ความเครียดและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์แรกและครรภ์หลัง

ผู้แต่ง

  • สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • ดวงพร แสงสุวรรณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชฎักอุดรธานี
  • สุภาพักตร์ หาญกล้า คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • อัญชลี อ้วนแก้ว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

ความเครียด , พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ , หญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และเปรียบเทียบความเครียดกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์แรกและครรภ์หลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิง ตั้งครรภ์แรก 88 คน หญิงตั้งครรภ์หลัง 87 คน ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเมือง อุดรธานี ระหว่างเดือนกันยายน 2565 ถึงเมษายน 2566 เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความเครียด ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข มีมาตรวัด 4 ระดับ ตั้งแต่ไม่เคยถึงเป็นประจำแบ่งความเครียดออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับน้อยจนถึงระดับรุนแรง และ 2) แบบประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ 6 ด้าน ตามกรอบแนวคิด ของ Pender มีมาตรวัด 5 ระดับ ตั้งแต่ไม่เคยถึงเป็นประจำ แบ่งพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพออกป็น 3 ระดับ คือ ดี ปานกลางและไม่ดี แบบประเมินความเครียดและแบบประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวม มีค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .98 และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ เปรียบเทียบด้วยการทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า ครรภ์แรกส่วนใหญ่มีความเครียดในระดับปานกลาง รองลงมาเป็นระดับมากและ ระดับน้อย (ร้อยละ 53.4, 31.8 และ 12.5 ตามลำดับ) ครรภ์หลังส่วนใหญ่มีความเครียดในระดับปานกลาง รองลงมาเป็นระดับมากและระดับรุนแรง (ร้อยละ 46.0, 42.5 และ 8.1 ตามลำดับ) ครรภ์แรกส่วนใหญ่มีพฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี รองลงมาเป็นระดับปานกลาง และระดับไม่ดี (ร้อยละ 48.9, 42.0 และ 9.1 ตามลำดับ) ครรภ์หลังส่วนใหญ่มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาเป็นระดับดี และระดับไม่ดี (ร้อยละ 47.1, 36.8 และ 16.1 ตามลำดับ) ส่วนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพรายด้าน ทั้ง 6 ด้าน ทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี รองลงมาเป็นระดับปานกลาง ครรภ์หลังมีค่าเฉลี่ยความเครียดมากกว่าครรภ์แรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05, 95% CI-7.831, -.356) ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมและรายด้าน ทั้ง 6 ด้าน ครรภ์แรกมากกว่าครรภ์หลังเล็กน้อย แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปว่าครรภ์หลังมีความเครียดมากกว่าครรภ์แรก สัดส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเครียดในระดับมากถึงระดับรุนแรงของทั้งสองกลุ่มค่อนข้างสูง และมากกว่าครึ่งของทั้งสองกลุ่มมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในระดับปานกลางถึงระดับไม่ดี จึงควรคัดกรองความเครียดและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของทั้งสองกลุ่มทุกครั้งที่ให้บริการรับฝากครรภ์ รายที่ผิดปกติควรให้การดูแล ช่วยเหลือ ส่งต่อในเพื่อการดูแลที่เหมาะสมต่อไป

References

Srisawad K, Panyapinitnukul C, Sonnark N. Health-promoting behavior in pregnancy.

Songklanagarind Journal of Nursing 2018;38(2):95-109. (in Thai)

El Saida GN, Eman MME, Mona Gamal AEA, Amal Sarhan EG. Anxiety level among primigravida regarding minor discomforts (comparative study). EJH 2019;10(2):335-46. doi:10.21608/EJHC.2019.144381

Kang Y, Yao Y, Dou J, Guo X, Li S, Zhao C, et al. Prevalence and risk factors of maternal, anxiety in late pregnancy in China. Int J Environ Res Public Health 2016:13(468):1-11.

Lowdermilk DL, Perry SE, Cashion K, Alder KR, Olshansky EF. Maternity & women’s health

care. 12th ed. St. Loius, USA: Missouri; 2020.

Anusornteerakul A, Sitti K, Ounkaew A, Harnklar S, Mokarat P. The prevalence and coherence of stress, risk of depression, and depression among pregnant women. Journal of Nursing Science & Health 2022;45(3):37-7. (in Thai)

Raburee C, Kuasit U, Ketjirachot R. Factors related to stress level in pregnant women with

preterm labor while staying in hospital. Princess of Naradhiwas University Journal 2022;14(3):267-81. (in Thai)

Ningthoujam SD, Priyanka S, Gulista S, Shital K. Level of anxiety towards childbirth among primigravida and multigravida mothers. Int J Appl Res 2018;4(5):221-4.

Department of Mental Health, Ministry of Public Health. Guidelines for using mental health

tools for public health personnel in community hospitals. Nonthaburi: Office of Mental Health

Promotion and Development, Department of Mental Health; 2015. (in Thai)

Saetan C, Kala S, Youngwanichsetha S. Effect of positive thinking and relaxation program on

reducing stress among pregnant adolescents. PrincessofNaradhiwasUniversityJournal2018; 14(3):27-39. (in Thai)

Srisawad K, Panyapinitnukul C. Stress among pregnant adolescents. Journal of the Royal Thai

Army Nurses 2016;17(2):7-11. (in Thai)

Boonyaporn T, Saetan C. Nursing role: Stress management of pregnant teenager. The Southern

College Network Journal of Nursing and Public Health 2017;4(3):271-81. (in Thai)

Seatang O, Kewawjiboon J, Rueankul T. Stress and factors related to stress among elderly pregnancy. Journal of Nursing and Health Research 2021;22(3):71-83. (in Thai)

Schoch-Ruppen J, Ehlert U, Uggowitzer F, Weymerskirch N, Marca-Ghaemmaghami L. Women’s word use in pregnancy: Associations with maternal characteristics, prenatal stress,

and neonatal birth outcome. Front Psychol 2018;9(1234):1-14. doi: 10.3389/fpsyg.2018.01234.

Ekakkatachit V. Adverse pregnancy outcome of elderly pregnancy in Nangrong hospital. Mahasarakham Hospital 2016;13(3):71-83. (in Thai)

Barber CC, Starkey NJ. Predictors of anxiety among pregnant New Zealand women hospitalized for complications and a community comparison group. Midwifery 2015;31(9):888-96.

Nakkrasae K, Lapvongwattana P, Chansatitporn N. Effect of health promotion program on health-promoting behaviors in primigravida teen. Journal of Public Health Nursing 2019;33(1): 40-53. (in Thai)

Leelatiwanon T, Chunuan S, Youngwanichsetha S. Factors influencing eating behaviors

among teenage pregnant women. Princess of Naradhiwas University Journal 2018;10(2):25-37. (in Thai)

Murdaugh CL, Parsons MA, Pender NJ. Health promotion in nursing practice. 8th ed. USA: Pearson Education; 2019.

Cochran WG. Sampling techniques. 3rd ed. Canada: John Wiley & Sons; 1977.

Israel GD. Sampling the evidence of extension program impact: Program evaluation and organizational development. Florida: University of Florida, USA; 1992.

BloomBS.Taxonomyofeducation.NewYork: David McKay Company; 1975.

Kaeomaungfang R, Ratchaburi C. Effects of nutrition and exercise health promotion programs on nutritional health behavior of pregnant women. Region 4-5 Medical Journal 2022;41(2):209-19. (in Thai)

Junjongkon N, Kongbamrung D, Khoka A. Health-promoting behaviors of pregnant women attending the antenatal clinic at Banmanik and Si Sunthon dubdistrict health promotion hospitals in Thalang district, Phuket province between June and July 2020. Bulletin of the Department of Medical Sciences 2021;63(2):287-300. (in Thai)

Lahukan B, Suwanpakdee W, Noonrat T, Buddum M. Stress in preterm labor pain. Journal of MCU Nakhondhat 2020;7(10):1-14.(in Thai)

Tamteangtrong R, Sangin S, Deoisres W. Factors predicting nutritional health-promoting

behaviors among pregnant adolescents. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University 2017;25(1):49-60. (in Thai)

Karalai S, Sriratanaprapat J. Relationships between social support and health-promoting

behavior among pregnant teenagers. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University 2018;26(1):1-10. (in Thai)

Winalaivanakoon C. Selected factors related to health responsibility behaviors among pregnant adolescents in Amnat Charoen province. Journal of Nursing, Siam University 2017;20(39):8-19. (in Thai)

Ayoub G, Awed AH. Comparative study betweenprimigravidaandmultigravidaregarding women’s self-care practices for management of selected minor discomforts. Madridge J Case Rep Stud 2018;2(1):31-49.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28

How to Cite

1.