริราช. สำนักงานรองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิยาลัยมหิดล.

อังคณา เมธีไตรรัตน์ และรจิต ตู้จินดา. (2552).“ต้อหิน” ในจักษุวิทยา. ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทย์ ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิยาลัยมหิดล. บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน).

American Academy of Ophthalmology. (2017). Basic and clinical science course section 11: Lens and Cataract.

Charoenlotongdee, J. (2013). Nursing Care If Glaucoma Caused from Phacomorphic and Diabetic Retinopathy: Case Study. From http://www.ayhosp.go.th.

Eye Disease Prevalence Research Group (EDPRG). (2004). Prevalence of cataract and pseudophakia/aphakiaamong adult in the United State. Arch Ophthalmol.

Kamphaeng Phet Hospital Staff. (2017). Journal of Kamphaeng Phet Hospital. No.1 (in Thai). Retrieved May 8, 2020. From https://www.kph.go.th/html/attachments/article/2060.

Tabin, G., Chen, M., & Espandar, L. (2008). Cataract Surgery for the Developing World. 19(1), 55-59.

Kantang Hospital. (n.d.). Glaucoma. (in Thai). Retrieved May 26, 2020 From http://kantang-hospital.go.th.

เผยแพร่แล้ว

2023-02-01 — Updated on 2023-02-01