การพัฒนาแบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุไทย แบบทดสอบสมรรถภาพความจำ 5 ข้อคำถาม (ฉบับปรับปรุง)

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ์ คูหา สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์
  • นัดดา คำนิยม สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น 0000-0002-0419-8064
  • จารุณี วิทยาจักษุ์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ดาวชมพู นาคะวิโร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ กองตรวจโรคผู้ป่วยนอกและเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

คำสำคัญ:

แบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อม, ผู้สูงอายุ, สมองเสื่อม

บทคัดย่อ

การวิจัยเพื่อพัฒนาแบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุไทย และตรวจสอบคุณสมบัติการวัดตามมาตรฐานของเครื่องมือของแบบทดสอบสมรรถภาพความจำ 5 ข้อคำถาม (ฉบับปรับปรุง) เปรียบเทียบกับแบบทดสอบสมรรถภาพความจำ 14 ข้อคำถาม (ต้นฉบับ) และเกณฑ์การวินิจฉัยของแพทย์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป อาศัยในพื้นที่ จังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 765 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบทดสอบสมรรถภาพความจำ 14 ข้อคำถาม (ต้นฉบับ) และ 5 ข้อคำถาม (ฉบับปรับปรุง) แบบทดสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย (MMSE-Thai 2002) แบบทดสอบสมรรถภาพสมอง (MoCA test) ฉบับแปลเป็นภาษาไทย และการวินิจฉัยของแพทย์ตามเกณฑ์ DSM-5 criteria วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาตรวจสอบการแจกแจงข้อมูล โดยใช้สถิติ Kolmogorov–Smirnov test และวิเคราะห์หาค่าความแม่นตรงตามเกณฑ์

ผลการวิจัยกลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 70.20 ปี (SD=6.83) พบกลุ่มที่มีความผิดปกติด้านการรู้คิด ร้อยละ 15.24 ในกลุ่มนี้ได้รับการยืนยันการวินิจฉัย ว่ามีภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 6.78 และมีภาวะสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้น ร้อยละ 87.29 ผลการทดสอบคุณสมบัติการวัดของแบบทดสอบสมรรถภาพความจำ 5 ข้อคำถาม (ฉบับปรับปรุง) ที่จุดตัด 8 คะแนน พบค่า ความเชื่อมั่น 0.838 แบ่งเป็น (1) กลุ่มที่มีความผิดปกติด้านการรู้คิด มีค่าความไวค่อนข้างสูง (sensitivity 92.5) ค่าความจำเพาะและค่าความแม่นยำค่อนข้างต่ำ (specificity 8.83, accuracy 27.79) ค่าการพยากรณ์ผลบวก ค่อนข้างต่ำ (PPV 23.18) และการพยากรณ์ผลลบค่อนข้างสูง (NPV 78.79) และมีค่าพื้นที่ใต้โค้ง (AUC-ROC) เท่ากับ 0.502 (2) กลุ่มที่มีภาวะสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้น มีค่าความไวค่อนข้างสูง (sensitivity 82.95) ค่าความจำเพาะและ ค่าความแม่นยำค่อนข้างต่ำ (specificity 13.24, accuracy 29.28) ค่าการพยากรณ์ผลบวกค่อนข้างต่ำ (PPV 22.22) และ การพยากรณ์ผลลบค่อนข้างสูง (NPV 77.22) และมีค่าพื้นที่ใต้โค้ง (AUC-ROC) เท่ากับ 0.481 และ (3) กลุ่มที่มีภาวะ สมองเสื่อม แบบทดสอบมีค่าความไวค่อนข้างต่ำมาก (sensitivity 9.09) ค่าความจำเพาะและค่าความแม่นยำค่อนข้างสูง (specificity 95.59, accuracy 75.69) ค่าการพยากรณ์ผลบวกค่อนข้างต่ำ (PPV 39.10) และการพยากรณ์ผลลบค่อนข้างสูง (NPV 77.87) และมีค่าพื้นที่ใต้โค้ง (AUC-ROC) เท่ากับ 0.523

จากผลการวิจัย สรุปได้ว่า ผลการตรวจสอบคุณสมบัติการวัดของแบบทดสอบสมรรถภาพความจำ 5 ข้อคำถาม (ฉบับปรับปรุง) พบว่า เครื่องมือนี้อาจใช้เป็นเครื่องมือคัดกรองภาวะสมองเสื่อมอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับผู้ที่มีความผิดปกติของสมรรถภาพสมองด้านการรู้คิดและผู้มีสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้นได้ จากค่าความไวที่ค่อนข้างสูง แต่ด้วยข้อจำกัดของคุณสมบัติการวัดด้านอื่น ๆ ที่มีค่าค่อนข้างต่ำ จึงควรพิจารณาถึงความเหมาะสมก่อนนำใช้ และควรทำการศึกษาปรับปรุงเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาเครื่องมือให้สามารถค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงหรือมีความผิดปกติของสมรรถภาพสมอง ด้านการรู้คิด ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

References

Rojana-udomsart A, Keawsri J, editors. Clinical practice guideline for dementia: neurological. Nontaburi: Institute of Thailand, Department of medical services, Ministry of public health, Thailand; 2021. (in Thai)

Kuha O, Kumniyom N, Thongnum N, Vidhyachak C, Nakawiro D, Srisuwan P. Dementia screening tool for older peoples in Thailand. Journal of nursing and health care 2021;39(4):26-34. (in Thai)

American psychiatric association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders. 5th ed. Washington DC: American psychiatric association;2018.

Alzheimer’s Disease International [ADI]. Dementia statistics-dementia facts & figures. [Internet]. UK: Alzheimer’s Disease International;2024[update 2024; cited 2024 Jun 10]. Available from: https://www.alzint.org/about/dementia-facts-figures/dementia-statistics/

World Health Organization [WHO]. Dementia [International classification of diseases for mortality and morbidity statistics, 11th Revision, v2023-01] [Internet]. Jeneva: World Health Organization;2023[update 2023; cited 2023, Jul 24]. Available from: https://www.findacode.com/icd-11/block-546689346.html?hl=dementia

Alzheimer’s Disease International [ADI]. Dementia statistics-dementia facts & figures [Internet]. UK: Alzheimer’s Disease International;2024[update 2024; cited 2024 Jun 10]. Available from: https://www.alzint.org/about/dementia-facts-figures/dementia-statistics/

Thaneerat T, Tooreerach U, Petrugs B, Kimsao P, Hongchukiet K, Deeduang B. Development of dementia screening test for Thai elderly. Journal of the Psychiatric Association of Thailand 2017;62(2):177-86. (in Thai)

Haubois G, Annweiler C, Launay C, Fantino B, de Decker L, Allali G, et al. Development of a short form of mini-mental state examination for the screening of dementia in older adults with a memory complaint: a case control study. BMC Geriatr 2011;11:59.

Sternberg SA, Wolfson C, Baumgarten M. Undetected dementia in community-dwelling older people: the Canadian study of health and aging. J Am Geriatr Soc 2000; 48(11):1430-4.

Siri S. Screening test for dementia in community. Journal of Public Health Nursing 2016;27(1):115-30. (in Thai)

Kuha O, Kumniyom N, editors. Guide for assisting seniors with dementia: a manual for community caregiver volunteers. Nonthaburi: Institute of geriatric medicine, Department of medical services, Thailand; 2020. (in Thai)

Prasunnakran S, Khammathit A, Yothathai T, Sakulkoo. Early screening of senile dementia in community-based care: a systematic review. Journal of Health Science 2017;26:125-38. (in Thai)

Na Chiangmai NN, Wongupparaj P. Dementia screening tests in Thai older adults. Journal of Mental Health of Thailand 2020;28(3):252-65. (in Thai)

Lorentz WJ, Schanlan JM, Borson S. Brief screening tests for dementia. Can J Psychiatry 2002;47(8):723-33.

Ismail Z, Rajji TK, Shulman KI. Brief cognitive screening instruments: an update. Int J Geriatr Psychiatry 2010;25(2):111-20.

Institute of geriatric medicine, Department of medical services. Practice guidelines of comprehensive care management for older person with dementia. Nonthaburi: Institute of geriatric medicine, Department of medical services, Thailand; 2019. (in Thai)

Sangna R, Pinyopornpanish K, Jiraporncharoen W, Angkurawaranon C. Validation of a 14-item self-reporting questionnaire for the screening of dementia in the elderly. Journal of mental health of Thailand 2020;28(3):199-210. (in Thai)

Aroonsang P, Trakulkajornsak B, Satthapisit S, Moungkote K, Kunleun S, Subindee S. Comprehensive care system innovation for older persons with dementia: BanFang district model. Thai Journal of nursing and midwifery practice 2019;6(2):115-30. (in Thai)

Kuha O, Kumniyom N, Vidhyachak C, Nakawiro D, Srisuwan P, Thongnum N. Study of measurement properties according to dementia diagnosis criteria of the 14-item dementia screening tool in the older adults. Journal of nursing science and health care 2023;46(4):132-45. (in Thai)

Wongpakaran N, Wongpakaran T, Reekum RV. The use of GDS-15 in detecting MDD: A comparison between residents in a Thai long-term care home and geriatric outpatients. Journal of Clinical Medicine Research 2013;5(2):101–11. (in Thai)

The Committee prepared the preliminary brain test-Thai version, 1999. Mini Mental Examination Thai-2002, MMSE-2002. Bangkok: Institute of geriatric medicine, department of medical services, Ministry of public health, Thailand;2002. (in Thai)

Hemrungrojn S, Tangwongchai S, Charoenboon T, Panasawat M, Supasitthumrong T, Chaipresertsud P, et al. Use of the montreal cognitive assessment Thai version to discriminate amnestic mild cognitive impairment from alzheimer's disease and healthy controls: machine learning results. Dement Geriatr Cogn Disord 2021;50(2):183-94.

Meehanpong P, Boonsin S. The development of nursing research instruments. Journal of the Royal Thai Army Nurses 2021;22(1):10-9. (in Thai)

Sarakarn P, Munpolsri P. Optimal cut-off points receiver operating characteristic (ROC) curve analysis in developing tool of health innovation: Example using stata. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences 2021;16(1):93-108. (in Thai)

Hosmer DW, Lemeshow S, Sturdivant RX. Applied survival analysis: regression modeling of time to event data. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons;2013.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-24

How to Cite

1.
คูหา อ, คำนิยม น, วิทยาจักษุ์ จ, นาคะวิโร ด, ศรีสุวรรณ พ. การพัฒนาแบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุไทย แบบทดสอบสมรรถภาพความจำ 5 ข้อคำถาม (ฉบับปรับปรุง). J Nurs Sci Health [อินเทอร์เน็ต]. 24 มีนาคม 2025 [อ้างถึง 18 เมษายน 2025];48(1):111-26. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/273232