ผลของการส่งเสริมความยึดมั่นของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล เพื่อป้องกันไตบาดเจ็บเฉียบพลันในผู้ป่วยช็อกจากการติดเชื้อ
คำสำคัญ:
ความยึดมั่นของพยาบาล , ช็อกจากการติดเชื้อ , ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน , แนวปฏิบัติการพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบประยุกต์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมความยึดมั่นของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันไตบาดเจ็บเฉียบพลันในผู้ป่วยช็อกจากการติดเชื้อ ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงเป็นกรอบแนวคิด โดยศึกษากับพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 1 และ 2 โรงพยาบาลขอนแก่น จำนวน 20 ราย และผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยมีภาวะช็อกจากการติดเชื้อที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลขอนแก่น ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 จำนวน 20 ราย เป็นสัดส่วนเท่ากันกับจำนวนพยาบาลที่เข้าร่วมการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบประเมินความยึดมั่นต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล แบบประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกต่อการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันในผู้ป่วยช็อกจากการติดเชื้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลต่อการส่งเสริมความยึดมั่นการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งมีดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1.0, 0.97 และ 1.0 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงระหว่างผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยในการสังเกตการณ์ปฏิบัติ เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนความยึดมั่นต่อการใช้แนวปฏิบัติก่อนและหลังการส่งเสริมความยึดมั่น โดยใช้สถิติ McNemar’s test
ผลการศึกษาพบว่า การส่งเสริมความยึดมั่นทำให้พยาบาลมีความยึดมั่นต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพิ่มขึ้น 9 ข้อจาก 14 ข้อ เป็นผลจากการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงในการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้แนวปฏิบัติของพยาบาล คะแนนระดับความยึดมั่นโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) นอกจากนี้ ผลลัพธ์ทางคลินิกภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน ได้แก่ จำนวนผู้ป่วยที่มีค่าแรงดันเฉลี่ยในหลอดเลือดแดงและปริมาณปัสสาวะเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.0143 และ p<.0253 ตามลำดับ)
ในขณะเดียวกัน สำหรับประสิทธิภาพการทำงานของไต พบว่าค่าเฉลี่ยครีเอตินินในเลือด สัดส่วนการเกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงและสัดส่วนการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.0001, p<.0082 และ p<.0455 ตามลำดับ) จากผลการศึกษานี้ สรุปได้ว่า การส่งเสริมความยึดมั่นของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล สามารถลดการเกิดไตบาดเจ็บเฉียบพลันในผู้ป่วยช็อกจากการติดเชื้อได้ โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพยาบาลตามแนวปฏิบัติ ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วยที่มี ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่เกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน
References
Singer M, Deutschman CS, Seymour C, Shankar-Hari M, Annane D, Bauer M, et al. The third international consensus definitions for sepsis and septic shock (sepsis-3). JAMA 2016; 315(8): 3227-337.
Yende S, Austin S, Rhodes A, Finfer S, Opal S, Thompson T, et al. Long-term quality of life among survivors of severe sepsis: Analyses of two international trials. Crit Care Med 2016; 44(8):1461-7.
Bellomo R, Kellum JA, Ronco C. Acute kidney injury. Lancet 2012;380(9843):756-66. doi: 10.1016/S0140-6736(11)61454-2. Epub 2012 May 21. PMID: 22617274.
Neyra JA, Li X, Canepa-Escaro F, Adams-Huet B, Toto RD, Yee J, et al. Cumulative fluid balance and mortality in septic patients with or without acute kidney injury and chronic kidney disease. Crit Care Med 2016;44(10):1891-900.
Khon Kaen hospital. Data and statistics of acute kidney injury in 2020 [Internet]. Khon Kaen: Khon Kaen hospital; 2020 [cited 2021 Aug 6]. Available from: https://www.kkh.go.th/nurse_c ategory/data-static/
Nie S, Feng Z, Xia L, Bai J, Xiao F, Liu J, et al. Risk factors of prognosis after acute kidney injury in hospitalized patients. Frontiers of Medicine 2017;11(3):393-402.
Khon Kaen hospital. Data and statistics of patients admitted in the medical intensive care unit 1 and 2 years 2021 [Internet]. Khon Kaen: Khon Kaen hospital; 2021 [cited 2021 Aug 6]. Available from: https://www. kkh.go.th/ nurse_category/data-static/
Lewin K. Resolving social conflicts and field theory in social science. Resolving social conflicts and field theory in social science. Washington, DC: American Psychological Association; 2004.
Williamson K, Johanson G. Action research: Theory and practice. In: Williamson K, Johanson G, editor. Research methods: Information, systems, and contexts [Internet]. Cambridge, MA: Elsevier, Chandos Publishing, an imprint of Elsevier; 2018 [cited 2021 Aug 6]. Available from: https://doi.org/10.1016/B978-0-08-102220-7.00008-X
Suebkinorn O, Methakanjanasak N. Effects of clinical nursing practice guideline to prevent acute kidney injury among critically ill trauma patients in Khon Kaen hospital. Journal of Nursing and Health Care 2019;37(2):208-17. (in Thai)
Rawangdee A, Methakanjanasak N. Effects of fluid management clinical nursing practice guideline (CNPG) on selected outcomes in patients with sepsis at emergency department, Chum Phae hospital. Journal of Nursing and Health Care 2020;38(1):32-41. (in Thai)
Porter CJ, Juurlink I, Bisset LH, Bavakunji R, Mehta RL, Devonald MA. A real-time electronic alert to improve detection of acute kidney injury in a large teaching hospital. Nephrology Dialysis Transplantation 2014;29(10):1888-93.
Satee A. The development of clinical nursing practice guideline in patients with acute kidney injury at inpatient services Ban Fang hospital. Journal of Khon Kaen Provincial Health Office 2021;3(2):177-91. (in Thai)
Valiee S, Salehnejad G. Barriers to and facilitators of nurses’adherence to clinical practice guidelines: A qualitative study. Creative Nursing 2020;26(1):1-7.
Vijayan A, Faubel S, Askenazi DJ, Cerda J, Fissell WH, Heung M, et al. Clinical use of the urine biomarker [TIMP-2]×[IGFBP7] for acute kidney injury risk assessment. American Journal of Kidney Diseases 2016;68(1):19-28.
Srihomjun K, Jitpanya C, Oumtanee A. Antecedent variables of organizational commitment of professional nurses: A meta–analysis. Royal Thai Navy Medical Journal 2018;45(2):216-34. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ห้ามผู้ใดนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพไปเผยแพร่ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ การนำบทความไปเผยแพร่ออนไลน์ การถ่ายเอกสารบทความเพื่อกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอน การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น ยกเว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ