Trauma Profile of Patients Receiving Care at the Emergency Department of Jigme Dorji Wangchuk National Referral Hospital (JDWNRH) Thimphu, Bhutan (ประมวลข้อมูลการบาดเจ็บของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลจากแผนกฉุกเฉิน ของโรงพยาบาลรับ-สงตอแหงชาติจิกมี ดอจิ วังชุก ทิมพู-ภูฏาน)
คำสำคัญ:
trauma profile, emergency department, Bhutan ประมวลข้อมูลการบาดเจ็บ. แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาล, ภูฏานบทคัดย่อ
The purpose of this cross-sectional study is to describe the trauma profi le of patients receiving care at the emergency department of JDWNRH, Thimphu, Bhutan, during the months of February to March, 2011. One hundred and forty patients participated in this study. There were 61.4% males and 38.6% females, ages ranged from 1 year to 100 years (mean=29.44, SD=18.55). The three most common causes of injury were fall (35%), road traffi c injury (27.1%), and assault (23.6%). The most common place of injury was at home (42.1%), and the most common type of injury was fracture (53.5%). For psychological needs, 92% of patients were worried about their pains. Contact with someone (such as families and signifi cant others) was important social needsexpressed by 68.6% of the patients. The important social need was expressed by 68.6% of the patients, contact with families and signifi cant others. Spiritual needs were based on traditional practices and beliefs for 38.2% of the patients. Future study for a period of one year was recommended to get a more complete picture of trauma patients receiving care at the emergency department.
การศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายประมวลข้อมูลการบาดเจ็บของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลจากแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลรับ-ส่งต่อแห่งชาติจิกมี ดอจิ วังชุก ทิมพู-ภูฏาน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2554 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 140 คน ร้อยละ 61.4 เป็นเพศชาย และร้อยละ 38.6 เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 1 ปี ถึง 100 ปี (mean =29.44, SD=18.55) สาเหตุของการบาดเจ็บที่พบบ่อย 3 อันดับแรก คือ พลัดตกจากที่สูงร้อยละ35 อุบัติเหตุจราจรร้อยละ 27.1 และการถูกทำร้ายร้อยละ 23.6 สถานที่ที่ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บมากที่สุดคือที่บ้านร้อยละ 42.2 ชนิดของการบาดเจ็บที่พบมากที่สุดคือกระดูกหักร้อยละ 53 สำหรับความต้องการด้านจิตใจ ผู้ป่วยร้อยละ 92 มีความกังวลใจเกี่ยวกับอาการปวด ด้านความต้องการทางสังคม ผู้ป่วยร้อยละ 68.5 ต้องการให้ติดต่อกับครอบครัวและคนใกล้ชิดของพวกเขา ร้อยละ 38.2 ต้องการการดูแลด้านจิตวิญญาณด้วยวิธีการพื้นบ้านตามความเชื่อของตน ควรมีการศึกษาวิจัยให้ครบระยะเวลา 1 ปี เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับภาพของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ได้รับการดูแลที่แผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน แห่งนี้
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ห้ามผู้ใดนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพไปเผยแพร่ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ การนำบทความไปเผยแพร่ออนไลน์ การถ่ายเอกสารบทความเพื่อกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอน การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น ยกเว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ