การดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วมของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ จันทรักษ์ โรงพยาบาลวาปีปทุม
  • สุทาพร ซองศิริ โรงพยาบาลวาปีปทุม

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม , ผู้จัดการการดูแล , ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง , ผู้ดูแล, ผู้สูงอายุ, ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษารูปแบบการดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วม ประเมินผลลัพธ์การดูแลและศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงหรือญาติ แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ระยะเตรียมการ ระยะที่ 2 ระยะดำเนินการ มี 4 ขั้นตอน 1) ขั้นวางแผน 2) ขั้นปฏิบัติการ 3) ขั้นสังเกต 4) ขั้นสะท้อนผลปฏิบัติ  และระยะที่ 3 ระยะประเมินผล กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 91 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 วัดผลหลังการดูแล 9 เดือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม รวมทั้งใช้แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (activities of daily living: ADL) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่าการดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วม ส่งผลให้เกิดรูปแบบการดูแล “โฮมแฮง เมิ่งแญง ฮักแพง ไทวาปีบ่ถิ่มกัน” โดยใช้หลัก WAPI Model ในการดำเนินงาน มีทีมสหวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย นักวิชาการสาธารณสุข นักโภชนาการ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันดูแล เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ADL ก่อนและหลังให้การดูแลพบว่าค่าเฉลี่ย ADL ของผู้สูงอายุกลุ่มที่ 1 เพิ่มขึ้นจาก 10.04 (± 0.72) เป็น 10.39 (±0.79) กลุ่มที่ 2 เพิ่มขึ้นจาก 9.83 (±0.75) เป็น 10.00 (±1.41) กลุ่มที่ 3 เพิ่มขึ้นจาก 1.83 (±1.83) เป็น 2.20 (±2.68)  ผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิง ทั้งหมด 91 คน เปลี่ยนเป็นกลุ่มติดสังคมจำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 8.79 ค่าคะแนนความพึงพอใจในภาพรวมหลังให้การดูแลอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.11±0.49 คะแนน) โดยด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุให้การดูแลด้วยความ เต็มใจ ยินดี กระตือรือร้น ดังนั้น การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วม สามารถดูแลได้ครอบคลุมทุกมิติ และเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน ให้ดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

References

Prasatkul K, (editor). Report on the situation of the Thai elderly Bangkok: Thai Elderly Research and Development Institute Foundation; 2017.

Situation of Thai elderly 2022.-Bangkok: Amarin Corporations Company Limited. (Public),2023:128 pages ISBN: 978-616-331-150-4

Srithamrongsawat S, Suriyawongpaisarn P, Kasemsap W, Ekaphakorn W, Siraphan B. Research project to develop a long-term caresystem (long-term care) for dependent elderly people under the national health insurance system. Bangkok: Desemberry Company; 2018.

Charoenwong S, Kongkhun P, Chansaengrat N, Seewan P. Care situation and long-term care needs for dependent elderly people in rural Muslim communities in southern Thailand. SCNJ 2018;5(2):231-46. (in Thai)

Maha Sarakham Provincial Public Health Office. HDC report, Maha Sarakham Provincial Public Health Office 2022. Maha Sarakham: Provincial Public Health Office: 2022.

National Health Insurance Office, region 7, Khon Kaen. Guidelines and procedures for caring for dependent elderly people. Khon Kaen: Nana Witthaya; 2018.

Laosan C, Chaiyasat K, Witthayakhow W, Caring for the dependent elderly at the center for elderly care at Waeng sub-district health promotion hospital, Kradian subdristric, Trakan Phuet Phon district, Ubon Ratchathani province. Journal of Public Health 2020;29(5): 813-21 (in Thai)

Kemmis S, McTaggart R, Nixon R. The action research planner: Doing critical participatory action research. New York: Springer; 2014.

Likert, Rensis A. New patterns of management. New York: McGraw-Hill Book; 1961.

Laosan C, Chaiyasat K, Witthayakhow W, Caring for the dependent elderly at the center for elderly care at Waeng sub-district health promotion hospital, Kradian subdristric, Trakan Phuet Phon district, Ubon Ratchathani province. Journal of Public Health 2020;29(5):813-21 (in Thai)

Kongjun C. Development of long term care model for elderly with dependent under the National Health Insurance System, Songkhla province. Academic Journal of Mahasarakham public Health office 2023;7(13):53-67. (in Thai)

Pratono AH, Maharani A. Long-term care in Indonesia: The role of integrated service post for elderly. JHA 2018;30(10):1556-73.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-01

How to Cite

1.