สายใยครอบครัวที่ตัดไม่ขาด: การรับรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านในบริบทสังคมอีสาน ด้วยวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบเจาะจง
คำสำคัญ:
การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบเจาะจง , ครอบครัวอีสาน , ความคิดความเชื่อ , ความผูกพันในครอบครัว , ผู้ป่วยติดเตียง , ผู้ดูแลในครอบครัวบทคัดย่อ
เป็นที่ตระหนักว่าทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ส่งผลให้มีผู้ป่วยเรื้อรังทุพพลภาพและติดเตียงเพิ่มมากขึ้น สถานการณ์นี้มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อครอบครัวที่รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ ทำให้ต้องอุทิศตนแบกรับภาระในการดูแลผู้ป่วยโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน แม้มีความพยายามสนับสนุนจากหน่วยงานระบบบริการสุขภาพในการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลมาระดับหนึ่ง แต่ยังต้องปรับข้อมูลนำเข้าเป็นระยะและให้มีความเฉพาะกลุ่ม รวมถึงสังคมยังขาดข้อมูลเชิงลึกถึงการรับรู้ คุณค่าการดูแลผู้ป่วยในครอบครัวของผู้ดูแล ในบริบทความเชื่อในสังคมอีสานซึ่งเป็นข้อมูลนำเข้าที่สำคัญสู่การสร้างข้อเสนอเชิงนโยบายและการออกแบบการดูแลที่สอดคล้องกับผู้รับบริการ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความคิด ความเชื่อ ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงตามบริบท สังคมอีสาน เพื่อเติมเต็มช่องว่างของความรู้ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบเจาะจง โดยศึกษาบริบทและประสบการณ์ของผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยในชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง 7 คน ผู้ดูแลในครอบครัวสำหรับผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง 10 คน บุคลากรผู้ให้บริการด้านสุขภาพระดับตำบล 14 คน และผู้นำชุมชน 8 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 39 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม บันทึกภาคสนาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์แก่นความคิด ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยการตรวจสอบสามเส้า ดำเนินการรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนธันวาคม 2566
ผลการวิจัย พบแก่นความคิด 3 ประเด็น คือ การให้ความหมายของการดูแล การรับมือต่อปัญหาในการดูแล และการหาแหล่งประโยชน์ช่วยแก้ไขปัญหาที่เผชิญ ได้แก่ ประเด็นที่ (1) การให้ความหมายของการดูแล แบ่งเป็น 4 ด้าน คือ 1.1) เป็นบทบาทหน้าที่ของครอบครัว 1.2) เป็นสายสัมพันธ์หรือสายแนนของครอบครัวที่ทิ้งไม่ได้ตัดไม่ขาด 1.3) เป็นความสงสาร (เหลือโตน) และ 1.4) เป็นการทำบุญ ส่วนประเด็นที่ (2) การรับมือต่อปัญหาในฐานะผู้ดูแล ผู้ดูแลรับมือต่อปัญหาในการดูแล 3 วิธี คือ 2.1) “ทำใจ” คือ การยอมรับสถานการณ์ของตนเองและไม่คิดมากเกินไป 2.2) “คงความหวัง” และ 2.3) “สร้างความสมดุล” และประเด็นที่ (3) การหาแหล่งประโยชน์ช่วยแก้ไขปัญหาที่เผชิญ แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ 3.1) พึ่งตนเอง 3.2) แสวงหาแหล่งช่วยเหลือ
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึง การรับรู้ของผู้ดูแลในบริบทสังคมอีสานที่เป็นการรับรู้และให้คุณค่าเชิงบวก รวมถึงมีความเหนียวแน่นกลมเกลียวของความสัมพันธ์ในครอบครัวอีสาน ซึ่งสามารถเป็นข้อมูลนำเข้าสู่การออกแบบปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการดูแลด้วยการรับรู้เชิงบวกของผู้ดูแลในบริบทสังคมอื่น ๆ ให้เกิดความสมดุลและความผาสุกทางจิตใจ แก่ผู้ดูแลในครอบครัวต่อไป
References
Kim J, Olaiya MT, De Silva DA, Norrving B, Bosch J, De Sousa DA, et al. Global stroke statistics 2023: Availability of reperfusion services around the world. Int J Stroke 2024;19(3):253-70.
World Stroke Organization. Global stroke fact sheet 2024 [Internet]. Geneva: WHO;2024[updated 2024; cited 2024May 2]. Available from: https: //www.world-stroke.org/assets/downloads/WSO_Global_ Stroke_Fact_Sheet.pdf
Majavong M. Stroke in the elderly. Journal of Thai Stroke Society 2019;18(1):59-74. (in Thai)
Seesawang J, Rungnoei N. Nursing care for stroke patients: strategies towards patient-centered care. Nursing Science Journal of Thailand 2016;34(3):10-8. (in Thai)
Nilnate N. Risk factors and prevention of stroke in hypertensive patients. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2019;20:51-7. (in Thai)
Poovatanaruk N, Nakawiro P. Prevalence and associated factors of caregiver burden among stroke patients. Journal of preventive medicine association of thailand 2020;10(1):1-11. (in Thai)
Chantra R, Sansuwan R, Heeaksorn C. Care for stroke patients with a multidisciplinary team. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2017;18:49-55. (in Thai)
American Stroke Association. Effects of stroke [Internet]. USA: American Stroke Association; 2019[updated 2021; cited 2021 March 1]. Available from: http://www.Stroke Association.org/Strokeorg/About Stroke/Effects Stroke/ Effect-of stroke_UCM_ 308534+ subhome page.jsp
Stroke Association. Effects of stroke [Internet]. UK: Stroke Association; 2021[updated 2021; cited 2021 March 1]. Available from: https://www.stroke.org.uk/effects-of-stroke
Owolabi MO. Impact of stroke on health-related quality of life in diverse cultures: the Berlin-Ibadan multicenter international study. Health Qual Life Outcomes 2011;9:81.
Auai Nang. Take a chance on Sai Nan in Khulu Nang Ua, in arts and culture. Silpa 1995;16(8):45-47. (in Thai)
Jongudomkarn D, Forgeron P, Siripul P, Finley A. My child you must have patience and kreng jai: thai parents and child pain. Journal of Nursing Scholarship 2012;44(4):323-31.
Jongudomkarn D, Camfield L. Exploring the quality of life of people in North Eastern and Southern Thailand. Social Indicators Research 2006;78(3):489-529.
Chirawatkul S. Qualitative research in nursing profession. 2nd ed. Khon Kaen: Siriphan Offset Press; 2012. (in Thai)
Polit DF, Beck CT. Essentials of nursing research: appraising evidence for nursing practice. 9th ed. Chichester: Wolters Kluwer Health; 2018.
Holloway I, Galvin K. Qualitative research in nursing and healthcare. 4th ed. Chichester: Wiley-Blackwell; 2017.
Denzin NK. Denzin NK. The research act: a theoretical introduction to sociological methods. London: Routledge; 2017.
Lincoln YS, Guba EG. But is it rigorous? trustworthiness and authenticity in naturalistic evaluation. N Dir Eval 1986;1986(30):73–84.
Kitreerawutiwong N, Anders RL. Family caregivers of elderly stroke survivors in Thailand: an integrated review of the literature. J Aging Health 2007;19(1):4-14.
Liu M, Tinker A. Family caregiving for the elderly in China and Thailand: a comparative study. Ageing Int 2001;26(1-2):54-73.
Phongtankuel V, Adelman RD. Caregiving for older adults: a role for cultural factors in shaping perceptions and behavior. J Am Geriatr Soc 2018;66(7):1372-9.
Wachholtz A, Sambamthoori U. National trends in prayer use as a coping mechanism for health concerns: changes in prayer use between 2002 and 2007. J Relig Health 2013;52(4):1356-68.
Phongphit S, Hewison K. Thai Buddhism and well-being: an analysis of merit-making in Thai communities. Chiang Mai: Silkworm Books; 2001. (in Thai)
Chunharas S, Davies D. The concept of "Tam Jai" in Thai caregivers of persons with dementia: acceptance as a coping mechanism. Dementia 2019;18(7-8):2639-52.
Thammatacharee N, Tisayaticom K. Barriers to and facilitators of providing care for stroke survivors: a qualitative study of Thai family caregivers. Asian Nurs Res 2014;8(3):197-202.
Thanakwang K, Soonthorndhada K. Perceived roles and caregiving challenges among Thai family caregivers of older adults with chronic illness. J Cross Cult Gerontol 2011;26(3):243-55.
Inthiran T, Srithamrongsawat S. Social networks and healthcare-seeking behavior of family caregivers of stroke patients in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2015;46(4):659-70.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ห้ามผู้ใดนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพไปเผยแพร่ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ การนำบทความไปเผยแพร่ออนไลน์ การถ่ายเอกสารบทความเพื่อกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอน การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น ยกเว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ