Spirituality of Sick Buddhist Monks (จิตวิญญาณของพระภิกษุอาพาธ)
คำสำคัญ:
Spirituality, sick Buddhist monks, hermeneutic phenomenology, ultimate goal of life จิตวิญญาณ พระภิกษุอาพาธ ปรากฏการณ์วิทยาตีความ จุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตบทคัดย่อ
This study aimed to explain the meanings and the need of spirituality according to experiences of sick Buddhist monks. A qualitative research based on hermeneutic phenomenology was conducted. Twelve sick Buddhist monks in the Luang Pu Man Phuritatto ward, Faculty of Medicine Khon Kaen University were purpo-sively selected for the study. Data were collected by in-depth-interviews, non-participant observation and note taking. Data analysis was conducted following the guideline of Dikelmann (1992). The results reflected in the meanings of spirituality by sick Buddhist monks experiences was composed of five themes. 1) A sense of con-nectedness. 2) The wisdom mind. 3)The ultimate goal of life. 4) Mind and Spirit. 5) Mind and Consciousness (Vinnana) as the five aggregates (Khan5). The sick Buddhist monks reflected on two themes of spiritual need. 1) The need to comply with Buddhist ways. 2)The need of secured mind. The findings of study reveals a new body of knowledge concerning of the meanings and the need of spirituality according to experiences of sick Buddhist monks and provide foundation for nurses in planning and managing care accordance with the meaning and the need of spirituality of sick Buddhist monks. Furthermore, the finding of study can be a database for further explore for greater understanding and development of a body of knowledge regarding spiritual in sick Buddhist monks.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความหมายและความต้องการด้านจิตวิญญาณตามประสบการณ์ของพระภิกษุอาพาธ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาตีความ ผู้ให้ข้อมูลเป็นพระภิกษุอาพาธ ที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลสงฆ์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำานวน 12 รูป เลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำาหนด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการจดบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอนของไดคีลแมน ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นความหมายของจิตวิญญาณตามประสบการณ์ของพระภิกษุอาพาธทั้งหมด 5 แก่นสาระ ดังนี้ 1) สิ่งที่เป็นที่พึ่งและยึดเหนี่ยวจิตใจ 2) จิตที่เป็นปัญญา 3) จุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต 4) จิตและดวงวิญญาณ และ 5) จิตและวิญญาณในขันธ์ 5 สำาหรับประสบการณ์ความต้องการด้านจิตวิญญาณ พระภิกษุอาพาธสะท้อนความต้องการด้านจิตวิญญาณทั้งหมด 2 แก่นสาระ ดังนี้ 1) ความต้องการการปฏิบัติตามมรรควิถีแห่งพุทธ และ 2) ความต้องการที่พึ่งทางใจ ผลจากการศึกษานี้ได้องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับความหมายและความต้องการด้านจิตวิญญาณตามประสบการณ์ของพระภิกษุอาพาธ อันจะเป็นแนวทางสำาหรับพยาบาลในการวางแผนและจัดรูปแบบการดูแลที่สอดรับกับความหมายและความต้องการด้านจิตวิญญาณของ พระภิกษุอาพาธ นอกจากนี้แล้วยังเป็นข้อมูลพื้นฐานสำาหรับการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านจิตวิญญาณของ พระภิกษุอาพาธให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ห้ามผู้ใดนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพไปเผยแพร่ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ การนำบทความไปเผยแพร่ออนไลน์ การถ่ายเอกสารบทความเพื่อกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอน การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น ยกเว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ