พฤติกรรมบริการของพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการตึกพิเศษ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ
คำสำคัญ:
การรับรู้ของผู้ใช้บริการ , พฤติกรรมบริการของพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมบริการของพยาบาลตามการรับรู้ของ ผู้ใช้บริการตึกพิเศษ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใช้บริการที่เข้ารับบริการตึกพิเศษ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จำนวน 323 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบ ด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 พฤติกรรมบริการของพยาบาล และส่วนที่ 3 ข้อคำถาม ปลายเปิดเกี่ยวกับการบริการและข้อเสนอแนะที่มีต่อการบริการที่ได้รับ ผ่านการทดสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า การรับรู้พฤติกรรมบริการของพยาบาลของผู้ใช้บริการตึกพิเศษโรงพยาบาลสมเด็จ พระยุพราชท่าบ่อ โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (M=4.57, SD=0.55) เมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่าส่วนใหญ่ ทุกด้านอยู่ในระดับดีมากโดยด้านการได้รับการดูแลเอาใจใส่มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้มากที่สุด (M=4.77, SD=0.44) รองลงมาคือ ด้านการสื่อสาร (M=4.61, SD=0.55) ส่วนด้านการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับดี โดยมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ (M=4.48, SD=0.59) เมื่อวิเคราะห์รายข้อพบว่า ผู้ใช้บริการมีการรับรู้พฤติกรรม บริการของพยาบาลในระดับดีถึงดีมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ท่านได้รับการช่วยเหลือจากพยาบาลทุกครั้ง เมื่อร้องขอหรือเมื่อท่านต้องการ (M=4.77, SD=0.43) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด คือ พยาบาลแนะนำตัว ทุกครั้งก่อนให้การพยาบาลแก่ท่าน (M=4.44, SD=0.71)
References
Boonpadung D. Future hospitals face people’s expectations. [Internet]. 2017 [cited 2022 Dec 12]. Available from: https://kku.world/quality
Healthcare Accreditation Institute (Public Organization). Hospitals and healthcare standards 4th ed. Nonthaburi: Healthcare Accreditation Institute; 2018. (in Thai)
Srinakarin R. Nursing service quality according to perceptions of gynecological patients at Sakon Nakhon Hospital [Thesis]. Chonburi: Burapha University; 2015.
Nursing Division of Ministry of Public Health Thailand. Guidelines for collecting nursing service quality development indicators for the fiscal year 2020. Nonthaburi: Sua Tawan; 2019.
Nursing Division of Ministry of Public Health Thailand. Roles and responsibilities of professional nurses. Nonthaburi: Sua Tawan; 2018.
Koolnaphadol T, Laokosin N, Pimmas S, Prabhakar K. Humanized care behaviors of graduated nurses in Bachelor of Nursing Science Program, Boromarajonani College of Nursing, Nonthaburi. Mahasarakham Hospital Journal 2019;16(1):90-7. (in Thai)
Kosolchuenvijit J. Caring: Central focus of humanistic care. JBCN_Bangkok 2013;29(2):134-41. (in Thai)
Thabo Crown Prince Hospital. Nursing service quality assessment report. Patient satisfaction assessment report document. Nongkhai: Thabo Crown Prince Hospital; 2021.
Nursing Division of Ministry of Public Health Thailand. Guidelines for collecting indicators for nursing service quality development fiscal year 2021. Nonthaburi: Sua Tawan; 2020.
World Health Organization [WHO]. WHO health and health system responsiveness survey. New York: H & HSR; 2001.
Yamane T. Statistics: An introductory analysis. 3rd ed. New York: Harper International; 1973.
Rakdee R. Service behavior of professional nurse requests according to perceptions of patients in Charoensin Hospital, Sakon Nakhon Province. [Thesis]. Chonburi: Burapha University; 2013.
Cronbach LJ. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika 1951;16(3):297-334.
Nursing Association of Thailand. Nurse: A voice to lead-health is a human right. [Internet]. 2018 [cited 2023 Apr 10]. Available from: https://kku.world/qk03o
Limrat N, Pairojkul S. The care of terminally ill patients. for caregivers. 3rd ed. Khon Kaen: Klang Nanawittaya Printing House; 2016.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ห้ามผู้ใดนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพไปเผยแพร่ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ การนำบทความไปเผยแพร่ออนไลน์ การถ่ายเอกสารบทความเพื่อกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอน การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น ยกเว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ