การปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวที่มีบุคคลโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ณ อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ Nursing Practice for Family with End Stage Renal Disease person at Nong Hong district, Buri Ram province.

ผู้แต่ง

  • Nootcharee Phimkore Khonkaen University Factory of Nursing Family nurse

คำสำคัญ:

การปฏิบัติการพยาบาล บุคคลโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้อง ครอบครัว Nursing Practice, End Stage Renal Disease person, Family

บทคัดย่อ

การปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวที่มีบุคคลโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ณ อำเภอหนองหงส์  จังหวัดบุรีรัมย์

บทคัดย่อ

การศึกษาอิสระนี้เป็นการศึกษารายกรณีเพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของบุคคลและครอบครัวการปฏิบัติการพยาบาลและผลลัพธ์การปฏิบัติการพยาบาลครอบครัว โดยประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาลครอบครัว แนวคิดการจัดการสุขภาพครอบครัว และการดูแลแบบประคับประคอง ผู้เข้าร่วมการศึกษาคือบุคคลโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง และสมาชิกในครอบครัวที่อยู่ในตำบลห้วยหิน อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ 4 ครอบครัว เวลาที่ศึกษาครอบครัวละ 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมินการจัดการสุขภาพครอบครัวที่มีบุคคลโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องที่ผู้ศึกษาพัฒนาขึ้น ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สังเกต และประเมินภาวะสุขภาพ รวมทั้งประเมินภาวะซึมเศร้า และคุณภาพชีวิต โดยใช้เครื่องมือของกรมสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ความถี่  

ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาความต้องการของบุคคลฯคือ 1) มีภาวะทุกข์ทรมานจากอาการของโรค    2) ติดเชื้อที่ปลายสายยางและช่องท้อง 3) มีภาวะซึมเศร้า 4) คุณภาพชีวิตไม่ดี 5) มีพฤติกรรมการจัดการสุขภาพไม่เหมาะสมในด้านอาหาร ออกกำลังกาย การใช้ยาและการรักษา การจัดการความเครียด และการป้องกันการติดเชื้อ ด้านครอบครัวพบว่า 1) บทบาทในครอบครัวหนักเกินไป 2) กลัวสูญเสีย 3) จัดการบทบาทหน้าที่ในครอบครัวไม่เหมาะสม 4) ขาดความรู้และทักษะในการจัดการสุขภาพบุคคลเจ็บป่วยด้านอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยาและการรักษา การจัดการความเครียด และการป้องกันการติดเชื้อ  การปฏิบัติการพยาบาล ได้แก่ 1) บรรเทาอาการทุกข์ทรมานจากโรค 2) สอนทักษะการป้องกันการติดเชื้อ 3) ประคับประคองด้านจิตอารมณ์ 4) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 5) สาธิตการล้างไต 6) ให้ความรู้โรคไตและแนวทางการจัดการสุขภาพ 7)ให้คำปรึกษาครอบครัว 8) ประชุมครอบครัว 9) มอบคู่มือดูแลผู้ป่วยโรคไต 10) พัฒนาเครือข่ายดูแลในชุมชน  

ผลลัพธ์พบว่า 1) บุคคลจัดการอาการทุกข์ทรมานได้ 2) ภาวะซึมเศร้าลดลงและคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น 3) มีทักษะในการจัดการพฤติกรรมสุขภาพ 4) ภาวะเครียดลดลง 5) ยอมรับและเตรียมพร้อมต่อการสูญเสีย 6) จัดการบทบาทหน้าที่ครอบครัวได้ และ 7) มีเครือข่ายดูแลในชุมชน จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวโดยประยุกต์ใช้แนวคิดจัดการสุขภาพครอบครัว กระบวนการพยาบาลครอบครัว และการดูแลแบบประคับประคอง ช่วยให้เข้าใจปัญหาและความต้องการของครอบครัวได้อย่างเฉพาะเจาะจง ดูแลและสนับสนุนให้ครอบครัวและบุคคลสามารถจัดการสุขภาพได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น  อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาติดตามระยะยาว  เนื่องจากภาวะสุขภาพและการจัดการด้านสุขภาพของครอบครัวมีความเป็นพลวัตร แนวทางการปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวจึงต้องมีการพัฒนาเพื่อให้ตอบสนองปัญหาและความต้องการอย่างต่อเนื่องและได้ผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ดีต่อไป

Nursing Practice for Family with End Stage Renal Disease person at Nong Hong district,  Buri Ram province.

Abstract

The purpose of this independent study is: 1) exploring problems and needs of persons and families 2) describing the family nursing practice and outcomes. Family Nursing Process, Family Health Management, and Palliative Care Concepts were applied. The participants were 4 persons with End Stage Renal Disease with Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis and their families at Huay Hin, Nong Hong district, Buri Ram province.  Each family was studied continuously for four weeks. The study tools consisted of: Family Health Management Assessment Form that was developed by the researcher and be validated for content validity by 3 experts. Interviewing, observation and health assessment were done for collecting data. Depression and Quality of Life Assessment of Mental Health Division were used. Content analysis was used to analyze qualitative data. Quantitative data was analyzed by descriptive statistic; number and frequency.

The result revealed that problems and needs of persons were: 1) suffering from symptom distress, 2) infection at dialysis tube and peritoneum, 3) depression, 4) poor Quality of Life, 5) inappropriate health management behavior: food, exercise, drug using, treatment, stress management, and infection control. In part of families, the data showed that: 1) role over load, 2) fear of loss, 3) poor family role and function management, and 4) lack of knowledge and skills of health management for ill persons regarding to food, exercise, drug using, treatment, stress management, and infection control.  In term of nursing practice for the persons and families, the study displayed as follows: 1) alleviating symptom distress, 2) teaching of infection control skill, 3) providing emotional support, 4) modifying health behavior and home environment, 5) demonstrating peritoneal dialysis technique, 6) providing knowledge of disease and health management, 7) counseling individual and family, 8) family meeting for improving family function and role, 9) giving family handout, and 10) strengthening community supporting network. 

Outcomes of the nursing practice: 1) improving personal symptom management skill, 2) decreasing depression and improving Quality of Life, 3) increasing skill of health management, 4) reducing stress, 5) increasing acceptation and anticipating for loss, 6) increasing appropriate family function and role management, 7) having community supporting network. As the results reflected that nursing practice based on Family Health Management, Family Nursing Process and Palliative Care Concept could promote to understand problems and needs of family system specifically. These concepts could be applied to provide care and support to increase appropriate family and personal health management abilities. However, health status and family health management are dynamic, therefore, longitudinal study should be focused. In addition, family nursing intervention should be developed for meeting to family problems and needs continuously. And then good nursing outcomes will occur.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-02-05