กรณีศึกษา การพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะหายใจลำบาก: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • นิศานาถ ชีระพันธุ์ -

คำสำคัญ:

กระบวนการพยาบาล ทารกเกิดก่อนกำหนด ภาวะหายใจลำบาก

บทคัดย่อ

การพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะหายใจลำบาก: กรณีศึกษา

Nursing Care for Preterm Infants with Respiratory Distress: Case Study

นิศานาถ ชีระพันธุ์ พย.ม.*

บทคัดย่อ

บทนำ ภาวะหายใจลำบากเป็นภาวะที่พบได้มากในทารกเกิดก่อนกำหนด ส่งผลให้ทารกมีภาวะหายใจล้มเหลวตามมาได้

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะหายใจลำบาก

วิธีการศึกษา เป็นกรณีศึกษาทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะหายใจลำบากตั้งแต่แรกเกิด จำนวน 2 ราย วิเคราะห์เปรียบเทียบการใช้กระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน

ผลการศึกษา ทารกทั้ง 2 ราย มีภาวะหายใจลำบาก โดยมีปัจจัยมีจากภาวะปอดอักเสบแต่กำเนิดร่วมกับการเกิดก่อนกำหนด ผลการวิเคราะห์ข้อมูลภาวะสุขภาพและปัญหาสุขภาพของทารกและครอบครัว พบว่ามีข้อวินิจฉัยการพยาบาลเหมือนกันทั้งหมด 6 ข้อ ได้แก่ 1) มีภาวะหายใจลำบากจากการแลกเปลี่ยนก๊าซบกพร่อง 2) มีภาวะอุณหภูมิกายต่ำ 3) มีการติดเชื้อในร่างกาย 4) มีโอกาสเกิดภาวะไม่สมดุลของสารน้ำสารอาหาร 5) มารดาบิดาไม่สามารถปรับตัวต่อความเครียดได้ และ 6) มารดาบิดายังไม่มีความพร้อมในการดูแลบุตรที่เกิดก่อนกำหนด ผลลัพธ์การพยาบาลพบว่าทุกปัญหาได้รับการแก้ไข ทารกทั้ง 2 ราย ได้รับการดูแลรักษาจนกระทั่งอาการดีขึ้น และจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลได้

การนำไปใช้ประโยชน์ ผลการศึกษานำไปพัฒนาต่อเป็นมาตรฐานการพยาบาล แนวปฏิบัติการพยาบาล คู่มือนิเทศทางคลินิก และการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาการใช้กระบวนการพยาบาลในทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะหายใจลำบากได้

คำสำคัญ กระบวนการพยาบาล ทารกเกิดก่อนกำหนด ภาวะหายใจลำบาก

*พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น

References

Pirunnet T. Approach to respiratory emergency in neonates. In: Punnahitanon S, Ngerncham S, Limrungsikul A, Tongsawang N. editors. Critical condition in neonates. Bangkok: Active Print; 2016. p. 327-358.

Chankao C. Neonatal nursing. 2nd ed. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House; 2017.

Reuter S, Moser C, Baack M. Respiratory distress in the newborn. Pediatric in review [Internet]. 2014 Oct [cited 2021 Sep 8]; 35(10): 417-429. Available from: DOI: https://doi.org/10.1542/pir.35-10-417

Kiatchoosakun P. Approach to respiratory distress in neonates. In: Punnahitanon S. editors. Practical approaches for neonatal problems. Bangkok: Active Print; 2015. p. 167-181.

Tongsawang N. Assessment of respiratory distress in neonates. In: Punnahitanon S. editors. Practical approaches for neonatal problems. Bangkok: Active Print; 2015. p. 216-227.

Punthasee P. Nursing process & functional health pattern: application in clinical practice. 22nd ed. Samut Prakan: Faculty of Nursing Hauchiew Chalermprakiet University; 2021

Swatesutipun B. Blood gases interpretation. In: Khositseth A, Poomthavorn P, Limrungsikul A, Pongmee P, Anantasit N. editors. Ramathibodi handbook of PICU & NICU. Bangkok: Department of Pediatrics, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University; 2018. p. 180-182.

Wongsamun C, Shokebumroong K. Laboratory and Nursing Examinations. 21th ed. Khon Kaen: Khon Kaen Printing; 2015.

Nuntnarumit P. Hyperbilirubinemia. In: Khositseth A, Poomthavorn P, Limrungsikul A, Pongmee P, Anantasit N. editors. Ramathibodi handbook of PICU & NICU. Bangkok: Department of Pediatrics, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University; 2018. p. 143-145.

Jirapaet K. Thermal care of the neonates. In: Punnahitanon S. editors. Smart practical in neonatal care. Bangkok: Active Print; 2020. p. 361-385.

Pirunnet T. Feeding practices in preterm infants. In: Punnahitanon S. editors. Practical points and updates in neonatal care. Bangkok: Active Print; 2019. p. 275-308.

Karnati A, Kollikonda S, Abu-Shaweesh J. Late preterm infants - changing trends and continuing challenges. International Journal of Pediatrics and Adolescent Medicine [Internet]. 2020 [cited 2021 Sep 8]; 7(1): 38-46. Available from: https://doi.org/10.1016/j.ijpam.2020.02.006

Varolan V. Nursing care for respiratory distress in newborn. In: Punnahitanon S. editors. Practical approaches for neonatal problems. Bangkok: Active Print; 2015. p. 236-241.

เผยแพร่แล้ว

2023-02-01