ผลของการดูแลผิวหนังบริเวณที่ได้รับรังสีรักษาด้วยวิธีที่แตกต่างกันต่อการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ
คำสำคัญ:
radiotherapy, skin reaction, skin care, head and neck cancerบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการดูแลผิวหนังบริเวณที่ได้รับรังสีรักษา 3 วิธีต่อการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 45 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองที่ 1 คือกลุ่มที่ทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำและสบู่อ่อน กลุ่มทดลองที่ 2 ทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำ และกลุ่มควบคุมให้ป้องกันผิวหนังไม่ให้ถูกน้ำ จำนวนกลุ่มละ 15 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบประเมินการเปลี่ยนแปลงผิวหนังบริเวณที่ได้รับรังสีรักษา วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติการทดสอบครุสคัล-วอลลิส และการทดสอบยูของแมนน์-วิทนี ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มที่ดูแลผิวหนังบริเวณที่ได้รับรังสีรักษาโดยการทำความสะอาดด้วยน้ำและสบู่อ่อน มีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มที่ทำความสะอาดด้วยน้ำ และกลุ่มที่ป้องกันผิวหนังไม่ให้ถูกน้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001 และ p <.0001) รวมทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังช้าที่สุด
Abstract
This experimental research aimed to compare the effects of skin care in the irradiated area using 3 methods on skin reaction in head and neck cancer. Forty-five samples were randomly assigned to the experiment groups, 1 cleaned skin with water and mild soap, the experiment groups, 2 cleaned skin with water only and the control group protected the skin getting wet, 15 patients in each group. The research instruments were the skin change assessment scale. Data were analyzed using Kruskal-Wallis test and Mann-Whitney U-test. Results showed significantly different of fewer skin changes in the group of patients who cleaned the irradiated area with mild soap and water than the group of patients who cleaned with water, and protected the irradiated area from water to get wet (p <.001 and p <.0001). and one has the slowest skin change.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ห้ามผู้ใดนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพไปเผยแพร่ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ การนำบทความไปเผยแพร่ออนไลน์ การถ่ายเอกสารบทความเพื่อกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอน การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น ยกเว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ