ผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลการดูแลผู้สูงอายุบาดเจ็บไขสันหลังที่มีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระผิดปกติ

ผู้แต่ง

  • ชลาลัย ปานเพชร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ลดาวัลย์ พันธุ์พาณิชย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://orcid.org/0000-0002-6865-4890
  • สุทธินันท์ สุบินดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สมรภพ บรรหารักษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุทิน ชนะบุญ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การถ่ายอุจจาระผิดปกติเกิดระบบประสาท , คุณภาพชีวิต , แนวปฏิบัติการพยาบาล , บาดเจ็บไขสันหลัง , ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลการดูแลผู้สูงอายุบาดเจ็บไขสันหลังที่มีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระผิดปกติ กลุ่มตัวอย่าง 38 คน สุ่มตัวอย่างแบบต่อเนื่องตามคุณสมบัติเข้าศึกษา (consecutive sampling) แล้วแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองตามช่วงเวลา กลุ่มละ 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือคัดกรองกลุ่มตัวอย่างเข้าศึกษา ได้แก่ แบบประเมินความรุนแรงการถ่ายอุจจาระผิดปกติเกิดจากระบบประสาท (neurogenic bowel dysfunction score; NBDS) ฉบับภาษาไทย แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q) แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q) และแบบประเมินสมรรถภาพการรู้คิด 6 ข้อ (6CIT) 2) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยเป็นแนวปฏิบัติการพยาบาล การดูแลปัญหาการขับถ่ายอุจจาระผิดปกติในผู้สูงอายุบาดเจ็บไขสันหลัง ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 3) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป ข้อมูลสุขภาพการเจ็บป่วยและการตรวจร่างกาย แบบประเมิน NBDS และแบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ที่บาดเจ็บไขสันหลังสันที่มีความลำบากในการจัดการปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ดำเนินการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิก่อนนำไปใช้ในงานวิจัย ผลการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของ 1) แนวปฏิบัติฯ 2) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปฯ และ 3) แบบประเมินคุณภาพชีวิตฯ ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเป็น 0.86, 0.90 และ 0.96 ตามลำดับ ผลการตรวจสอบความเที่ยงของแบบประเมินคุณภาพชีวิตฯ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.96

วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลทั่วไปฯ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยสถิติ chi-square และ fisher’s exact พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) ยกเว้น วิธีการหลักในการถ่ายอุจจาระ และขั้นตอนการดูแลการขับถ่ายอุจจาระ ใน 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ในประเด็นถ่ายอุจจาระปกติ (p.=038) ต้องใช้แรงเบ่งถ่ายอุจจาระมาก (p.=046) และการรับประทานอาหารที่มีกากใยในช่วง 3 วันที่ผ่านมา (p=.049) เปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่าง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยสถิติ independent t-test และ Mann-Whitney U test เปรียบเทียบผลลัพธ์ภายในกลุ่ม ด้วยสถิติ paired t-test และ Wilcoxon signed rank test

ผลการศึกษาสรุปได้ว่า แนวปฏิบัติฯ ที่พัฒนาขึ้น ไม่มีผลต่อระดับคะแนน NBDS แต่มีผลดีต่อคะแนนคุณภาพชีวิตฯ คือ หลังการทดลองคะแนนระดับคุณภาพชีวิตฯ ของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.003) และผลต่างคะแนนระดับคุณภาพชีวิตฯ ในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.002) จึงควรมีการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติฯ นี้ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุบาดเจ็บไขสันหลังที่มีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระผิดปกติ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของแนวปฏิบัตินี้ โดยใช้ขนาดตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้น

References

Assantachai P. Common health problem in the elderly and prevention. 2nd ed. Bangkok: Creation Union; 2001. (in Thai)

Division of Non Communicable Diseases, Ministry of Public Health. 2016 Report on the forecast of falls among the elderly (aged 60 years and over) in Thailand, 2017-2021 [Internet]. Nonthaburi: Division of Non Communicable Diseases; 2016 [updated 2020 April 15; cited 2023 Sep 1st]. Available from: http://www.thaincd.com/document/file/violence/การพยากรณ์การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ%20ปี%202560-2564.pdf (in Thai)

Spinal Cord Injury Information Pages. Spinal cord injury: facts & statistics [Internet]. n.p.: Spinal Cord Injury Information Pages; 2021 [updated 2024; cited 2021 Aug 20th]. Available from: https://www.sci-info-pages.com/spinal-cord-injury-facts-and-statistics/

Kovindha A. Manuals for patients with spinal cord injuries. 5th ed. Chiang Mai: Suthin Publishing; 2014. (in Thai)

Durney P, Stillman M, Montero W, Goetz L. A primary care provider's guide to neurogenic bowel dysfunction in spinal cord injury. Top Spinal Cord Inj Rehabil Summer 2020;26(3):172-6.

Calderon G, Acosta A. Constipation. In: Hazzard's geriatric medicine and gerontology. 8th ed. NY: McGraw-Hill;2022:p.1353-80.

Siriboonrid S. Do you remember? autonomic dysreflexia: emergency situation. The Thai Journal of Urology 2017;38(2):36-41. (in Thai)

Techathaveesap S. Common problems in patients with spinal cord injuries, part 1 [Internet]. Bangkok: Physical Therapy Center, Faculty of Physical Therapy, Mahidol University; 2022 [updated 2022 Oct 26; cited 2023 Sep 1]. Available from:https://pt.mahidol.ac.th/knowledge/?p=2813 (in Thai)

Information statistics Nursing services Srinagarind Hospital. Information system of older people [Internet]. Khon Kaen: Nursing faculty, Khon Kaen Uiniversity; 2020 [updated 2024; cited 2021 Jun 10]. Available from: https://it-nurse.kku.ac.th/ (in Thai)

Panteli D, Legido-Quigley H, Reichebner C, Quentin W. Clinical practice Guidelines as a quality strategy. In: Busse R, Klazinga N, Panteli D, Quentin W, editors. Improving healthcare quality in Europe: characteristics, effectiveness and implementation of different strategies. Copenhagen: European Observatory on Health Systems and Policies; 2019:p.233-64.

Soukup SM. The center for advanced nursing practice evidence-based practice model: promoting the scholarship of practice. Nurs Clin North Am 2000;35(2):301-9.

Tiloksakulchai F. Evidence-based nursing: principle and method. 5th ed. Bangkok: Faculty of Nursing Mahidol University; 2009. (in Thai)

Dodd M, Janson S, Facione N, Faucett J, Froelicher ES, Humphreys J, et al. Advancing the science of symptom management. J Adv Nurs 2001;33(5):668–76.

Chanaboon S. Basic health research methods. Khon Kaen: Faculty of Nursing, Khon Kaen University; 2021. (in Thai)

Budpanya W, Putwatana P, Wongvatunyu S, Khwanruean P. Effect of a constipation prevention program for neurological patients. Rama Nurs J 2012;18(2):237-48. (in Thai)

Polit D, Beck C. Essentials of nursing research: appraising evidence for nursing practice. 9th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2017.

Khamrueangsri K, Kovindha A. The study of stool forms and related factors in chronic spinal cord injured patients. ASEAN J Rehabil Med 2015;25(1):6-14. (in Thai)

Department of Mental Health, Ministry of Public Health. Guidebook of depressive disorders surveillance and care: provincial level (revised edition III; 2014). 3rd ed. Nonthaburi: The Ministry of Public Health; 2014. (in Thai)

Aree-Ue S, Youngcharoen P. The 6 item cognitive function test-Thai version: psychometric property testing. Ramathibodi Nursing Journal 2020;26(2):188–202. (in Thai)

Panphet C. Clinical nursing practice guideline for older people with spinal cord injury having neurogenic bowel dysfunction. Khon Kaen: Faculty of Nursing, Khon Kaen University; 2023. (in Thai)

Tulsky DS, Kisala PA, Tate DG, Spungen AM, Kirshblum SC. Development and psychometric characteristics of the SCI-QOL bladder management difficulties and bowel management difficulties item banks and short forms and the SCI-QOL bladder complications scale. J Spinal Cord Med 2015;38(3):288-302.

Brislin RW. Back-translation for cross-cultural research. J Cross Cult Psychol 1970;1(3):187-16.

Khadour FA, Khadour YA, Xu J. Effect of neurogenic bowel dysfunction symptoms on quality of life after a spinal cord injury. J Orthop Surg Res 2023;18:458.

Ozisler Z, Koklu K, Ozel S, Unsal-Delialioglu S. Outcomes of bowel program in spinal cord injury patients with neurogenic bowel dysfunction. Neural Regen Res 2015;10(7):1153-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26