ผลรูปแบบการให้ความรู้และคำปรึกษาผ่านแอปพลิเคชันไลน์ออฟฟิเชียลแอ็กเคานต์ สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีดอินซูลินด้วยตนเอง

ผู้แต่ง

  • เนตรนภา ปาวงค์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พรภิมล สุขเพีย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศิริประภา วังศรีคูณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การฉีดอินซูลิน , การให้ความรู้, คำปรึกษา , ผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2, แอปพลิเคชันไลน์ออฟฟิเชียลแอ็กเคานต์

บทคัดย่อ

แอปพลิเคชันไลน์ออฟฟิศเชียลแอคเคานท์ เป็นช่องทางในการสื่อสารที่ได้รับความนิยมและใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งสามารถนำมาใช้ในทางการแพทย์เพื่อเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารให้ความรู้กับผู้ป่วยโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องฉีดอินซูลินด้วยตนเอง งานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนความรู้ในการฉีดอินซูลินของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ก่อนและหลังได้รับรูปแบบการให้ความรู้และให้คำปรึกษาผ่านแอปพลิเคชันไลน์ออฟฟิศเชียลแอคเคานท์ในการฉีดอินซูลินด้วยตนเอง และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพในการใช้งานรูปแบบการให้ความรู้และให้คำปรึกษาผ่านแอปพลิเคชันไลน์ออฟฟิศเชียลแอคเคานท์ในการฉีดอินซูลินด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีดอินซูลินด้วยตนเองเป็นครั้งแรก ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2566 - พฤษภาคม 2566 จำนวน 30 คน และ 2) พยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่ในหอผู้ป่วย 4ค งานพยาบาล อายุรกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความรู้ในการฉีดอินซูลินด้วยตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และ 2) ความพึงพอใจของผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพในการใช้งานรูปแบบการให้ความรู้และให้คำปรึกษาผ่านแอปพลิเคชันไลน์ออฟฟิศเชียลแอคเคานท์ในการฉีดอินซูลินด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และเปรียบเทียบผลคะแนนโดยใช้สถิติการทดสอบ Paired Sample T-Test

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลคะแนนเฉลี่ยก่อนได้รับรูปแบบการให้ความรู้และให้คำปรึกษา เท่ากับ 15.83 คะแนน และผลคะแนนเฉลี่ยหลังได้รับรูปแบบการให้ความรู้และให้คำปรึกษา เท่ากับ 20.90 คะแนน โดยคะแนนหลังได้รับรูปแบบการให้ความรู้และให้คำปรึกษาผ่านแอปพลิเคชันไลน์ออฟฟิศเชียลแอคเคานท์เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 32.03 เมื่อทำการทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยทั้งสองด้วย Paired Sample T-Test พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นั้นคือผู้ป่วยสามารถทำคะแนนแบบทดสอบหลังได้รับรูปแบบการให้ความรู้และให้คำปรึกษาได้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม และ 2) ความพึงพอใจของผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพในการใช้งานรูปแบบการให้ความรู้และให้คำปรึกษาผ่านแอปพลิ  เคชันไลน์ออฟฟิศเชียลแอคเคานท์ในการฉีดอินซูลินด้วยตนเอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด จากผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการให้ความรู้และให้คำปรึกษาผ่านแอปพลิเคชันไลน์ออฟฟิศเชียลแอคเคานท์มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ให้ความรู้และให้คำปรึกษาสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีดอินซูลินด้วยตนเอง

References

Department of Disease Control, Non-communicable Division. Non-communicable disease situation report, NCDs, diabetes, hypertension high blood pressure and related risk factors 2019 [Internet]. 2019[cited 2022 Nov 4]. Available from: http://www.thaincd.com/document/file/download/knowledge/(inThai)

Stanley S, Turner L. A collaborative care approach to complex diabetic foot ulceration. Br J Nurs 2004;13(1):788-93.

Cheyoe N. Prevalence and predictors of insulin non adherence in T2DM. JHSR 2016;10(3):333-9. (in Thai)

Jenjirawat C, Kengganpanich T, Kengganpanich M, Benjakul S. Effects of a self-insulin administration promoting program among persons with diabetes in Golden Jubilee Medical Center, Nakhon Pathom Province. Rama Nurs J 2017;23(2):229-41. (in Thai)

Cramer JA, Pugh, MJ. The influence of insulin use on glycemic control: How well do adults follow prescriptions for insulin. Diabetes Care 2015;28(1):78-83.

Sungkasrisombut K, Machara S, Promsri M, Panit N. Development of health education and health counseling model using LINE official account application for mothers in caring for infants with premature. births 2022;16(2):623-41. (in Thai)

Bloom BS. Human characteristics and school learning. New York: McGraw-hill; 1976.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. New York:Academic Press; 1988.

Diabetes Association of Thailand Information sourceon type 2 diabetes [Internet]. 2022 [cited 2022 Nov 4]. Available from: https://www.t2dminsulin.com/ (in Thai)

Srisa-ard B. Statistical methods for research. 2nd ed. Bangkok: Suwiriya; 1999. (in Thai)

We are social. Social media use reaches new milestone [Internet]. 2023. [cited 2023 Aug 1]. Available from: https://wearesocial.com/uk/blog/2023/07/social-media-use-reachesnew-milestone/

Buntanapisan N. Effects of self-management promotion program using line application on health behaviors and a1c Levels among uncontrolled diabetes patients. [Thesis]. Phitsanulok: Naresuan University; 2021. (in Thai)

Sarnjanthuk S, Anuratpanich L. Evaluation of treatment outcome in type 2 diabetes mellitus patient by line application. CMJ2022;14(2):75-88. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28

How to Cite

1.