การพัฒนารูปแบบการติดตามผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยในโรงพยาบาล จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ยังไม่ได้วินิจฉัย , รูปแบบการติดตาม , วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบปฏิบัติบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบปฏิบัติ เพื่อพัฒนารูปแบบการติดตามผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยในโรงพยาบาล ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565–กันยายน พ.ศ. 2566 กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจงจากแพทย์ พยาบาล นักวิชาการผู้รับผิดชอบงานโรคไม่ติดต่อในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม และ อสม. รวม 50 คน กำหนดขั้นตอนการพัฒนา 3 ระยะ ระยะที่ 1 เตรียมการ วิเคราะหสถานการณ์และระบุปัญหา ระยะที่ 2 ดำเนินการ ครอบคลุมการวางแผน ปฏิบัติ สังเกตการณ์ และสะท้อนผลลัพธ์ ระยะที่ 3 สรุปและประเมินผลลัพธ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา นำเสนอข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการติดตามผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยในโรงพยาบาล เป็นการสร้างระบบการส่งต่อผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ตรวจพบครั้งแรกที่โรงพยาบาล โดยแพทย์แจ้งพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอก เพื่อส่งผู้ที่มีความดันโลหิตสูงไปที่คลินิกโรคไม่ติดต่อ เพื่อให้คำแนะนำ และส่งต่อข้อมูลให้ รพ.สต. และ อสม. ติดตามวัดความดันโลหิตที่สถานีสุขภาพในชุมชน และส่งผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกลับมาตรวจวินิจฉัยและรักษาที่โรงพยาบาล ภายใน 7 วัน การพัฒนาครั้งนี้ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการข้อมูลผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ออฟฟิเชียล แอคเคาท์ ข้อมูลได้รับการนำส่งต่อระหว่างเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล รพ.สต. และ อสม. ที่เป็นปัจจุบันตลอดเวลา และแจ้งเตือนทันทีที่พบว่ามีความดันโลหิตสูง พร้อมส่งคำแนะนำในการปฏิบัติตัวผ่านไลน์ อสม. เพื่อให้คำแนะนำผู้ที่มีความดันโลหิตสูงและติดตามบุคคลดังกล่าวไปรับการตรวจยืนยันที่โรงพยาบาล เพื่อรับการวินิจฉัยขึ้นทะเบียนรักษาตามระบบ จากการประเมินผลหลังการใช้งานรูปแบบนี้ เป็นเวลา 10 เดือน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจ ร้อยละ 100 จากการประเมินสถานการณ์จากฐานข้อมูลสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข พบผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยในโรงพยาบาล (ไม่นับรวมแผนกผู้ป่วยฉุกเฉิน) จำนวน 1,365 ราย ได้รับการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงและขึ้นทะเบียนรักษาภายใน 7 วัน จำนวน 338 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.76
References
Aekplakorn W, Puckcharern H, Satheannoppakao W. Report on the health examination of the thai population by physical examination B.E. 2562-2563. 6th ed. Nonthaburi: Health systems research institute; 2023. (in Thai)
Disease Prevention and Control Office 9, Nakhon Ratchasima, Department of Disease Control. Disease Prevention and Control Office 9 warns people on the “World Hypertension Day” to control blood pressure for long life [Internet]. Nakhon Ratchasima: Disease Prevention and Control Office 9; 2023 [Updated 2023 May 11; Accessed May 11, 2023]. Available from: https://ddc.moph.go.th/odpc9/news.php?news=34026&deptcode=odpc9&news_views=12351 (in Thai)
Non-Communicable Diseases Division, Department of Disease Control. Guidelines for managing patients with high blood pressure in hospitals. 1st ed. Nonthaburi: Non-Communicable Diseases Division, Department of Disease Control; 2019. (in Thai)
Hypertension Association of Thailand. Guidelines for the treatment of hypertension in general practice. 1st ed. Bangkok: Hypertension Association of Thailand; 2019. (in Thai)
Non-Communicable Diseases Division, Department of Disease Control. Service format for diabetes and hypertension prevention and control to support NCD clinic plus operations. 1st ed. Nonthaburi: Cooperative Agricultural Printing House, Ministry of Agriculture and Cooperatives, Thailand; 2017. (in Thai)
Non-Communicable Diseases Division, Department of Disease Control. Handbook for NCD clinic plus quality assessment operations. 1st ed. Nonthaburi: Typography and graphic design press; 2018. (in Thai)
Bradbury H, Reason P. Handbook of action research: Participative inquiry and practice. NY: Sage; 2015.
Stringer ET. Action research: A handbook for practitioners. 4th ed. CA: Sage; 2014.
Ong-Arj N. Research methodology: Quantitative and behavioral sciences. Bangkok: Srinakharinwirot University; 2005. (in Thai)
Wongwanich S. Classroom action research. 17th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2014. (in Thai)
Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. Australia: Deakin University Press; 1988.
Brydon-Miller M, Greenwood D, Maguire P. Why action research? Action Res 2003;1(1):9-28.
Pongwichai S. Statistical data analysis using computers. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2012. (in Thai)
Tungvanichgapong K, Serksir N. Development of information technology to take care of stroke patients in Khon Kaen province. Journal of the office of DPC 7 Khon Kaen 2023;30(2):1-13. (in Thai)
Kridaphat S. Using web-based programs. Bangkok: Textbook production center, King Mongkut's University of Technology North Bangkok; 2014. (in Thai)
Sungkasrisombut K, Machara S, Promsri M, Panit N. Developing a knowledge and counseling format via line official accounts application for mothers in premature infant care before scheduled time. RHPC9 Journal 2022;16(2):623-41. (in Thai)
Wanlor P, Srithammasak B, Vorapongsathorn S. The development of an Information System in Srisaket province for retrieving patient referral data through the Internet. Vajira Med J 2017;61(3):215-24. (in Thai)
Sirimongkonlertkul N, Thamangraksat T, Tansuhaj P, Rujivorakul V, Singmanee C, Kulachanpises S, et al. Development of the stroke care system through stroke man application. RTA Med J 2022;75(1):34-49. (in Thai)
Mahantussanapong C. Successful increase in home visit care response rates by using an information program for continuum of care. J Prapokklao Hosp Clin Med Educat Center 2018;35(4):355-62. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ห้ามผู้ใดนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพไปเผยแพร่ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ การนำบทความไปเผยแพร่ออนไลน์ การถ่ายเอกสารบทความเพื่อกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอน การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น ยกเว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ