ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
ความรู้, ทัศนคติ, นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, พฤติกรรมการบริโภคอาหารบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภค อาหารของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 148 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัย ได้แก่ แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร แบบสอบถาม ปัจจัยด้านการดูแลของครอบครัวและด้านการรับรู้สื่อโฆษณา และแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร โดยเครื่องมือทั้งหมดผ่านการตรวจสอบเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถาม กับวัตถุประสงค์อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ทุกข้อ และวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ในแต่ละตอนของแบบสอบถาม อยู่ระหว่าง 0.63-0.66 ส่วนแบบวัดความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารมีค่าความ เชื่อมั่นของคูเดอร์ริชาร์ดสัน (KR20) เท่ากับ 0.72 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์ แบบสเปียร์แมน
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารอยู่ในระดับมาก มีทัศนคติเกี่ยวกับการ บริโภคอาหารอยู่ในระดับดี การดูแลของครอบครัวส่งผลต่อการบริโภคอาหารอยู่ในระดับมาก สื่อโฆษณาส่งผลต่อ การบริโภคอาหารอยู่ในระดับน้อย และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยรวมอยู่ในระดับดี เมื่อวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พบว่า ปัจจัยด้านทัศนคติเกี่ยวกับ การบริโภคอาหารและด้านการดูแลของครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในระดับต่ำ (r=.27, p=.001 และ r=.25, p=.003 ตามลำดับ) ด้านความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารและด้านการรับรู้ สื่อโฆษณาไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร (r=.02, p=.852 และ r=.15, p=.067 ตามลำดับ) ดังนั้น สามารถนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โรงเรียนและผู้ปกครองควรร่วมมือกัน ในการส่งเสริมให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร เนื่องจากทัศนคติดังกล่าว มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่เหมาะสมในการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ
References
Nithittantiwat P, Udomsapaya W. Food consumption behavior among Thai adolescents, impacts, and solutions. JPNC 2017;28(1): 122-8. (in Thai)
No-in K. Overweight and obesity among Thai school-aged children and adolescents. JRTAN 2017;18 (supple):1-8. (in Thai)
National Statistical Office Ministry of Digital Economy and Society [Internet]. The 2017 food consumption behavior survey. Bangkok; 2018 [cited 2022 Nov 20]. Available from: http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/Food_consumption_behavior_of_the_population/2560.pdf (in Thai)
Mungvongsa A, Khangwa K. Factors related to food consumption behavior of senior high school students in Watjuntrawart (Sukprasarnrat) school Phetchaburi province. HHSK 2020;5(1):1-17. (in Thai)
Demment MM, Haas JD, Olson CM. Changes in family income status and the development of overweight and obesity from 2 to 15 years: A longitudinal study. BMC Public Health 2014;14(1):1-9.
Penpong MS. Food consumption behavior of students in Suratthani province. JMS 2016:3(1):109-26. (in Thai)
Saimek M. The relationship between breakfast behavior and learning efficiency. BJBM, Faculty of Management and Tourism Burapha University 2015;4(2):22-33. (in Thai)
Jarpe-Ratner E, Folkens S, Sharma S, Daro D, Edens NK. An experiential cooking and nutrition education program increases cooking self-efficacy and vegetable consumption in children in grades 3–8. J Nutr Educ Behav 2016 Nov;48(10):697-705.
Kulik N, Iovan S, McKeough M, Kendzierski S, Leatherwood S. Parent knowledge and child success in a healthy eating and physical activity program. Health Behav Policy Rev 2018;5(1):69-76.
Yu CY, Zhu X. From attitude to action: What shapes attitude toward walking to/from school and how does it influence actual behaviors?. Prev Med 2016;90:72-8.
Ghosh S, Kabir MR, Alam MR, Chowdhury AI, Mamun MA. Balanced diet related knowledge, attitude and practices (KAP) among adolescent school girls in Noakhali district, Bangladesh: Acrosssectional study. IntJAdolesc Med Health 2020;34(5):319-25.
Scaglioni S, De Cosmi V, Ciappolino V, Parazzini F, Brambilla P, Agostoni C. Factors influencing children’s eating behaviours. Nutrients 2018;10(6):706.
Chung A, Vieira D, Donley T, Tan N, Jean-Louis G, Kiely Gouley K, et al. Adolescent peer influence on eating behaviors via social media: Scoping review. J Med Internet Res 2021;23(6):e19697.
Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educ Psychol Meas 1970;30(3):607-10.
Best JW. Research in education 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall; 1977.
Hair JrJ, Page M, Brunsveld N. Essentials of business research methods. 4th ed. Routledge; 2019.
Rattanathamthada J, Lowirakorn S. Food consumption and health behavior of overweight junior high school students at Loei pittayakom school, Loei district, Loei province. LRUJ 2013;8(24):102-11. (in Thai)
Spaeth AM, Dinges DF, Goel N. Effects of experimental sleep restriction on weight gain, caloric intake, and meal timing in healthy adults. Sleep 2013;36(7):981-90.
Prompachad S. Health behaviors according to national health commandments of prathomsuksa 4-6 students at Banrantadpom school in Songpeenong subdistrict, Tha Sae district, Chumphon province. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts) 2013;6(1):881-93. (in Thai)
Srimuen D, Keawboonruang B. Factors associated with nutritional status of high school students at Selaphum Phitthayakhom school, Roi Et province. JHSCPH 2020;3(2):39-49. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ห้ามผู้ใดนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพไปเผยแพร่ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ การนำบทความไปเผยแพร่ออนไลน์ การถ่ายเอกสารบทความเพื่อกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอน การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น ยกเว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ