ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ในชุมชน
คำสำคัญ:
โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ในชุมชนบทคัดย่อ
บทคักย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ในชุมชน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จากรายงานการตรวจสุขภาพประจำปีของผู้สูงอายุในชุมชน ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์จากดัชนีมวลกาย ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสมเด็จย่า 84 ตำบลบึงน้ำรักษ์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี กลุ่มละ 35 ราย กลุ่มทดลองเข้าโปรแกรม 4 ครั้ง และตามเยี่ยมบ้าน ใช้เวลา 18สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับความรู้ตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร แบบสอบถามการเสริมสร้างพลังอำนาจ และแบบสอบถามพฤติกรรมกรบริโภคอาหาร สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ T-test independent และ Paired T-test
ผลวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้พลังอำนาจต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารสูงกว่าก่อนใช้โปรแกรม และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.000) และภายหลังการใช้โปรแกรม กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมสูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรม และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.000)
The Effectiveness of Empowerment Promoting Program on Food Consumption Behaviors of Overweight Elderly in Community
The purpose of this quasi-experimental research was to study the effectiveness of empowerment promoting program on food consumption behaviors of overweight among elderly in community. Research were multistage stage sampling from health report of overweight among elderly in Somdejyah 84 promoting hospital, Buengnamrak Sub-District, Thunyaburi District, Pathum Thani Province. Two groups of elderly, thirty five (35) each, were assigned into one experimental group and one control group. The experimental group received the home visit and empowerment program four (4) times in eight teen (18) weeks, while the control group received routine education. The research instruments were the empowerment program on food consumption behaviors, the perceived empowerment questionnaire and a set of questionnaires on food consumption behaviors. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test independent and pair t-test.
The results showed that the subjects in the experimental group significantly improved their empowerment after participating in the empowerment program on food consumption behaviors and the level was significantly higher than that of the control group (p < 0.000). After the experiment, the mean score on perceived empowerment program on food consumption behaviors, was also significantly higher than that of control group (p < 0.000).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ห้ามผู้ใดนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพไปเผยแพร่ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ การนำบทความไปเผยแพร่ออนไลน์ การถ่ายเอกสารบทความเพื่อกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอน การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น ยกเว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ