ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ด้วยวีดีทัศน์และคู่มือต่อระดับความเข้มข้นของเลือดและพฤติกรรมการรับประทานยาและอาหารในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางที่มาฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลแม่และเด็ก นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • hongsamouth phommachanh Faculty of Nursing, University of Health Sciences, Lao People Democratic Republic

คำสำคัญ:

Educative program, Video on tablet and handbook, Anemia in pregnancy, Hematocrit levels, Iron and food taking behavior

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้ด้วยวีดีทัศน์และคู่มือ ต่อระดับความเข้มข้นของเลือดและพฤติกรรมการรับประทานยาและอาหารในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางที่มาฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลแม่และเด็ก นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว  กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจำนวน 42 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 21 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ด้วยวีดีทัศน์และคู่มือการดูแลตนเองในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง และกลุ่มควบคุมไม่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานยาและอาหาร ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาได้ค่า CVI=1.00 และมีระดับความเชื่อมั่น = 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานpaired t-test และ independent t-test ผลการวิจัยพบว่า

  1. ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของเลือดสูงกว่าก่อนการทดลอง (p<0.001) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)
  2. ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรับประทานยาและอาหารสูงกว่าก่อนการทดลอง (p<0.001) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

This quasi experimental research aimed to study the effects of Educative program with Video on tablet and Handbook on Hematocrit level and iron and food taking behavior among pregnant women with Anemia at Central Hospital of Lao PDR. The sample of 42 pregnant women were divided into experimental and control groups with 21 women in each group. The experimental group received educative program while the control did not received educative program. The research instrument was Iron deficiency anemia preventive behaviors questionnaire with CVI = 1.00 and Cronbach's alpha reliability = 0.92. The data were analyzed for percentage, mean, standard deviation, independent t-test and paired t-test. The results showed that:

  1. After experiment, the experimental group had significant higher Hematocrit level than pre-test (p<0.001) and higher than the control group (p<0.001).
  2. After experiment, the experimental group had significant higher scores of iron and food taking behavior than pre-test (p<0.001) and higher than the control group (p<0.001).

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2016-01-13