การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ก้องสยาม ลับไพรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • ภาณุพงศ์ ชีวพัฒนพงศ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • คณิน ประยูรเกียรติ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

ความเสี่ยงในการหกล้ม, ผู้สูงอายุ, ฤาษีดัดตน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตนเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุ 2) ศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตนเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุ วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ร่างต้นแบบ และตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตนเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุ และ 2) ศึกษาผลการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตนเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ อาสาสมัครผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-70 ปีจำนวน 68 คน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับฉลาก (Simple Random Sampling) ในการคัดเลือกเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 34 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการหกล้ม ของผู้สูงอายุ (IOC 1.00) 2) แบบประเมินการทรงตัวของ Berg Balance test (IOC 0.95) ดำเนินการทดลอง โดยกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมตามโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการหกล้ม ของผู้สูงอายุ และกลุ่มควบคุมกลุ่มที่ได้รับการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราห์ผล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัย พบว่า 1) โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตนเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุ ได้ค่าความเที่ยงตรง เท่ากับ 1.00 ประกอบด้วย 1.1) หลักการออกกำลังกาย ได้แก่ ความบ่อย (สัปดาห์ละ 3 ครั้ง) ความเข้มข้น (50-70%MHR) ระยะเวลา (40 นาที/ครั้ง) และประเภท (แบบยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และการฝึกด้วยน้ำหนัก) 1.2) ขั้นตอนการออกกำลังกาย แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ อบอุ่นร่างกาย การออกกำลังกาย และ คลายอุ่น โดยขั้นอบอุ่นร่างกายและขั้นผ่อนคลายใช้ท่าฤาษีดัดตน 4 ท่า เป็นเวลา 10 นาที ประกอบด้วย ท่าเทพพนม ท่าชูหัตถ์วาดหลัง ท่าแก้เกียจ และ ท่านั่งนวดขา ส่วนขั้นการออกกำลังกายจะใช้ท่าฤาษีดัดตน 5 ท่า เป็นเวลา 20 นาที ประกอบด้วย ท่าดำรงกายอายุยืน ท่านางแบบ ท่าเต้นโขน ท่ายืนนวดขา และท่านอนคว่ำทับหัตถ์ 2) ผลของการออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุ พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีผลการทดสอบความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุดีขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่า กลุ่มทดลองมีผลการทดสอบความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุดีขึ้นดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05

References

Srichang N, Kawi L. Fall prediction in older adults (aged 60 and above) in Thailand, 2017–2021. Bangkok: Bureau of Non-Communicable Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health; 2016. (in Thai)

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. The situation of Thai elderly, 2019. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University; 2020. (in Thai)

National Statistical Office. Situation of Thai elderly in spatial dimensions, 2021. Bangkok: Forecast Statistics Division, National Statistical Office; 2021. (in Thai)

National Statistical Office. Survey of the elderly population in Thailand, 2021. Bangkok: Forecast Statistics Division, National Statistical Office; 2022. (in Thai)

Bureau of Non-Communicable Diseases. Falls in older adults [Internet]. Bangkok: Bureau of Non-Communicable Diseases; 2024 [updated 2024; cited 2024 June 30]. Available from: http://www.thaincd.com/

/media-detail.php?id=13536&tid=&gid=1-015-004 (in Thai)

Department of Older Persons. Falls in older adults [Internet]. Bangkok: Department of Older Persons;2024 [updated 2024; cited 2024 June 30]. Available from: https://www.dop.go.th/th/know/15/548 (in Thai)

Bangkok Hospital. Falling conditions in the elderly [Internet]. Bangkok: Bangkok Hospital;2024 [updated 2024; cited 2024 June 30]. Available from: https://www.bangkokhospital.com/content/falling-conditions-in-the-elderly (in Thai)

World Health Organization. WHO global report on falls prevention in older age. Geneva: WHO; 2007.

Feil M, Gardner LA. Falls risk assessment: a foundational element of falls prevention programs. Res Gate 2012;9(3):73-81.

Department of Thai Traditional and Alternative Medicine, Ministry of Public Health. Thai hermit (Ruesi Dat Ton). Bangkok: Post Publishing Public;2013. (in Thai)

Davis JC, Robertson MC, Ashe MC, Liu-Ambrose T, Khan KM, Marra CA. International comparison of cost of falls in older adults living in the community: a systematic review. Osteoporos Int 2010 Feb;21:1295-306.

Ngowsiri K, Napapong K. Effects of adapted Thai hermit (Ruesi Dat Ton) exercise on fall prevention in older adults. Thai Military Nurse Journal 2021;22(1):176-85. (in Thai)

Nathason A, Khantong P, Dechakhamphu A. Effects of Thai hermit (Ruesi Dat Ton) exercise on nutrition and quality of life in older adults. Ramathibodi Nursing Journal 2021;26(1):90-106. (in Thai)

Institute of Geriatric Medicine, Department of Medical Services, Ministry of Public Health. Guidelines for prevention/evaluation of falls in older adults. Nonthaburi: CG Tool; 2008. (in Thai)

Boonsinsuk R, Lapanantasin S, Jiwasangchai C. Development of clinical tools for assessing fall risk in older adults. Bangkok: Srinakharinwirot University; 2015. (in Thai)

Muir SW, Berg K, Chesworth B, Speechley M. Use of the berg balance scale for predicting multiple falls in community-dwelling elderly people: a prospective study. Phys Ther 2008;88(4):449-59.

Kunaapisit V, Kunaapisit S. Happy living with games. Bangkok: Suksapan Press, Lat Phrao; 2008. (in Thai)

Ministry of Tourism and Sports. Aerobic dance. Bangkok: Cooperative Society of Thailand; 2012. (in Thai)

Singhajaru P. Exercise for older adults. Bangkok: O.S. Printing House; 2016. (in Thai)

Ketwongsa P, Chulet P, Iamyam W, Unampai A, Sangsawang A. Handbook of physical activities at home. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University;2020. (in Thai)

Han TR. Exercise in the elderly. J Korean Acad Rehabil Med 2002;26(2):121-6.

Center for Health Protection. Exercise prescription doctor's handbook. Hong Kong: Center for Health Protection;2012.

Leethong-in S. Exercise for older adults. Bangkok: Public Transport Organization;2005. (in Thai)

Health Center 2 Saraburi, Department of Health, Ministry of Public Health. Exercise in older adults. Saraburi: Health Center 2 Saraburi, Department of Health, Ministry of Public Health;2014. (in Thai)

Department of Older Persons. Five-year operational plan for the department of older persons (2023–2027). Bangkok: Department of Older Persons, Ministry of Social Development and Human Security;2023. (in Thai)

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educ Psychol Meas 1970;30(3):607-10.

Kirkendall DR, Gruber JJ, Johnson RE. Measurement and evaluation for physical educators. Iowa: William C. Brown;1987.

Kosanwit T, Kanyakarn K. Balance exercise: safe and disease-free. Rajathanee Innovation in Health Science Journal 2018;2(1):1-11. (in Thai)

Sinsap N, Chankra C, Jaiman B. Physical activity for longevity in older adults. Journal of Health and Nursing Education 2019;25(2):229-46. (in Thai)

Buranasubpasit S, Suphawibul M, Silalertdetkul S. Effects of core muscle training on strength and balance of the elderly. Journal of Faculty of Physical Education 2012;15(2):119-31. (in Thai)

Nimtrakul U, Promjai P, Paknapa S. Relationship between muscle strength, flexibility, and fall risk of older adults in Nong Tong sub-district, Hang Dong district, Chiang Mai province. Journal of Buddhist Studies 2021;12(1):53-67. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-24

How to Cite

1.
ลับไพรี ก, ชีวพัฒนพงศ์ ภ, ประยูรเกียรติ ค. การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุ. J Nurs Sci Health [อินเทอร์เน็ต]. 24 มีนาคม 2025 [อ้างถึง 7 เมษายน 2025];48(1):142-54. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/274813