การเสริมความเข้มแข็งของทุนทางสังคมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
การเสริมความเข้มแข็ง, ทุนทางสังคม, ชุมชน, การดูแลผู้สูงอายุ, Strengthening, Social capital, community, Caring for the elderlyบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาใช้การศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบเฉพาะ เป้าหมายเพื่อศึกษาการเสริมความเข้มแข็งของทุนทางสังคมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุโดยใช้วิธีการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม สัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม แบ่งการศึกษาข้อมูล 3 ระยะ คือ 1) ระยะศึกษาบริบทชุมชน 2) ระยะศึกษาการจัดการการสร้างเสริมความเข้มแข็งของระบบการพัฒนา การเสริมความเข้มแข็งของทุนทางสังคม และ 3) ระยะสังเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) การเสริมความเข้มแข็งของทุนทางสังคมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ 1. การให้ความหมายของทุนทางสังคม 2. การเสริมสร้างความเข้มแข็ง 3. ระบบการจัดการทุนทางสังคม 4. กระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของทุนทางสังคมของชุมชน โดยใช้ “ใจแลกใจ” 2) การเสริมสร้างความเข้มแข็ง ใช้หลัก “ใจได้ใจ คิดและดู” 3) ระบบการจัดการทุนทางสังคมการเสริมความเข้มแข็งของทุนทางสังคมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ ชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน ใช้หลัก “ใจตรึงใจ” และ 4) ปัจจัยเงื่อนไขใช้แนวทาง “ใจมัดใจ” วิธีการ “ใจถึงใจ”
STRENGTHENING OF THE COMMUNITY SOCIAL CAPITAL FOR CARE OF THE AGED
Abstract
The study uses specialized ethnographic studies. The goal is to study the strengthening of the social capital by using participatory observation methods. In depth interview and group discussion from social capital. Study data in 3 stages. The research findings were as follows: 1) Strengthening the social capital of the community in the care of the elderly by using the "spirit of mind" 2) Strengthening the "mind and mind" 3) Social capital management, A strong community It is an important mechanism for the development of community development, using "mind and heart" and 4) conditioning factor "Heart to heart" how to "mind the heart"
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ห้ามผู้ใดนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพไปเผยแพร่ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ การนำบทความไปเผยแพร่ออนไลน์ การถ่ายเอกสารบทความเพื่อกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอน การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น ยกเว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ